เรื่องน่าสนใจ

เช็คแคลอรี่เมนูเส้น กินเส้นอะไรอ้วนน้อยที่สุด ?

เมนูอาหารเมนูเส้นเป็นของชอบของใครหลาย ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยว ผัดขี้เมา ผัดซีอิ้ว และอื่น ๆ เมนูเส้นยังเป็นเมนูอาหารจานเดียวราคาไม่แพงอีกด้วย คนที่กำลังคุมแคลอรี่เรามาดูกันว่าเส้นแต่ละประเภทให้แคลอรี่เท่าไหร่กัน

Calories-Noodles

บะหมี่

บะหมี่เป็นเส้นที่มีขนาด 0.1-0.2 เซนติเมตร เป็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเส้นที่ชาวจีนคิดค้นขึ้น มีส่วนประกอบของแป้งสาลี และน้ำเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นสีเหลืองเหนียวนุ่มจากส่วนผสมของไข่ ให้พลังดี แต่ก็ทำให้อ้วนมาก

  • แคลอรี่ : 280 กิโลแคลอรี่ ต่อ 100 กรัม
  • ข้อควรระวัง : พลังงานเยอะ กินมากแล้วอ้วน

วุ้นเส้น

วุ้นเส้นเป็นเส้นที่มีขนาด 0.1-0.2 เซนติเมตร ทำจากถั่วเขียว เป็นพืชที่มีโปรตีนสูง น้ำ และส่วนผสมอย่างอื่น เช่นแป้งมันฝรั่ง มีลักษณะเป็นเส้นกลมใสและยาว ปกติมักขายในรูปของวุ้นเส้นอบแห้ง เมื่อจะนำไปประกอบอาหารต้องแช่น้ำหรือต้มให้คืนรูปก่อน

  • แคลอรี่ : 180 กิโลแคลอรี่ ต่อ 100 กรัม
  • ข้อควรระวัง : กินแล้วไม่ได้ผอมอย่างที่คิด สารกันบูดกันรา

เส้นใหญ่

เส้นใหญ่เป็นเส้นที่มีขนาด 1.5-2.5 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ ทำจากแป้งข้าวเจ้าเป็นหลัก และผสมกับแป้งที่ทำจากพืชชนิดอื่น ๆ ดูดซึมซับน้ำมันไว้มากที่สุด เพราะต้องเอาไปคลุกน้ำมันเคลือบไว้เพื่อไม่ให้เกาะติดกัน

  • แคลอรี่ : 220 กิโลแคลอรี่ ต่อ 100 กรัม
  • ข้อควรระวัง : บูดง่าย คลุกน้ำมันเยอะและอาจใช้ซ้ำ

เส้นเล็ก

เส้นเล็กเป็นเส้นที่มีขนาด 0.1-0.2 เซนติเมตร เส้นเล็กมีส่วนผสมเหมือนกับเส้นใหญ่ คือทำจากแป้งข้าวเจ้า แต่ต่างกันที่ขนาดและกระบวนการสุดท้าย คือเส้นเล็กจะต้องผ่านการทำให้แห้ง เพื่อกำจัดความชื้นออกเสียก่อน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ “แบบกึ่งแห้ง” เช่น เส้นเล็กในก๋วยเตี๋ยวที่เรากินทั่วไป เส้นชนิดนี้จะต้องกินภายใน 3-5 วัน

งานวิจัยของประเทศไทยกลับตรวจพบสารกันบูดจำพวก ‘กรดเบนโซอิก’ ในเส้นเล็กมากที่สุด สูงถึง 17, 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 17 เท่า ยิ่งกว่านั้นยังตรวจพบ ‘ซัลเฟอร์ไดออกไซด์’ ซึ่งเป็นสารที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ นิยมใช้กันบูดกันราในผลิตภัณฑ์อาหารอบแห้งต่าง ๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายเราได้เช่นกัน

  • แคลอรี่ : 180 กิโลแคลอรี่ ต่อ 100 กรัม
  • ข้อควรระวัง : สารกันบูดกันรา

เส้นหมี่

เส้นหมี่เป็นเส้นที่มีขนาด 0.1 เซนติเมตร เส้นหมี่ขาว อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ไม่ซับน้ำมัน ทำจากแป้งข้าวเจ้าเช่นกัน แต่มีลักษณะทางกายภาพที่ต่าง คือจะเป็นเส้นกลมสม่ำเสมอ มีสีขาวและเป็นเส้นยาว นอกจากเห็นในก๋วยเตี๋ยวทั่วไปก็พบได้บ่อยในเมนูอาหารจีน ส่วนกระบวนการทำใกล้เคียงกับเส้นเล็กมากคือเมื่อทำเสร็จแล้วต้องนำความชื้นออกไป กลายเป็นเส้นหมี่แบบแห้ง

  • แคลอรี่ : 150 กิโลแคลอรี่ ต่อ 100 กรัม
  • ข้อควรระวัง : สารกันบูดกันรา

เส้นบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป

อาหารชนิดนี้คนรักสุขภาพรู้ดีว่าไม่ควรกิน การทำเส้นบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปคัดสรรแป้งสาลี ที่เหมาะสมต่อการผลิตเพื่อให้ได้เส้นบะหมี่ที่เหนียวนุ่ม ผสมและนวดแป้งแล้วรีดเป็นแผ่นบางขนาด 1 มิลลิเมตร ตัดเป็นเส้น ราดด้วยน้ำซุป ส่วนมากจะเป็นน้ำซุปไก่ ยกเว้นบะหมี่เจที่จะไม่มีการราดน้ำซุปไก่และกระเทียม จากนั้นก็นำไปเป่าลมให้แห้ง

ลำเลียงบะหมี่ที่พับเป็นก้อน แล้วนำไปทอดในน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ที่อุณหภูมิ 120-170 °C ประมาณ 2 นาที บะหมี่จะดูดซับน้ำมันไปก้อนละประมาณ 16-17%

  • แคลอรี่ : 280 กิโลแคลอรี่ ต่อ 100 กรัม
  • ข้อควรระวัง : ไม่ควรบริโภคแบบดิบ ๆ เพราะเส้นจะพองตัวในกระเพาะ อาจทำให้ท้องอืดได้

ข้อควรระวัง

เส้นแต่ละแบบมีข้อควรระวัง ทั้งในเรื่องของพลังงานและสารเคมีที่อาจตกค้างอยู่ในเส้น เรามาตรวจสอบสารเคมีในเส้นก๋วยเตี๋ยวกัน

  • เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ใส่สารกันบูด จะเหนียวผิดปกติ กัดให้ขาดยากกว่า
  • เมื่อนำเส้นไปลวก เส้นที่ใส่สารกันบูด น้ำที่ลวกจะขุ่นกว่า
  • เส้นก๋วยเตี๋ยวสดแบบปกติ ทิ้งไว้ไม่เกิน 2 วันก็จะขึ้นราและบูด แต่ถ้ามีแค่กลิ่นเหม็นเปรี้ยวแต่ยังคงสภาพเดิม อาจจะใส่สารกันบูด

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button