วันนี้ในอดีต

10 มีนาคม ดาวหางฮัลเลย์ เริ่มปรากฏบนฟากฟ้าเมืองไทย

10 มีนาคม 2529 ดาวหางฮัลเลย์ (halley commet) เริ่มปรากฏบนฟากฟ้าเมืองไทยอีกครั้ง หลังจากครั้งก่อนที่ปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 5 (ดาวหางฮัลเลย์ เป็นดาวหางดวงหนึ่งที่มีความสว่างมาก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นดาวที่มีการบันทึกข้อมูลไว้มากที่สุดและยาวนานที่สุด ตั้งแต่ปี 303 เป็นต้นมา)

ดาวหางฮัลเลย์

ดาวหางแฮลลีย์ (Halley’s Comet หรือ Comet Halley) มีชื่อตามระบบดาวหางอย่างเป็นทางการว่า 1P/Halley ตั้งชื่อตาม เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ (Edmond Halley) ผู้ซึ่งคำนวณคาบโคจรและทำนายการปรากฏตัวของดาวหางได้อย่างถูกต้องเป็นครั้งแรก ดาวหางแฮลลีย์มีคาบโคจรรอบละประมาณ 75-76 ปี นับเป็นดาวหางแบบมีคาบโคจรที่มีชื่อเสียงที่สุด แม้ในทุกศตวรรษจะมีดาวหางคาบยาวอื่น ๆ อีกหลายดวงที่สว่างกว่าและสวยงามมากกว่า

แต่ดาวหางแฮลลีย์นับเป็นดาวหางคาบสั้นเพียงดวงเดียวที่มีความสว่างมากจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเป็นดาวหางที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียงดวงเดียวที่หวนกลับมาให้เห็นได้อีกในช่วงชีวิตของคน ๆ หนึ่ง ดาวหางแฮลลีย์โคจรเข้ามายังระบบสุริยะชั้นในครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 1986 และจะกลับมาอีกครั้งในราวกลางปี ค.ศ. 2061

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button