วันนี้ในอดีต

7 กุมภาพันธ์ วันเกิดชาร์ลส์ ดิกเกนส์ นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ

7 กุมภาพันธ์ 2355 วันเกิดชาร์ลส์ ดิกเกนส์ (Charles Dickens) นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ ซึ่งสร้างผลงานยิ่งใหญ่ของโลกไว้หลายเล่ม เขาเป็นนักเขียนแนวสมจริงที่สะท้อนความยากจน ความเลวร้าย และความอยุติธรรมของสังคมอังกฤษในศตวรรษที่ 19 ได้ดีมากคนหนึ่ง บทประพันธ์ที่สำคัญ เช่น Olivet Twist, David Coperfield, A Christmas Carol

ชาร์ลส์ ดิกเกนส์

ชาลส์ จอห์น ฮัฟแฟม ดิกคินส์ (Charles John Huffam Dickens) 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1812 – 9 มิถุนายน ค.ศ. 1870 นักประพันธ์ชาวอังกฤษ และมีนามปากกาว่า “โบซ” (Boz) เกิดที่เมืองแลนด์พอร์ท แฮมเชียร์ อังกฤษใต้ สหราชอาณาจักร เป็นบุตรเสมียนฝ่ายเงินเดือนกองทัพเรือ ในปี พ.ศ. 2357 ดิกคินส์ได้ย้ายมาอยู่ในลอนดอนแล้วย้ายไปอยู่ที่เมืองแชทแธม และที่นี่เขามีโอกาสได้เข้าโรงเรียน และได้ทำงานเป็นเด็กรับใช้ในสำนักงานทนายความชั้นสอง แล้วจึงเริ่มทำงานด้านหนังสือพิมพ์และได้เป็นผู้สื่อข่าวและเข้าทำงานกับหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งในลอนดอนในเวลาต่อมา

ดิกคินส์ได้ตีพิมพ์บทความเป็นจำนวนมากใน วารสารรายเดือน ตามด้วยเรื่องย่อยและบทความลงในหนังสือพิมพ์กรอบบ่าย อีฟนิงครอนิเกิล ในปี ค.ศ. 1836 เขาได้ตีพิมพ์ เรื่องย่อยโดยโบซ (Sketches by Boz) และพิควิคเปเปอร์ (Pickwick Papers) และในปีเดียวกันได้แต่งงานกับแคเธอรีนบุตรสาวของเพื่อนชื่อ จอร์จ โฮการ์ท และมีบุตรด้วยกันถึง 10 คน แต่ก็ได้หย่าขาดจากกันเมื่อ ค.ศ. 1858

ชาลส์ ดิกคินส์ เป็นคนทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ผลิตงานวรรณกรรมรวมทั้งงานเขียนเพื่อณรงค์ต่อต้านความชั่วร้ายในสังคมสมัยนั้นออกมาอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก และไม่เคยส่งเรื่องช้ากว่ากำหนดเลย ดิกคินส์เริ่มงานวรรณกรรมด้วยการเขียนลงหนังสือพิมพ์รายเดือนโดยเริ่มด้วยเรื่อง โอลิเวอร์ ทวิสต์, นิโคลาส นิคเกิลบี, และเรื่อง ดิโอลเคียวริโอซิตีชอพ หลังจากนี้ ดิกคินส์ได้ไปใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของเขาในต่างประเทศ งานในระยะหลังของเขาได้แก่ เดวิด คอบเปอร์ฟิลด์, บลีกเฮาส์, เรื่องของสองนคร, ความคาดหวังอันยิ่งใหญ๋ (Great Expectation) และงานเขียนที่ยังไม่จบเรื่อง ความลึกลับของเอดวิน ดรูด (The Mystery of Edwin Drood)

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button