วันนี้ในอดีต

4 เมษายน คณะรัฐมนตรีมีมติระงับการสร้างเขื่อนน้ำโจน

4 เมษายน 2531 คณะรัฐมนตรี มีมติระงับการสร้าง เขื่อนน้ำโจน ซึ่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ในสมัยนั้น) ได้พยายามผลักดันให้มีการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าปิดกั้นลำน้ำแควตอนบน บริเวณเขาน้ำโจน เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ. กาญจนบุรี โดยฝ่ายนักอนุรักษ์คนสำคัญ เช่น สืบ นาคะเสถียร หมอบุญส่ง เลขะกุล ได้เข้าคัดค้านอย่างเต็มที่ การสร้างเขื่อนน้ำโจนก็คือการทำลายป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ผืนป่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งได้รับการประกาศจากองการณ์ยูเนสโกให้เป็น พื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลก

เขื่อนน้ำโจน

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำแควใหญ่ตอนบน (เขื่อนน้ำโจน) จะทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดพื้นที่ 137 ตร.กม.หรือ 85,625 ไร่ ที่ระดับความสูง 370 ม.รทก. ทำให้น้ำท่วมใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นพื้นที่ประมาณ 80,000 ไร่ คิดเป็นระยะทางยาวประมาณ 60 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของอ่างเก็บน้ำประมาณ 9 กิโลเมตรเศษ ส่วนที่แคบที่สุดประมาณ 500 เมตร ใช้เวลาในการก่อสร้างและทำการตัดไม้ออกจากบริเวณอ่างเก็บน้ำนานประมาณ 3 ปีครึ่ง เงินทุนที่ใช้ในการก่อสร้างประมาณ 12,000 ล้านบาท โดยมีแผนการแก้ไขผลกระทบ ใช้เงินประมาณ 360 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละประมาณ 3 เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 3.6 ของประมาณการความต้องการพลังงานไฟฟ้าปี 2532

ผลกระทบ

การก่อสร้างเขื่อนน้ำโจนจะทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อทรัพยากรที่มีเหลืออยู่เป็นแหล่งสุดท้ายของประเทศ ถึงแม้จะมีการแก้ไขผลกระทบที่ดีเพียงใดก็ตาม แต่พื้นที่ป่าที่ลุ่มต่ำไม่น้อยกว่า 140 ตารางกิโลเมตรของลุ่มน้ำแควใหญ่ตอนบนจะต้องสูญหายไปอย่างแน่นอน แหล่งรวมทางพันธุกรรมของพืชและสัตว์ในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วม จะต้องสูญสิ้นไป

ในที่นี่ยังไม่รวมถึงผลกระทบในทางอ้อมที่จะเกิดจากการก่อสร้าง อาทิ การตัดถนนเข้าไปบริเวณหัวงาน การตัดเส้นทางชักลากไม้ออกจากบริเวณอ่างเก็บน้ำและการกระทำอย่างอื่นๆ ที่เป็นการละเมิดกฎหมายที่จะเกิดขึ้นติดตามมาเหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้น และกำลังเกิดอยู่ในพื้นที่ที่มีการเปิดประตูป่าเข้าไปเพื่อการพัฒนา จนทรัพยากรที่สำคัญของชาติโดยส่วนรวมที่ยังเหลืออยู่ต้องหมดสิ้นไปและไม่สามารถหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้

มาตรการที่ดีสำหรับใช้ในการแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติให้หมดไป หากจะนำมาใช้ในการป้องกันส่วนที่เหลืออยู่ให้คงอยู่และอำนวยประโยชน์อันยาวนานต่อไป สำหรับการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน ย่อมจะเป็นวิถีทางที่ถูกต้องสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย

เพราะประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลายในโลกต่างก็รู้ซึ้งถึงการทำลายทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศ จนต้องหันมาอนุรักษ์ทรัพยากรที่กำลังจะหมดไปในภูมิภาคส่วนอื่นของโลก

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button