วันนี้ในอดีต

6 มกราคม วันเกิด คาลิล ยิบราน ศิลปินชาวเลบานอน

6 มกราคม 2426 วันเกิด คาลิล ยิบราน (Kahlil Gibran) นักปรัชญา นักประพันธ์ กวี และศิลปินชาวเลบานอน ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่า “วิลเลียมเบลคแห่งศตวรรษที่ 20” งานชิ้นแรกๆ ของยิบราน เป็นบทเขียนและบทกวีภาษาอาหรับ ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือกวีนิพนธ์ชื่อ ปรัชญาชีวิต (The Prophet) ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ซึ่งได้ถูกแปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่า 1 ภาษา และนิยมอ่านแพร่หลายกันทั่วโลก กล่าวได้ว่าผลงานของยิบรานได้มีอิทธิพลและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนคนรุ่นหลังเป็นอย่างมาก

คาลิล ยิบราน

คาลิล ยิบราน (Kahlil Gibran) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1883 ที่เมือง บุเชอรี ประเทศเลบานอน ในครอบครัวที่ใฝ่ดีทางการศึกษาและศิลปะ โดยเฉพาะแม่ของยิบรานนั้น เป็นนักดนตรีขวัญใจของชาวชุมชน เด็กน้อยยิบรานเองก็ใช่ย่อย เพราะเพียงวัย 8 ขวบเขาก็ให้ความสนใจใฝ่รู้โดยมี ไมเคิล แองเจลโล และ ลิโอนาร์โด ดาร์วินซี เป็นไอดอลในดวงใจ

ในขณะที่เขาอายุ 11 ปี พ่อก็นำครอบครับไปตั้งรกรากที่เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ครั้นอายุได้ 14 ปีต่อมาเขาต้องกลับมาเรียนภาษาอาหรับ และวรรณคดีที่ประเทศซีเรีย แล้วยังได้เดินทางไปยังกรุงปารีส เพื่อร่ำเรียนศิลปะกับประติมากร ชื่อดัง “ออกุสต์ โรแดง” ที่ Ecole des Beaux Arts

เพียง 3 ปีต่อมาเขาก็ต้องกลับอเมริกาอีกครั้งเพื่อหวังไปอยู่ดูแลพี่สาวที่กำลังป่วยด้วยวัณโรค แต่เมื่อไปถึงยังไม่ทันได้ดูใจ พี่สาวก็เสียชีวิต 2 ปี ถัดมาพี่ชายผู้แสนดีก็ต้องตายจากไปอีกคน (แม้จะเป็นพี่ชายคนละพ่อ แต่เป็นผู้ที่หาเลี้ยงเขาและครอบครัว) และแล้วไม่นาน แม่ผู้เปรียบดังดวงใจก็จากเขาไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยโรคมะเร็งร้าย

ความสูญเสียอย่างหนักหน่วงนี้ ยิบรานคงหมดอาลัยจากโลกนี้ หากเขาไม่มี “แมรี่ ฮาสเกล” สาวผู้ประคับประคองทั้งจิตใจและค้ำจุนความเป็นอยู่ของเขา กระทั่งยิบรานเอ่ยปากขอแต่งงานด้วย ซึ่งได้รับการปฏิเสธเนื่องจากเธออายุมากกว่าเขาถึง 10 ปี และเธอยังต้องการสนับสนุนทุนให้เขาไปศึกษาศิลปะต่อที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ด้วยคุณความดีอย่างหาที่เปรียบมิได้ของฮาสเกล ยิบรานจึงตอบแทนด้วยการยกผลงานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น บทประพันธ์ บทกวี หนังสือ ภาพเขียน และศิลปวัตถุให้แด่เธอ แต่หญิงจิตใจงดงามหาได้ฮุบไว้เป็นสมบัติส่วนตัวไม่ เธอได้อุทิศทุกสิ่งอย่างดังกล่าวให้แก่พิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นสมบัติอันล้ำค่าแก่อนุชนคนรุ่นหลัง

ปี ค.ศ. 1912 ในขณะที่ยิบรานอาศัยอยู่ในกรุงนิวยอร์ก เขาได้ก่อตั้ง สมาคมนักเขียนชาวอาหรับ (Arabic PEN club) แถมได้รับการยอมรับให้เป็นนายกสมาคมฯ ในเวลาต่อมา บทประพันธ์ของคาลิล ยิบราน ทุกชิ้น ล้วนงดงาม สะเทือนอารมณ์ ลึกซึ้ง แต่ไพเราะ เข้าใจง่าย จึงเป็นที่นิยม อย่างเป็นอมตะ

The Prophet (ปรัชญาชีวิต) คือผลงานที่สร้างความเรืองรองให้เขามากที่สุด โดยมีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่า 30 ภาษา แล้วยังพิมพ์ซ้ำนับครั้งไม่ถ้วน ทั้ง ๆ ที่ในขณะเขากำลังเขียน The Prophet คือช่วงเวลาแห่งความยากจน และกำลังฝึกปรืองานศิลปะและศึกษางานวรรณกรรมอย่างหนักหน่วง

นั่นคงทำให้ยิบรานถ่ายทอดทุกเรื่องราวได้อย่างงดงามและลึกซึ้งยิ่ง กระทั่งบทนิพนธ์นี้น่าจะเป็นสัจจะแห่งชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความรัก และ ความเศร้าโศก

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button