วันนี้ในอดีต

11 กุมภาพันธ์ รัฐบาลอิตาลีลงนามในสนธิสัญญาลาเตรัน

11 กุมภาพันธ์ 2472 รัฐบาลอิตาลีลงนามในสนธิสัญญาลาเตรัน (The Lateran Agreenent) กับฝ่ายศาสนจักรของสำนักวาติกัน รับรองวาติกันเป็นดินแดนนอกเหนืออำนาจการปกครองของรัฐบาลนครรัฐวาติกัน (Vatican City) เป็นรัฐอิสระที่ปรกครองโดยสันตะปาปา รัฐศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแห่งนี้ตั้งอยู่ในกรุงโรม เมืองหลวงของอิตาลี วาติกันเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในโลก หากแต่เป็นที่ตั้งของโบสถ์ในศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือโบสถ์เซนต์ปีเตอร์

สนธิสัญญาลาเตรัน

สนธิสัญญาลาเตรัน เป็นหนึ่งในกลุ่มสนธิสัญญาลาเตรัน ค.ศ. 1929 หรือข้อตกลงลาเตรัน ซึ่งเป็นความตกลงสามฉบับที่กระทำใน ค.ศ. 1929 ระหว่างราชอาณาจักรอิตาลีกับสันตะสำนัก

ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1929 ยุติ “ปัญหาโรมัน” อิตาลีขณะนั้นอยู่ภายใต้รัฐบาลฟาสซิสต์ รัฐบาลอิตาลีชุดต่อมาทั้งหมดต่างถือสนธิสัญญานี้

กลุ่มสนธิสัญญาลาเตรันประกอบด้วยเอกสารสามฉบับ ดังนี้

  • สนธิสัญญาการเมืองรับรองเอกราชสมบูรณ์ของสันตะสำนักในนครรัฐวาติกัน ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นนั้น
  • ความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาล (concordat) ซึ่งวางระเบียบฐานะระหว่างคริสตจักรโรมันคาทอลิกกับรัฐอิตาลี
  • อนุสัญญาการเงินซึ่งได้เห็นพ้องกันว่าเป็นการชำระหนี้การอ้างสิทธิ์ของสันตะสำนักขั้นสุดท้าย หลังสูญเสียดินแดนและทรัพย์สิน

การเจรจาเพื่อการชำระหนี้ของปัญหาโรมันเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1926 ระหว่างรัฐบาลอิตาลีกับสันตะสำนัก และเป็นผลให้เกิดความตกลงในข้อตกลงลาเตรันสามฉบับ ลงพระปรมาภิไธยโดย พระเจ้าวิกเตอร์ อิมมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี, ลงนามโดย เบนิโต มุสโสลินี นายกรัฐมนตรีอิตาลีและผู้นำ (“ดูเช”) แห่งพรรคฟาสซิสต์แห่งชาติ และแทนสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 โดยปีเอโตร กัสปาร์รี เลขาธิการแห่งรัฐคาร์ดินัล เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1929 ความตกลงนี้ลงนามในพระราชวังลาเตรัน จึงเป็นชื่อของสนธิสัญญา

ความตกลงนี้รวมสนธิสัญญาการเมืองซึ่งสถาปนารัฐนครวาติกันและรับรองเอกราชที่บริบูรณ์และเป็นอิสระแก่สันตะสำนัก สมเด็จพระสันตะปาปาถูกผูกมัดให้เป็นกลางในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและงดการไกล่เกลี่ยในข้อถกเถียงเว้นแต่ได้รับการร้องขอจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะตลอดไป ความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาลซึ่งระบุให้นิกายคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติอิตาลี ความตกลงการเงินได้รับการตอบรับว่าเป็นการชำระหนี้การอ้างสิทธิ์ทั้งหมดของสันตะสำนักต่ออิตาลีซึ่งเกิดจากการสูญเสียอำนาจทางโลกใน ค.ศ. 1870

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button