วันนี้ในอดีต

24 มีนาคม เรือ แอกซอน วัลเดซ เกยตื้น ปรินส์ วิลเลียม ซาวนด์

24 มีนาคม 2532 เรือขนน้ำมัน แอกซอน วัลเดซ (Exxon Valdez) เกยตื้นบริเวณชายฝั่ง ปรินส์ วิลเลียม ซาวนด์ ทางต้อนใต้ของอลาสกา น้ำมันประมาณ 11 ล้านแกลลอนแผ่กว้างเหนือท้องทะเล การกำจัดคราบน้ำมันประสบความล้มเหลว อีกทั้งลมและคลื่นพัดพา ส่งผลให้คราบน้ำมันกระจายกว้างกว่า 100 ไมล์ทะเล และครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งกว่า 700 ไมล์ นกและสัตว์ทะเลนับแสนตัว ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้

เรือ แอกซอน วัลเดซ

24 มีนาคม 2532 ณ ทะเลทางตอนใต้ของอลาสกา ภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลกจากฝีมือของมนุษย์ได้เกิดขึ้น เรือบรรทุกน้ำมันแอกซอน วัลเดซ เกยตื้นบริเวณชายฝั่งปรินส์ วิลเลียม ซาวนด์ ปลดปล่อยน้ำมันดิบปริมาณ 750,000 บาร์เรล

ลงสู่น่านน้ำอาร์กติก ก่อมลพิษให้กับดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ของอลาสกากินพื้นที่ความเสียหายหลายพันไมล์ อุบัติภัยที่มนุษย์ก่อครั้งนี้เป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่ร้ายแรงที่สุด จนกระทั่งเกิดการรั่วไหลของน้ำมันดิบ 4.9 ล้านบาร์เรล จากแท่นขุดเจาะดีพ วอเทอร์ ฮอไรซัน (บีพี) ในอ่าวเม็กซิโก เมื่อปีพ.ศ. 2553

ถึงแม้จะผ่านมาแล้ว 25 ปี แต่ผลกระทบจากน้ำมันรั่วในครั้งนั้นยังคงปรากฏให้เห็นได้ในทุกวันนี้ บรรดาสัตว์ต่างๆ อาทิ วาฬเพชฌฆาต นาก และสิงโตทะเลก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวจากเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ รวมถึงชาวโลกคงยังไม่ลืมภาพชายฝั่งสีดำ นก และสัตว์ทะเลต่างๆ ที่ถูกมฤตยูสีดำคร่าชีวิตไป

นอกจากความทรงจำแล้ว น้ำมันยังคงอยู่ใต้โขดหินน้อยใหญ่ของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการประมงสัตว์น้ำเศรษฐกิจอย่าง ปลาเฮอร์ริง ปูอลาสก้า ปูดันเจเนสส์ ก็ไม่สามารถฟื้นตัวในพื้นที่ได้อีก จากผลการสำรวจวิจัยพบว่ามีเพียงสัตว์ 13 ชนิด จาก 32 ชนิด เท่านั้นที่สามารถฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ หรือฟื้นตัวได้พอสมควร ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่แอกซอนทำนายไว้ว่าชายฝั่งปรินส์ วิลเลียม ซาวนด์ จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button