วันนี้ในอดีต

1 เมษายน เกิด กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย

1 เมษายน 2524 เกิด กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย โดยทหารกลุ่ม จปร.7 ก่อกบฏเพื่อยึดอำนาจ พล. อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี คณะผู้ก่อการนำโดย พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา พันเอกมนูญ รูปขจร พันเอกชูพงศ์ มัทวพันธุ์ พันเอกประจักษ์ สว่างจิตร พันเอกชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล พันโทพัลลภ ปิ่นมณี พันเอกสาคร กิจวิริยะ และ พันเอกแสงศักดิ์ มงคละสิริ

ทั้งหมดจบจาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7 หรือรุ่นยังเติร์ก โดยจับตัวนายทหารฝ่ายตรงข้ามและออกแถลงการณ์คณะปฏิวัติ ต่างฝ่ายต่างปลดกันกลางอากาศ แต่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ไดั้หลบหนีไปตั้งกองบัญชาการตอบโต้ที่นครราชสีมา และอารักษ์ขาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชินีและพระบรมวงศานุวงไว้ได้ จากนั้นจึงใช้อำนาจปลดผู้ก่อการออกจากตำแหน่งทางทหาร การกบฏสิ้นสุดลงโดยไม่ได้มีการปะทะกัน ผู้ก่อการเดินทางออกนอกประเทศและได้รับอภัยโทษในเวลาต่อมา

กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย

กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย เป็นความพยายามรัฐประหารระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน 2524 เพื่อยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ โดยกลุ่มผู้ก่อการส่วนใหญ่เป็นนายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 7 หรือรุ่น “ยังเติร์ก” ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังต่าง ๆ อยู่ในกองทัพบก

การกบฏครั้งนี้ มีจำนวนกำลังทหารเข้าร่วมมากถึง 42 กองพัน ถือได้ว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ผลลัพธ์ของการกบฎครั้งนี้คือผู้ก่อการกบฎล้มเหลว ต้องหลบหนีออกไปต่างประเทศ แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้นำการกบฎครั้งนี้คนหนึ่งคือ พันเอก มนูญกฤต รูปขจร ได้กลับมาก่อการซ้ำอีกรอบในอีก 4 ปีต่อมาใน กบฏ 9 กันยา หรือ กบฏสองพี่น้อง ซึ่งก็ไม่สำเร็จอีกต้องลี้ภัยต่างประเทศอีกครั้ง

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button