วันนี้ในอดีต

11 มีนาคม อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ผู้ค้นพบ เพนิซิลิน

11 มีนาคม 2498 เซอร์ อเลกซานเดอร์ เฟลมมิง (Sir Alexander Fleming) ค.ศ. 1881-1988 เสียชีวิตในวันนี้ด้วยวัย 73 ปี เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบ ยาปฎิชีวนะ เพนิซิลิน ขึ้นโดยบังเอิญในปี พ.ศ. 2472 ซึ่งส่งผลเป็นวงกว้างต่อการใช้ยาในการรักษาโรคหลายชนิด

อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง

เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Sir Alexander Fleming) เป็นแพทย์ นักชีววิทยา นักเภสัชวิทยา และนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1881 ในดาร์เวล ประเทศสก็อตแลนด์ ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือการค้นพบเอนไซม์ไลโซไซม์ในปี ค.ศ. 1923 และการค้นพบสารเบนซิลเพนนิซิลิน (เพนนิซิลิน จี) จากเชื้อรา pennicilium notatum ในปี ค.ศ. 1928 ซึ่งนำไปสู่การพัฒนายาปฏิชีวนะตัวแรกของโลก การค้นพบนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1945

การค้นพบเพนิซิลิน

ในปี 1927 เฟลมมิงได้ทำการศึกษาคุณสมบัติของ Staphylococcus ในขณะนั้นเขาได้รับการยอมรับว่าเป็นนักวิจัยที่ชาญฉลาด แต่ห้องแล็ปของเค้ามีสภาพที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ในวันที่ 3 กันยายน 1928 เฟลมมิงกลับมายังห้องแล็ปของเขาหลังจากลาพักร้อนกับครอบครัวในเดือนสิงหาคม ก่อนนั้นเขาได้วางถาดเพาะเลี้ยงเชื้อไว้บนม้านั่งที่มุมห้อง เมื่อกลับมาเขาได้พบว่ามีถาดเพาะเชื้ออันหนึ่งเกิดการปนเปื้อนด้วยเชื้อรา และในบริเวณที่เชื้อราเกิดขึ้นนั้นแบคทีเรียถูกทำลายไป เขาได้นำถาดเพาะเชื้อชิ้นนั้นไปเพาะเลี้ยงต่อ แล้วพบว่าเชื้อรานั้นได้ฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด ในวันที่ 7 มีนาคม 1929 เขาได้ตั้งชื่อสารนั้นว่าเพนนิซิลิน

อ่านต่อ
Back to top button

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณา คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ Analytics

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า