วันนี้ในอดีต

26 กุมภาพันธ์ ยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร 4.6 หมื่นล้าน

26 กุมภาพันธ์ 2553 วันพิพากษายึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร 4.6 หมื่นล้าน

ยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร

ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 46,373 ล้านบาท คืนเงิน 30,247 ล้านบาท
องค์คณะผู้พิพากษาเริ่มอ่านคำพิพากษาในเวลา 13.30 น.ใช้เวลาอ่านคำฟ้องของอัยการ 1 ช.ม.อ่านคำคัดค้านการยึดทรัพย์ของผู้ถูกร้อง (จำเลย) 1.30 ช.ม. เริ่มเข้าสู่การพิจารณาในแต่ละประเด็น 16.00 น.

1. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะคดีนี้ไม่ใช่คดีความผิดทางละเมิดของศาลปกครอง หรือ คดีถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

2. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ร้อง ทั้งอัยการ , ป.ป.ช. , คตส. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน ตกเป็นของแผ่นดิน เพราะ

2.1 พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ปี 42 ไม่ได้สิ้นสุดลงตาม รธน.40 จากการยึดอำนาจ 19 ก.ย.49
2.2 คตส.จึงสามารถใช้อำนาจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบการทุจริต ตามประกาศ คปค.ได้
2.3 การที่ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.กำหนดให้การฟ้องคดีร่ำรวยผิดปกติ ต้องทำในสมัยที่นักการเมืองคนนั้น อยู่ในตำแหน่ง ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับการตรวจสอบของ คตส.ที่มีการบัญญัติไว้เป็น กม.เฉพาะได้
2.4 การตั้งนายกล้าณรงค์ จันทิก , นายบรรเจิด สิงคเนติ , นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นอนุกรรมการตรวจสอบชอบด้วย กม.ไม่ได้มีอคติ หรือ เป็นปรปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหา เพราะการไปฟังกลุ่มพันธมิตรฯปราศรัย , การแสดงความเห็นตรงข้ามกับผู้ถูกกล่าวหา เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในฐานะประชาชนทั่วไป , นักวิชาการ และ ส.ว. ไม่ได้มีเรื่องโกรธแค้นเป็นการส่วนตัวกับผู้ถูกกล่าวหา
2.5 ป.ป.ช.ชุดนี้ตั้งตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ซึ่งชอบด้วย กม.แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องให้ ปธ.วุฒิสภา รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง
2.6 คดีนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีแพ่งประกอบคดีอาญา ที่ต้องรอผลทางอาญาก่อน ตาม ป.วิ อาญา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาได้ โดยไม่ต้องรอให้มีคำพิพากษาในส่วนที่เป็นคดีอาญาก่อน

3. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้นชินคอร์ปผ่านเครือญาติ และนิติบุคคลที่ตัวเองตั้งขึ้น

4. ในประเด็นเรื่องการปกปิดและทำนิติกรรมอำพรางในการถือครองหุ้นนั้น องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน ยังคงถือครองหุ้นชินคอร์ป 1,449 ล้านหุ้น ระหว่างเป็นนายกฯ

4.1 ข้ออ้างที่ว่า นายพานทองแท้ ยืมเงินคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร มาซื้อหุ้นเพิ่มทุน โดยไม่มีดอกเบี้ยนั้นมีพิรุธ โดยนายพานทองแท้ได้โอนเงินเข้าบัญชีคุณหญิงพจมานทุกครั้งที่มีการขายหุ้นเพิ่มทุน
4.2 การถือครองหุ้นชินคอร์ป จำนวน 48.75% ผ่านเครือญาติ , บ.แอมเพิลริช , บ.วินมาร์ค นั้น มากพอที่จะทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มีอำนาจตั้งบอร์ด และใช้อำนาจกำหนดนโยบาย และบริหารงานธุรกิจในเครือชินคอร์ปผ่านบอร์ดที่ตัวเองตั้งขึ้น

5.เติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต , ออกมติ ครม. และประกาศ ก.คลัง ให้บริษัทมือถือจ่ายภาษีสรรพสามิต และนำภาษีไปหักค่าสัมปทานได้นั้น เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ AIS กีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ และทำให้รัฐได้รับความเสียหาย สูญเสียรายได้ไปกว่า 6 หมื่นล้านบาท

6. มีมติเสียงข้างมากว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ แก้ไขสัญญาให้ AIS ลดการจ่ายส่วนแบ่งรายได้การให้บริการระบบเติมเงินให้แก่ ทศท. จากเดิมต้องจ่ายในอัตราก้าวหน้า 25-30% เหลืออัตราคงที่ 20% ทำให้ต้นทุนของ AIS ลดลง และมีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ AIS

7. มีมติเสียงข้างมากว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีส่วนในการแก้ไขสัญญาโทรสัทพ์เคลื่อนที่เพื่ออนุญาให้ใช้เครือข่ายร่วม (roaming) และกรณีการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่าวร่วม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท AIS แต่เนื่องจากมีการขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่เทมาเส็กเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่ได้รับประโยชน์จากการลดอัตราการใช้เครือข่าว

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button