วันนี้ในอดีต

19 กุมภาพันธ์ สหรัฐฯ ยกพลขึ้นบกที่เกาะอิโวจิ สงครามโลกครั้งที่ 2

19 กุมภาพันธ์ 2488 สหรัฐฯยกพลขึ้นบกที่เกาะอิโวจิมาของญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนำกองเรือจำนวน 459 ลำ ขึ้นบก การรบทางภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ในตอนต้นสงคราม ญี่ปุ่นได้ครองอำนาจอยู่อย่างรุ่งโรจน์ แต่ตั้งแต่ปี 2487 เป็นต้นมาอเมริกาก็เริ่มบุกจนญี่ปุ่นล่าถอย

ยุทธการที่อิโวะจิมะ

ยุทธการที่อิโวะจิมะ (19 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม ค.ศ. 1945) เป็นยุทธการสำคัญซึ่งกองทัพสหรัฐอเมริกาขึ้นบกและยึดเกาะอิโวะจิมะจากกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้ในที่สุด การบุกครองของอเมริกา ชื่อรหัส ปฏิบัติการดีแทชเมนต์ (Operation Detachment) มีเป้าหมายยึดทั้งเกาะ ซึ่งรวมสนามบินที่ญี่ปุ่นยึดสามแห่ง (รวมสนามใต้และสนามกลาง) เพื่อเป็นพื้นที่พักพลสำหรับเข้าตีหมู่เกาะหลักของญี่ปุ่น ยุทธการนานห้าสัปดาห์นี้มีการสู้รบที่ดุเดือดและนองเลือดที่สุดในสงครามแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังเกิดการสูญเสียอย่างหนักในยุทธการ คุณค่าทางยุทธศาสตร์ของเกาะกลายเป็นข้อพิพาท เกาะนี้ไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพบกสหรัฐที่จะใช้เป็นพื้นที่พักพลและไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพเรือสหรัฐที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือ ทว่า ผึ้งทะเล (seabee) กองทัพเรือสร้างลานบินขึ้นใหม่ ซึ่งใช้เป็นลานลงจอดฉุกเฉินสำหรับบี-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐ

ที่ตั้งของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเกาะมีป้อมค่ายหนาแน่น โดยมีเครือข่ายบังเกอร์ ที่มั่นปืนใหญ่ซ่อน และอุโมงค์ใต้ดิน 18 กิโลเมตร ทหารอเมริกันภาคพื้นได้รับการสนับสนุนจากปืนใหญ่กองทัพเรืออย่างกว้างขวางและความเป็นเจ้าอากาศเบ็ดเสร็จเหนืออิโวะจิมะตั้งแต่เริ่มยุทธการโดยนักบินของกองทัพเรือสหรัฐและเหล่านาวิกโยธิน

อิโวะจิมะยังเป็นยุทธการเดียวสำหรับเหล่านาวิกโยธินสหรัฐที่กำลังพลสูญเสียของฝ่ายอเมริกันสูงกว่าญี่ปุ่น แม้การเสียชีวิตจากการสู้รบของฝ่ายญี่ปุ่นคิดเป็นสามเท่าของจำนวนผู้เสียชีวิตฝ่ายอเมริกัน จากทหารญี่ปุ่น 22,000 นายบนอิโวะจิมะ มีถูกจับเป็นเชลยเพียง 216 นาย ซึ่งบางส่วนถูกจับเพราะถูกทำให้หมดสติไม่ก็ถูกทำให้พิการ ที่เหลือส่วนใหญ่ตายในการรบ แม้มีประเมินว่า มากถึง 3,000 นายยังคงต่อต้านในระบบถ้ำต่าง ๆ อีกหลายวันให้หลัง จนสุดท้ายจำนนต่อการบาดเจ็บหรือยอมจำนนอีกหลายสัปดาห์ต่อมา

แม้การสู้รบนองเลือดและกำลังพลสูญเสียอย่างรุนแรงทั้งสองฝ่าย แต่การพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นรับประกันตั้งแต่ต้น ความเหนือกว่าท่วมท้นของอเมริกันทั้งด้านอาวุธและจำนวน ตลอดจนการควบคุมอำนาจทางอากาศเบ็ดเสร็จ กอปรกับการที่ญี่ปุ่นไม่สามารถถอยหรือได้รับกำลังเพิ่มเติม ทำให้ไม่มีกรณีแวดล้อมที่เป็นไปได้ซึ่งฝ่ายอเมริกันจะแพ้ยุทธการ

ยุทธการนี้ถูกจารึกโดยภาพถ่ายการปักธงสหรัฐบนยอดภูเขาสุริบะยะชิสูง 166 เมตรโดยนาวิกโยธินสหรัฐห้านายและเหล่าพยาบาลสนามกองทัพเรือสหรัฐหนึ่งนายของโจ โรเซนทัล ภาพถ่ายบันทึกการปักธงที่สองบนภูเขานั้น ซึ่งทั้งสองเกิดในวันที่ห้าของยุทธการ 35 วัน ภาพถ่ายของโรเซนทัลพลันกลายเป็นสัญรูปถาวรของยุทธการนั้น สงครามในแปซิฟิก และเหล่านาวิกโยธิน และได้รับการทำซ้ำอย่างกว้างขวาง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

อ่านต่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณา คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ Analytics

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า