วันนี้ในอดีต

7 เมษายน เรือรบ ยามาโตะ ของญี่ปุ่นจมสู่ก้นทะเล

7 เมษายน 2488 เรือรบ ยามาโตะ (Yamato) ของญี่ปุ่นจมลงบริเวณทางเหนือของเกาะโอกินาวา เรือยามาโตะเป็นเรือประจัญบานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างมาจนถึงปัจจุบัน มีขนาดยาว 250 เมตร มีปืนขนาด 460 มม. ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยบรรจุไว้ในเรือ ตั้งเรียงรายอยู่รอบลำซึ่งมีเกราะป้องกันตอปิโดหนาถึง 8 นิ้ว

มีระวางขับน้ำถึง 69,100 ตัน จนใคร ๆ ต่างก็เชื่อว่าเรือลำนี้ไม่มีทางจมเด็จขาด ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหรัฐอเมริกาบุกยึดเกาะโอกินาวาเพื่อเข้ายึดกรุงโตเกียว นักรบญี่ปุ่นได้ยืนหยัดสู้อย่างทรหด เรือยามาโตะก็ได้รับคำสั่งให้เข้าปฏิบัติการ KIKUSUI 1 ซึ่งแปลว่า ดอกเบญจมาศลอยน้ำ

โดยมีภารกิจล่อฝูงบินอเมริกันให้ออกไปจากน่านน้ำเกาะโอกินาวา เช้าวันที่ 6 เมษายน 2488 เมื่อเรือยามาโตะเดินทางยังไม่ถึงน่านน้ำโอกินาวา ฝ่ายนาวิกโยธินสหรัฐฯ จับสัญญาณได้จึงส่งฝูงบินโจมตี 380 ลำ รุมทิ้งระเบิดเรือยามาโตะเป็นเวลาเกือบ 2 วัน จนในที่สุดเรือยามาโตะได้จมสู่ก้นทะเลพร้อมลูกเรือเกือบ 2,500 คน มีผู้รอดชีวิตเพียง 269 คนเท่านั้น

เรือรบ ยามาโตะ

เรือประจัญบานยะมะโตะ (Yamato) เป็นเรือประจัญบานขนาดยักษ์ ตั้งตามชื่อ “ยะมะโตะ” ซึ่งเป็นจังหวัดโบราณในประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะลำแรกของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น เรือประจัญบานยะมะโตะและเรือประจัญบานมูซาชิที่อยู่ในชั้นเดียวกัน เป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ที่สุดและมีอาวุธทรงประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้ ด้วยระวางขับน้ำ 72,800 ตันและปืนใหญ่ขนาดปากลำกล้อง 460 มิลลิเมตร (18 นิ้ว) ทั้งคู่จมลงในระหว่างสงคราม

เรือรบลำนี้มีความหมายอันยิ่งใหญ่สำหรับจักรวรรดิญี่ปุ่นในฐานะสัญลักษณ์ด้านนาวิกานุภาพของชาติ (คำว่า “ยะมะโตะ บางครั้งก็หมายถึงประเทศญี่ปุ่น) และถูกเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันจมช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปฏิบัติการฆ่าตัวตายเท็งโง ซึ่งการจมของเรือรบยะมะโตะ บางครั้งถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นด้วย

ปฏิบัติการเท็งโง

เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1945 เรือยะมะโตะ ฮารูนะ (Haruna) และ นางาโต้ (Nagato) ได้โอนย้ายไปยังกองพลเรือประจัญบานที่ 1 ซึ่งได้รับการจัดตั้งใหม่อีกครั้ง ยะมะโตะออกจากอู่แห้งสองวันหลังจากนั้นเพื่อแล่นไปทะเลในของญี่ปุ่น การโอนย้ายนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ กองพลเรือประจัญบานที่ 1 ถูกยุบหน่วยอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ และยะมะโตะถูกแบ่งไปสังกัดกองพลเรือบรรทุกอากาศยานที่ 1 ในวันที่ 19 มีนาคม

เครื่องบินอเมริกันจากเรือบรรทุกอากาศยานเอนเทอร์ไพรซ์ (Enterprise) ยอร์คทาวน์ (Yorktown) และอินเทรพพิด (Intrepid) เข้าโจมตีคุเระ แม้ว่าจะมีเรือรบเสียหายถึง 16 ลำ แต่ยะมะโตะกลับได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยจากระเบิดด้านและระเบิดลูกหนึ่งที่ทิ้งโดนสะพานเดินเรือ การแทรกแซงของฝูงบินขับไล่คะวะนิชิ เอ็น1เค1 “ชิเด็น” (Kawanishi N1K1 “Shiden”, หรือที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเรียกว่า “จอร์จ (George)”) ที่บินโดยครูฝึกบินเครื่องขับไล่ที่มากประสบการณ์ช่วยป้องกันการโจมตีดังกล่าว ทำให้ฐานทัพและเรือที่จอดทอดสมออยู่ไม่ได้รับความเสียหายร้ายแรง ขณะการซ้อมรบที่ช่องแคบนะซะมิ (Nasami) ของเรือยะมะโตะก็ได้แสดงผลออกมา

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกโอะกินะวะในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนเริ่มแผนโจมตีแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ตอบโต้โดยการจัดตั้งภารกิจชื่อรหัสปฏิบัติการเท็งโงซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกองกำลังเรือผิวน้ำของญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ ยะมะโตะและเรือคุ้มกันอีกเก้าลำ (เรือลาดตระเวนยะฮะงิ และเรือพิฆาตอีก 8 ลำ)

เดินเรือสู่โอะกินะวะเพื่อโจมตีกองกำลังสัมพันธมิตรที่รวมตัวกันบนเกาะและรอบเกาะโอะกินะวะและกำลังสู้พัวพันกับ กามิกาเซ่ และหน่วยทหารของฐานทัพบนโอะกินะวะ ยะมะโตะจะเข้าเกยหาดและทำหน้าที่เสมือนเป็นป้อมปืนใหญ่ชายฝั่งและต่อสู้จนกระทั่งเรือถูกทำลาย ในการเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจ ยะมะโตะได้รับบรรจุอาวุธเต็มอัตราในวันที่ 29 มีนาคม ตามแผนของญี่ปุ่น เรือจะได้รับการเติมเชื้อเพลิงสำหรับการเดินทางเที่ยวเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เรือได้รับเชื้อเพลิงถึงร้อยละ 60 ของความจุด้วยคำสั่งของผู้บังคับบัญชาฐานทัพ ภายใต้ชื่อ “กองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำ (Surface Special Attack Force)” กองเรือได้ออกจากเมืองโทะกุยะมะ (Tokuyama) เมื่อเวลา 15:20 ในวันที่ 6 เมษายน

แต่น่าเสียดาย สัมพันธมิตรดักฟังและถอดรหัสสัญญาณวิทยุของญี่ปุ่นได้ ทำให้ทราบถึงรายละเอียดของปฏิบัติการเท็งโง นอกจากนี้ เมื่อเวลา 20:00 น. เรือดำน้ำฝ่ายสหรัฐ ยูเอสเอส เทรดฟิน (USS Threadfin) และ ยูเอสเอส แฮกเคิลแบ็ก (USS Hackleback) พบเห็นกองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำเดินเรือผ่านช่องแคบบังโงะ (Bungo Suido) เป็นการยืนยันถึงเจตนารมณ์ของญี่ปุ่น เรือดำน้ำทั้งสองรายงานตำแหน่งของยะมะโตะต่อกองกำลังจู่โจมเรือบรรทุกอากาศยานของอเมริกาทราบ แต่เรือทั้งสองก็ไม่สามารถโจมตีได้เพราะความเร็วกองเรืออยู่ที่ 22 นอต (41 กม./ชม.) และเดินเรือเป็นรูปฟันปลา

กองกำลังสัมพันธมิตรรอบโอะกินะวะเริ่มรวมตัวเพื่อโจมตี พลเรือเอก เรย์มอนด์ สพรัวนซ์ (Raymond Spruance) สั่งให้เรือประจัญบาน 6 ลำที่กำลังระดมยิงชายฝั่งเตรียมพร้อมสำหรับการปะทะกับเรือยะมะโตะ แต่คำสั่งนี้ถูกยกเลิกเพราะเห็นด้วยกับการโจมตีทางอากาศจากเรือบรรทุกอากาศยานของพลเรือเอก มาร์ก มิตส์เชอร์ (Marc Mitscher) แต่เพื่อความมั่นใจ เรือประจัญบาน เรือลาดตระเวน 7 ลำ และเรือพิฆาต 21 ลำถูกส่งไปยับยั้งกองเรือญี่ปุ่นก่อนที่กองเรือจะสามารถเข้าถึงเรือขนส่งและเรือยกพลขึ้นบกซึ่งถูกทำลายได้ง่าย

ลูกเรือยะมะโตะเข้าประจำสถานีรบและพร้อมสำหรับการต่อต้านอากาศยานเมื่อรุ่งเช้าวันที่ 7 เมษายน เครื่องบินของสัมพันธมิตรพบเห็นกองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำเมื่อเวลา 08.23 น. เรือบินสองลำเดินทางมาถึงทันทีหลังจากนั้น อีกห้าชั่วโมงต่อมายะมะโตะยิงกระสุนร่วมแบบ 3 หรือกระสุนรวมแบบรวงผึ้ง (3 Shiki tsûjôdan, 3 ชิกิ สึโงดัน) ไปที่เรือบิน

แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการสอดแนมได้ เรดาร์ของยะมะโตะจับสัญญาณของเครื่องบินได้เมื่อเวลา 10.00 น. หนึ่งชั่วโมงต่อมาฝูงเครื่องบินขับไล่ เอฟ6เอฟ เฮลแคท (F6F Hellcat) ของอเมริกันก็ปรากฏขึ้นเหนือน่านฟ้าเพื่อต่อสู้กับเครื่องบินญี่ปุ่นที่อาจปรากฏขึ้น แต่กลับไม่พบ

เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโดจำนวน 280 ลำเดินทางมาถึงกองเรือญี่ปุ่น เรือพิฆาตอะซะชิโมะ (Asashimo) ต้องออกจากรูปขบวนไปก่อนเพราะเกิดปัญหาเครื่องยนต์ และถูกโจมตีจนอับปางโดยหน่วยบินของเรือยูเอสเอส แซนจาซินโท (USS San Jacinto)

กองกำลังจู่โจมพิเศษเรือผิวน้ำเพิ่มความเร็วเป็น 24 นอต (44 กม./ชม.) และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเพื่อต่อต้านอากาศยานของญี่ปุ่น คือเรือพิฆาตตั้งขบวนล้อมเรือยะมะโตะ เครื่องบินเริ่มโจมตีระลอกแรกเมื่อเวลา 12.37 น. เรือยะฮะงิเลี้ยวกลับและเพิ่มความเร็วเป็น 35 นอต (64.8 กม./ชม.)

เพื่อพยายามดึงเครื่องบินที่โจมตีให้ไล่ตาม แม้กลยุทธ์นี้จะประสบความสำเร็จแต่เครื่องบินที่ติดตามไปนั้นมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ยะมะโตะหลบการโจมตีได้ถึง 4 นาทีจนกระทั่งเวลา 12:41 น. เครื่องบินทิ้งระเบิดสองเครื่องได้ทำลายแท่นปืนต่อต้านอากาศยานปากกระบอกแฝดสามขนาด 25 มม. สองแท่นและสร้างรูขึ้นบนดาดฟ้าเรือ เครื่องบินทิ้งระเบิดลำที่สามได้ทำลายห้องเรดาห์และแท่นปืน 127 มม. ที่กราบขวาด้านท้ายของเรือ เมื่อเวลา 12.46 น.

เครื่องบินทิ้งระเบิดอีกสองลำได้โจมตีด้านกราบซ้ายของเรือ เกิดความเสียหายเล็กน้อยบริเวณด้านหน้าป้อมปืนขนาด 155 มม. ที่ติดตั้งตรงกลางท้ายเรือ และบริเวณด้านบนของป้อมปืนขวาด้านท้ายเรือ เหตุเหล่านี้ ได้สร้างความเสียหายต่อป้อมปืนและห้องเก็บกระสุนเป็นอันมาก มีลูกเรือเพียงคนเดียวที่ปีนหนีออกมาได้ เมื่อเวลา 12:45 มีตอร์ปิโดหนึ่งลูกโจมตีโดนยะมะโตะเข้าที่ด้านหน้ากราบซ้ายของเรือ

ส่งผลให้เกิดแรงกระแทกที่รุนแรงตลอดทั้งเรือ แต่เพราะผู้รอดชีวิตจากการโจมตี ภายหลังกลับเสียชีวิตจากยิงกราดจากเครื่องบินและติดอยู่ภายในเรือเมื่อยะมะโตะอับปาง ทำให้รายละเอียดไม่มีความแน่นอน แต่ผู้แต่งการ์ซคีและดับบลินบันทึกว่าเป็นความเสียหายเพียงเล็กน้อย หลังจากนั้นไม่นาน มีตอร์ปิโดอีกสามลูกยิงโดนยะมะโตะ มีสองลูกยิงเข้าที่กราบซ้ายใกล้ห้องเครื่องยนต์ และหนึ่งลูกที่ห้องหม้อน้ำที่ได้รับการยืนยัน ตอร์ปิโดลูกที่สามนั้นยังคงเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ แต่การ์ซคีและดับบลินพิจารณาว่าอาจเป็นไปได้ เพราะมันจึงอธิบายถึงรายงานน้ำท่วมห้องหางเสือช่วยของยะมะโตะได้

การโจมตีสิ้นสุดลงในเวลาประมาณ 12:47 น. เรือเอียงถาวร 5–6° ไปทางกราบซ้าย มีการต่อต้านน้ำท่วม ปล่อยน้ำท่วมห้องอย่างจงใจในอีกด้านของเรือ ทำให้ลดการเอียงได้ 1° ห้องหม้อน้ำหนึ่งห้องใช้การไม่ได้ ส่งผลให้ความเร็วสูงสุดของยะมะโตะลดลงเล็กน้อย และการยิงกราดจากเครื่องบินทำให้พลปืนต่อต้านอากาศยานขนาด 25 มม. จำนวนมากบาดเจ็บล้มตายไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ทำให้ลดทอนประสิทธิผลลง

การโจมตีระลอกที่สองเริ่มขึ้นก่อนเวลา 13:00 น. ในการโจมตีประสาน เครื่องบินดำทิ้งระเบิดบินสูงเหนือหัวก่อนเริ่มโจมตี ขณะที่เครื่องบินบรรทุกตอร์ปิโดเข้าโจมตีจากทุกทิศทางสูงเพียงเหนือระดับน้ำทะเล แม้จะท่วมท้นไปด้วยเป้าหมาย แต่ปืนต่อต้านอากาศยานของเรือประจัญบานกลับได้ผลเพียงเล็กน้อย ญี่ปุ่นได้พยายามใช้มาตรการรุนแรงเพื่อหยุดการโจมตี ปืนหลักของยะมะโตะได้ยิงกระสุนรวมแบบรวงผึ้ง ซึ่งจะระเบิดออกหลังยิงหนึ่งวินาที ที่ 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) จากเรือ

แต่ได้ผลเพียงเล็กน้อย ตอร์ปิโดสี่หรือห้าลูกยิงโดนเรือ สามหรือสี่ลูกที่กราบซ้ายและหนึ่งลูกที่กราบขวา สามลูกที่ยิงโดนบริเวณใกล้กันที่กราบซ้ายได้รับการยืนยัน ลูกแรกยิงโดนที่ห้องหม้อน้ำ อีกลูกยิงโดนที่ห้องหม้อน้ำอีกห้อง ลูกที่สามยิงโดนตัวเรือที่ติดกับห้องเครื่องยนต์ที่ตั้งอยู่นอกลำตัวเรือซึ่งได้รับความเสียหายก่อนหน้า ทำให้น้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น และไหลไปสู่พื้นที่ว่าง อีกทั้งอาจเป็นเหตุให้น้ำท่วมพื้นที่ใกล้เคียงบริเวณนั้น ลูกที่สี่ (ไม่ได้รับการยืนยัน) อาจโจมตีโดนท้ายเรือ การ์ซคีและดับบลินเชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะอธิบายถึงการที่น้ำท่วมอย่างฉับพลันที่มีการรายงานในบริเวณนั้นได้

การโจมตีนี้ทำให้ยะมะโตะตกอยู่ในอันตราย เรือเอียงถาวร 15–18° ไปทางกราบซ้าย การต่อต้านน้ำท่วมทั้งหมดที่เหลืออยู่ทางกราบขวาถูกใช้จนหมด ซึ่งช่วยให้เรือเอียงเหลือเพียง 10° แต่การแก้ไขที่เพิ่มขึ้นมาต้องการการซ่อมแซมหรือไม่ก็ปล่อยน้ำท่วมห้องเครื่องยนต์และห้องหม้อน้ำ ถึงแม้ว่า ตอนนี้เรือยังไม่ถึงกับจมลง แต่การเอียงถาวรทำให้หมู่ปืนหลักใช้การไม่ได้ และความเร็วสูงสุดของเรือถูกจำกัดอยู่ที่ 18 นอต (33 กม./ชม.)

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button