วันนี้ในอดีต

14 มีนาคม เอลี วิตนีย์ ได้รับสิทธิบัตรเครื่องแยกเมล็ดฝ้าย

14 มีนาคม 2337 เอลี วิตนีย์ ชาวอเมริกัน ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เครื่องแยกเมล็ดฝ้ายออกจากเส้นใย (cotton gin) ซึ่งเขาประดิษฐ์ขึ้นในปี 2336 สิ่งประดิษฐ์นี้ช่วยใหเกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายสามารถทำงานได้เร็วกว่าการใช้มือถึง 50 เท่า ส่งผลให้มีการปลูกฝ้ายกันมากขึ้นจนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทางภาคใต้ของอเมริกาและเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตฝ้าย การเพิ่มผลผลิตฝ้ายทำให้ความต้องการใช้แรงงานทาสผิวดำมีมากขึ้น จนเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่การเกิดสงครามกลางเมือง สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ยังเป็ส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฎิวัติอุตสาหกรรมอีกด้วย

เอลี วิตนีย์

อีไล วิทนี่ (Eli Whitney) 8 กุมภาพันธ์ 2308 – 8 มกราคม 2368) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองเวสต์บอโรว์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ได้เข้าศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเยล แต่ไม่จบการศึกษาเนื่องจากขาดทุนทรัพย์ จึงลาออกและไปเป็นครูกวดวิชาที่รัฐจอร์เจียและได้รับการอุปถัมภ์จากนางนาธาเนียล กรีน ภริยาหม้ายของนายพลกรีน วีรบุษทหารของฝ่ายปฏิวัติ นางกรีนให้อีไลไปพักอาศัยในไร่ของเธอ ทำให้อีไลมีเวลาอ่านตำรากฎหมายและเริ่มงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องปั่นฝ้ายเป็นผลสำเร็จ ซึ่งสามารถแยกใยฝ้ายออกจากเมล็ดได้โดยได้จดสิทธิบัตรเมื่อไว้ 2337 แต่เครื่องปั่นฝ้ายที่อีไลคิดขึ้นได้และจดทะเบียนไว้นี้ถูกลอกเลียน ทำให้อีไลหมดตัวไปกับการฟ้องร้องป้องกันลิขสิทธิ์แต่ไม่ประสบผลสำเร็จแพ้คดีเสีย

อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมอีไล วิทนี่ก็ประสบความสำเร็จทางธุรกิจร่วมกับเพื่อนที่เคยเรียนที่เดียวกันมา คือมหาวิทยาลัยเยล ซึ่งเพื่อนผู้นี้เป็นผู้จัดการไร่ที่ต่อมาคือสามีคนใหม่ของนางกรีนนั่นเอง โดยอีไลได้รับสัญญาจ้างเหมาสร้างอาวุธปืนกับรัฐบาล ทำให้อีไลฟื้นตัวจากภาระการเงินและมั่งคั่งขึ้นในเวลาต่อมาจากการพัฒนากรรมวิธีการผลิตเป็นจำนวนมาก

อีไล วิทนี่มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ หรือพระเจ้าเอกทัศน์ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

อ่านต่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button