วันนี้ในอดีต

18 กุมภาพันธ์ ไคลด์ ทอมบอ ค้นพบดาวพลูโต

18 กุมภาพันธ์ 2473 ค้นพบดาวพลูโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล โดย ไคลด์ ทอมบอ (Clyde W.Tombaugh) นักดาราศาสตร์แห่งหอดูดาวโลเวล รัฐอริโซนา (Lowell Observatory Arizona)จากการเปรียบเทียบภาพถ่ายท้องฟ้าที่บันทึกในเวลาต่างกัน จนสังเกตเห็นการเปลี่ยนตำแหน่งของดาวดวงนี้เมื่อเทียบกับดาวดวงอื่น

และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยจักรวาล โดยปรกติจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด แต่ไม่ใช่ตลอดไป เนื่องจากมีวงโคจรเป็นวงรีมากกว่าดาวเนปจูน ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะจักรวาลที่ยังไม่เคยถูกสำรวจโดยยานอวกาศอย่างใกล้ชิด

ไคลด์ ทอมแบจ

ไคลด์ วิลเลียม ทอมบอ (Clyde William Tombaugh) 4 กุมภาพันธ์ 2449 – 17 มกราคม 2540 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ค้นพบดาวเคราะห์แคระพลูโตเมื่อ 2473

ทอมบอ เกิดที่เมืองสเตรเตอร์ รัฐอิลลินอยส์ ครอบครัวยากจนเกินกว่าที่จะส่งทอมบอ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ หลังจากครอยครัวย้ายไปเมืองอยู่ที่รัฐแคนซัส ทอมบอ ได้สร้างกล้องโทรทัศน์ขึ้นด้วยตนเองเพื่อใช้ส่องดูดาว จากการส่งภาพวาดดาวพฤหัสและดาวอังคารที่เขาศึกษาจากกล้องทำเองไปให้สถาบันหอดูดาวโลเวลล์ดู

ทอมบอจึงได้งานเป็นผู้ช่วยนักดาราศาสตร์ที่นั่นแลได้ค้นพบดาวพลูโตดังกล่าวเมื่อ 2473 การค้นพบนี้เองที่ทำให้ทอมบอ ได้เข้าศึกษาและจบสาขาดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคนซัสและมหาวิทยาลัยนอร์ทแอริโซนา

ไคลด์ ทอมบอ ทำงานที่หอดูดาวโลเวลล์ระหว่าง 2472 – 2488 จึงได้ย้ายไปสอนวิชาดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกตั้งแต่ 2498 จนเกษียณจากงานเมื่อ 2516

ไคลด์ ทอมบอ ค้นพบดาวเคราะห์น้อย (asteroid) มากถึง 14 ดวง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลพลอยได้จากการค้นหาดาวเตราะห์ต่างๆ รวมทั้งดาวพลูโต ราชสมาคมดาราศาสตร์ แห่งประเทศอังกฤษได้มอบ เหรียญรางวัลแจ็กสัน-วิลท์ ให้แก่เขาเมื่อ 2474 และเถ้ากระดูกของทอมบอส่วนหนึ่งได้รับการบรรจุไว้ในยานอวกาศ “นิวฮอไรซอน” ที่เดินทางไปยังดาวพลูโต

Clyde William Tombaugh ถึงแก่กรรมที่นิวเม็กซิโกเมื่ออายุ 91 ปี

ดาวพลูโต (Pluto)

ดาวพลูโต

ดาวพลูโต (Pluto) ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ

มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร

แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร)

จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี 2557 ดาวพลูโตมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 32.6 หน่วยดาราศาสตร์ แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 5.5 ชั่วโมง ถึงจะไปถึงดาวพลูโตที่ระยะทางเฉลี่ย (39.5 หน่วยดาราศาสตร์)

ดาวพลูโตถูกค้นพบในปี 2473 โดยไคลด์ ทอมบอ และถูกจัดให้เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ สถานะการเป็นดาวเคราะห์ของมันเริ่มเป็นที่สงสัยเมื่อมีการค้นพบวัตถุประเภทเดียวกันจำนวนมากซึ่งถูกค้นพบในภายหลังในบริเวณแถบไคเปอร์

ความรู้ที่ว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่เป็นน้ำแข็งเริ่มถูกคัดค้านจากนักดาราศาสตร์หลายคนที่เรียกร้องให้มีการจัดสถานะของดาวพลูโตใหม่ ในปี 2548 มีการค้นพบอีริส วัตถุในแถบหินกระจาย ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต 27% ซึ่งทำให้สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) จัดการประชุมซึ่งเกี่ยวกับการตั้ง “นิยาม” ของดาวเคราะห์ขึ้นมาครั้งแรก ในปีเดียวกัน หลังสิ้นสุดการประชุม ดาวพลูโตถูกลดสถานะให้เป็นกลุ่ม “ดาวเคราะห์แคระ” แต่ยังมีนักดาราศาสตร์บางคนที่ยังคงจัดให้ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์

ดาวพลูโตมีดาวบริวารที่ทราบแล้ว 5 ดวง ได้แก่ แครอน (มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็นครึ่งหนึ่งของดาวพลูโต) สติกซ์ นิกซ์ เคอร์เบอรอส และไฮดรา บางครั้งดาวพลูโตและแครอนถูกจัดเป็นระบบดาวคู่ เนื่องจากจุดศูนย์กลางมวลของวงโคจรไม่ได้อยู่ในดาวดวงใดดวงหนึ่งเฉพาะ

ไอเอยูยังไม่มีการให้คำนิยามของระบบดาวเคราะห์แคระคู่อย่างเป็นทางการ และแครอนกลายเป็นดาวบริวารของดาวพลูโตอย่างเป็นทางการแล้ว ในเดือนกันยายน 2559 นักดาราศาสตร์ประกาศว่าบริเวณสีน้ำตาลแดงที่ขั้วโลกของแครอนนั้น มีองค์ประกอบของโทลีน สารประกอบอินทรีย์ขนาดใหญ่ที่อาจเป็นต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต และผลิตได้จากมีเทน ไนโตรเจน และแก๊สที่เกี่ยวข้องซึ่งปล่อยออกมาจากชั้นบรรยากาศของดาวพลูโต และเคลื่อนที่เป็นระยะทางกว่า 19,000 กิโลเมตร รอบดาวบริวาร

ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ยานอวกาศนิวฮอไรซันส์กลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่บินผ่านดาวพลูโตสำเร็จ ระหว่างเส้นทางนิวฮอไรซันส์ก็ได้เก็บข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับดาวพลูโตและดาวบริวารของมันไปด้วย

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button