วันนี้ในอดีต

4 กุมภาพันธ์ เชอร์ชิลล์ และ รูสเวลล์ พบ สตาลิน ในการประชุมที่ยัลตา

4 กุมภาพันธ์ 2488 นายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์ แห่งอังกฤษ ประธานาธิบดีรูสเวลล์ แห่ง สหรัฐอเมริกา และ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำของสหภาพโซเวียด พบปะกันในการประชุมที่ยัลตา สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

การประชุมยัลตา

การประชุมยัลตา บ้างเรียก การประชุมไครเมีย และชื่อรหัสว่า การประชุมอาร์โกนอต (Argonaut Conference) จัดระหว่างวันที่ 4 ถึง 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 เป็นการประชุมหัวหน้ารัฐบาลในสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐ สหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียต โดยมีประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์, นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ และนายกรัฐมนตรีโจเซฟ สตาลินเป็นผู้แทนตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายการจัดเบียบหลังสงครามของทวีปยุโรป การประชุมจัดในพระราชวังลีวาเดียใกล้ยัลตาในคาบสมุทรไครเมีย

การประชุมนี้เจตนาอภิปรายการตั้งชาติอีกครั้งในทวีปยุโรปที่ได้รับผลจากสงคราม ภายในไม่กี่ปี ด้วยสงครามเย็นแบ่งทวีปยุโรป ยัลตากลายเป็นประเด็นการโต้เถียงอย่างเข้มข้น และบางส่วนยังเป็นข้อถกเถียงตราบจนทุกวันนี้

ยัลตาเป็นการประชุมยามสงครามครั้งที่สองจากสามครั้งในบรรดาสามชาติใหญ่ (Big Three) ก่อนหน้านี้มีการประชุมเตหะรานใน ค.ศ. 1943 หลังจากนี้มีการประชุมพ็อทซ์ดัมในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมได้แก่ สตาลิน เชอร์ชิลล์ (ถูกเปลี่ยนตัวกลางคันโดยคลีเมนต์ แอตต์ลีย์ นายกรัฐมนตรีบริติชที่เพิ่งได้รับเลือกตั้ง) และแฮร์รี เอส. ทรูแมน ผู้สืบทอดของโรสเวลต์

อ่านต่อ
Back to top button

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณา คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ Analytics

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า