วันนี้ในอดีต

13 มกราคม หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาผ่าตัดครั้งแรกในไทย

13 มกราคม 2380 หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันเริ่มการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย ในงานฉลองวัดประยูรวงศาวาส หลังจากที่กระบอกปืนใหญ่ที่เอามาทำเป็นไฟพะเนียงอย่างดอกไม้ไฟธรรมดาเพื่อทำให้เป็นของแปลก แต่เกิดระเบิดแตกออกเป็นชิ้นน้อยและชิ้นใหญ่ ถูกคนที่อยู่ในที่นั้นตาย 8 คน และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก และมีพระสงฆ์องค์หนึ่งซึ่งกระดูกแขนแตก จำเป็นต้องตัดแขนทิ้งเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ หมอบรัดเลย์จึงตัดแขนพระองค์นั้นในที่เกิดเหตุโดยไม่มีการใช้ยาสลบ สมัยนั้นคนไทยยังไม่รู้เลยว่าจะตัดร่างกายมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ ด้วยพระสงฆ์ที่ทนการผ่าตัดได้ ไม่นานเท่าใดก็หายดี

หมอบรัดเลย์

หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ แพทยศาสตรบัณฑิต (Dan Beach Bradley) หรือบางคนเขียนเป็น หมอบรัดเล หมอปลัดเล หมอปรัดเล หรือ หมอปรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก

หมอบรัดเลย์ใช้วิชาการแพทย์แผนตะวันรักษาผู้ป่วยคนไทยเป็นจำนวนมาก จนพวกขุนนางและข้าราชการไทยได้รับบริการจากท่านด้วย กิตติศัพท์นี้เข้าถึงพระกรรณเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งผนวชอยู่ที่วัดราชาธิราช พระองค์รับสั่งให้หมอบรัดเลย์เข้าเฝ้า เพื่อถวายการรักษาพระโรคลมอัมพาตที่เกิดแก่พระพักตร์ของพระองค์ ต่อมายังเข้าถวายพระโอสถใช้รักษา ในวันที่ 23 เมษายน 2379 ผลการรักษา ได้ผลดีทำให้อาการของพระโรคทุเลาลงมาก ทำให้หมอบรัดเลย์ได้เข้าใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท จนโปรดเป็นพระสหายคนหนึ่งในเวลาต่อมา ดังจะเห็นได้จากการโปรดให้หมอบรัดเลย์ เข้าถวายพระอักษรภาษาอังกฤษในปี 2362 เจ้านายที่โปรดหมอบรัดเลย์มากอีกพระองค์คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ส่วนขุนนางที่สนิทสนมกับหมอบรัดเลย์ คือ หลวงนางสิทธิ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

หมอบรัดเลย์เข้ามาในสยามในยามที่ชนชั้นนำกำลังปรับปรุงโลกทัศน์ตนเอง โดยเฉพาะหลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้านายฝ่ายนั้น พร้อมกับการขึ้นมาเป็นหัวหน้าขุนนางของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งเป็นขุนนางหัวก้าวหน้ามาตั้งแต่สมัยมิชชันนารีเริ่มเข้าสู่สยาม จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ในปีแรก ได้พูดคุยกับขุนนางผู้ใหญ่หลายคน ทั้งซักถามถึงวิทยาการแผนใหม่เช่นการแพทย์ โดยบันทึกไว้ว่า “เมื่อคนชั้นปกครองในเมืองไทยมีความกระหายที่จะเรียนรู้ความเจริญแบบยุโรปเช่นนี้ ก็ย่อมทำให้พวกเราเกิดมีใจมุมานะที่จะอยู่ และปฏิบัติกิจการของเราต่อไปเป็นอันมาก” หมอบรัดเลย์ยังเป็นผู้ร่างและแปลจดหมายภาษาอังกฤษถวายตลอดจนทรงปรึกษาบรัดเลย์ในบางกรณีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแบบแผนวัฒนธรรมตะวันตก บางครั้งเขาเป็นล่ามในการเจรจาทำสัญญาการค้ากับตะวันตกด้วย

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button