วันนี้ในอดีต

8 มกราคม วันเกิด สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์

8 มกราคม 2485 วันเกิด สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องว่าสามารถเข้าใจและอธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของไอน์สไตน์ได้ เกิดที่เมืองอ๊อกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ จบการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ในปี 2503 เขาป่วยเป็นโรค amyotrophic lateral sclelar (ALS) ซึ่งระบบประสาทมีความผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ

ทำให้ประสาทสั่งการไม่ทำงาน ไม่สามารถเคลื่อนไหวและพูดได้ จึงต้องนั่งรถเข็นที่สั่งการด้วยระบบคอมพิวเตอร์และมีอุปกรณ์ช่วยออกเสียง แต่เขายังคงทำงานวิชาการต่อไป ฮอว์คิงสนใจทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์เป็นพิเศษ เขาเป็นผู้แต่งหนังสือ ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และ จักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสามารถอธิบายทฤษฎี ควอนตัมฟิสิกส์ ให้คนทั่วไปเข้าใจได้

สตีเฟน ฮอว์คิง

สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (Stephen William Hawking) 8 มกราคม ค.ศ. 1942 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2018 เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี นักจักรวาลวิทยา และนักเขียน ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์กิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์กิง)

ฮอว์กิงป่วยจากโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก ซึ่งเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี จนกระทั่งต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน

ฮอว์กิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์

สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2018 อายุ 76 ปี

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button