วันนี้ในอดีต

1 เมษายน วันเกิด ล้อต๊อก ศิลปินตลกอาวุโส

1 เมษายน 2457 วันเกิด ล้อต๊อก ศิลปินตลกอาวุโส ชื่อจริง สวง ทรัพย์สำรวย เกิดที่บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดนวลนรดิษฐ์ ร่วมกับเพื่อนตั้งคณะจำอวดและเริ่มเป็นที่รู้จักในชื่อ ลูกไทย

การแสดงได้รับความนิยมอย่างมาก ส่วนล้อต็อกเริ่มโด่งดังและเป็นที่รู้จัก หลังจากได้แสดงละครเรื่อง ตั๋งโต๊ะ ภายหลังจึงผันตัวเข้าสู่วงการภาพยนตร์เต็มตัว เรื่องที่สร้างชื่อให้ล้อต๊อกได้แก ใกล้เกลือกินเกลือ รับบทเป็น “เสี่ยล้อต๊อก” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “ล้อต๊อก”

ล้อต๊อก

ล้อต๊อก มีชื่อจริงว่า สวง ทรัพย์สำรวย (สะ-หฺวง) 1 เมษายน พ.ศ. 2457 — 30 เมษายน พ.ศ. 2545 (อายุ 88) เป็นนักแสดงตลกและศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง พื้นเพเป็นคนบ้านสวน คลองเสาหิน ตำบลท่าพระ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของ นายนุ่ม-นางขม มีอาชีพทำสวนผลไม้ หมากพลู มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ล้อต๊อกเป็นคนที่ 3 ชื่อ ล้อต๊อก มาจากการแสดงภาพยนตร์ ใกล้เกลือกินเกลือ รับบทเป็น เสี่ยล้อต๊อก คนจนที่ร่ำรวยขึ้นมาแล้วลืมกำพืดตัวเอง เมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อด้วยงานกำกับของ ดอกดิน กัญญามาลย์ แนวตลกชุดสามเกลอ (ล้อต๊อก – สมพงษ์ พงษ์มิตร – ดอกดิน) สามเกลอถ่ายหนัง ปีเดียวกัน และ สามเกลอเจอจานผี ปีถัดมา

สมรสครั้งแรกกับ สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย นางเอกละครคณะจันทรโอภาส และเป็นดาราภาพยนตร์ชื่อดัง เมื่อสมจิตต์เสียชีวิตจึงสมรสใหม่อีกหลายครั้ง หลังสุดแต่งงานกับ ชุลีพร ระมาด มีบุตร 1 คนชื่อ “อุ้มบุญ” หรือมงคลชัย ทรัพย์สำรวย ใช้ชีวิตอยู่บ้านที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อนจะเสียชีวิต

ภายหลังได้เปิดบริษัท ต๊อกบูม ภาพยนตร์ ในปี 2530 เด๋อ ดอกสะเดา ชวนมาเล่นตลกคาเฟ่กับคณะ เด๋อ ดู๋ ดี๋ ล้อต๊อกเคยแสดงหนังมาแล้วกว่า 100 เรื่อง และได้รับรางวัลพระราชทานตุ๊กตาทองจากภาพยนตร์เรื่อ โกฮับ และ หลวงตา ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำจากเรื่อง เงิน เงิน เงิน และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปการแสดง (นักแสดง-ตลก)

ในปี 2538 ล้อต็อกเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 ภายหลังได้มีการนำล้อต๊อกมาสร้างเป็นแอนิเมชั่นในชื่อ แดร็กคูล่าต๊อก โดย Beboydcg Studio หลังจากที่เคยมีฉบับหนังใหญ่เมื่อปี 2522

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button