วันนี้ในอดีต

2 เมษายน วันเกิด ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน ราชาแห่งเทพนิยาย

2 เมษายน 2348 วันเกิด ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน (Hans Christian Andersen) นักเขียนชาวเดนมาร์กผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งเทพนิยาย” เกิดที่เมืองโอเดนเซ (Odense) ประเทศเดนมาร์ก มีผลงานเทพนิยายมากกว่า 160 เรื่อง เขาเป็นหนึ่งในบรรดานักประพันธ์ที่ได้รับการแปลผลงานบ่อยครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์วรรณกรรม ผลงานที่ได้รับความนิยมได้แก่ ลูกเป็ดขี้เหร่ (The Ugly Duckling) เงือกน้อย (The Little Mermaid)

ฉลองพระองค์ใหม่ของพระราชา (The Emperor’s New Clothes) เด็กหญิงไม้ขีดไฟ (The Little Match Girl) เอ็นเดอร์เซนเริ่มจากการนำนิทานพื้นบ้านมาเล่าใหม่ก่อนจะหัดแต่งเรื่องเองโดยใส่บรรยากาศน่ากลัว เศร้าสลด

เพ้อฝันและแฟนตาซีเข้าไป นำเสนอผ่านภาษาเรียบง่ายทว่าลึกซึ้งคมคายแฝงแง่คิด แม้รูปลักษณ์ของเขาจะขี้เหร่จนกลายเป็นตัวตลกให้คนอื่นหัวเราะเยาะมาตลอดชีวิต แต่นิทานของเขากลับสวยงามและสร้างจินตนาการให้เด็ก ๆ มาแล้วทั่วโลกจนทุกวันนี้ เอ็นเดอร์เซนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2418

ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน

ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน (Hans Christian Andersen) ค.ศ. 1805-1875 ตามความเห็นของผู้คนที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเขา อานาเซินเป็นชาวเดนมาร์ก เขาเกิดในสลัม เป็นตัวตลกน่าสมเพชให้คนหัวเราะมาตลอดชีวิต แต่แล้วเขาก็ใช้คติหัวเราะทีหลังดังกว่า ด้วยบรรดางานเขียนที่เขาเรียกมันว่า “เรื่องเล่น ๆ” ที่เป็นนิทานสำหรับเด็ก

ซึ่งทำให้ผู้ใหญ่ทั่วโลกนิ่งฟังด้วยตาโต แม้ว่าเขาจะเป็นนักเขียนบทละครพื้น ๆ กวีฝีมือธรรมดา นักเขียนนวนิยายชั้นดี และนักเขียนเรื่องท่องเที่ยวชั้นเลิศ หากในด้านนิทานแล้ว เขาก้าวไปถึงขั้นเยี่ยมยอดไร้ที่ติ กล่าวกันว่านิทานของเขาเป็นบรรณาการยิ่งใหญ่จากเดนมาร์กแก่โลกวรรณกรรม ฐานะเทียมเท่าโฮเมอร์, ดันเต, เชกสเปียร์, เซร์บันเตส และเกอเทอ

จากการนำนิทานพื้นบ้านมาเล่าใหม่ เขาก็เริ่มแต่งนิทานเอง แล้วก็เติมความเศร้าหรือน่ากลัวเข้าไป เสริมด้วยจินตนาการเพ้อฝันและลีลาภาษาพูดเรียบง่ายเพื่อย้อมความหวานซึ้งให้กับคติของเรื่อง ต้นสน (1845) เป็นเรื่องหนึ่งอันเป็นที่ชื่นชอบกันมากที่สุด เช่นเดียวกับ เด็กหญิงไม้ขีดไฟ, เงือกน้อย, ราชินีหิมะ, ไนติงเกล, กล่องชุดจุดไฟ, ลูกเป็ดขี้เหร่ และ ชุดใหม่ของพระราชา

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button