วันนี้ในอดีต

17 เมษายน เหม เวชกร ถึงแก่กรรม

17 เมษายน 2497 เหม เวชกร ถึงแก่กรรม ในสมัยที่นิยายราคาเล่มละ 10 สตางค์ เหม เวชกรเป็นจิตรกรของยุคนั้น ตลอดระยะเวลาสี่สิบกว่าปีของชีวิตช่างเขียน เหมผลิตผลงานหลายมื่นชิ้น มีตั้งแต่ภาพปก ภาพประกอบ นิยายภาพ หนังสืออ่านเล่น หนังสือเรียน ไปจนถึงรูปพระพุทธประวัติที่พิมพ์ให้เช่าใส่กรอบติดตามวัด ในสายตาของ “ศิลปิน” เขาเป็นได้เพียงช่างเขียน “งานตลาด” แต่สำหรับสาธารณชนแล้ว เขาคือผู้กำหัวใจของความงาม “อย่างไทย” ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

สามทศวรรษหลังมรณกรรมของเหม ภาพประกอบเล็ก ๆ ที่เคยทำเงินให้เขาได้แค่ไม่กี่ร้อยบาทถูกประมูลในราคาเหยียบแสน ในวันนี้ชื่อของเหม เวชกร กลับมาขึ้นทำเนียบศิลปินชั้นครูของเมืองไทย

เหม เวชกร

เหม เวชกร 17 มกราคม 2446 – 16 เมษายน 2512 ศิลปินและจิตรกรชาวไทย ที่มีผลงานเด่นแนวเหมือนจริง เช่น ภาพวิจิตรชุดวรรณคดีไทย, นางงามในวรรณคดี, ชีวประวัติสุนทรภู่, ภาพประวัติศาสตร์ไทย, ราชาธิราชและกากี และพระลอภาพวิจิตร เป็นต้น

เหม เวชกรเกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2446 ที่ตำบลพระราชวัง อำเภอและจังหวัดพระนคร เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์หุ่น ทินกร กับหม่อมหลวงสำริด พึ่งบุญ ครั้นพ่อกับแม่แยกทางกันจึงไปอยู่กับหม่อมราชวงศ์แดง ทินกร ผู้เป็นลุง ทำให้มีโอกาสพบและเป็นผู้ช่วยให้กับคาร์โล ริโกลี จิตรกรชาวอิตาเลียนผู้เขียนภาพบนเพดานโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม

เป็นคนสอนให้หัดวาดเส้น และลวดลายต่าง ๆ จิตรกรชาวอิตาเลียนรู้สึกชอบพอในอัธยาศัยและฝีมือของเหมมาก ถึงขนาดชักชวนให้ไปเรียนต่อทางศิลปะที่อิตาลี โดยลุงผู้อุปการะในเวลานั้นได้ตอบอนุญาตแล้ว แต่เมื่อความรู้ถึงบิดา กลับให้คนมาลักพาตัวไปเสียก่อนถึงวันเดินทาง เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เขาไม่ได้พบหน้า ม.ร.ว.แดง ผู้เป็นลุงอีกเลย

ชีวิตในวัยรุ่นของเขา นับเป็นช่วงเวลาที่ตกยากที่สุด ทั้งพ่อและแม่ที่ต่างผลัดกันแย่งยื้อตัวเขาไว้ก็ไม่มีใครได้เลี้ยงดูจริงจัง ตามประวัติกล่าวว่าเขาเคยเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และอัสสัมชัญ แต่ก็คงได้เพียงชั่วเวลาสั้น ๆ จากนั้นเหมต้องกลายเป็นคนซัดเซพเนจรไปหลายที่ แม้แต่นามสกุล “เวชกร” ที่ใช้มาตลอดชีวิตก็เป็นนามสกุลของครอบครัวขุนประสิทธิ์เวชกร (แหยม เวชกร) อดีตแพทย์ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเคยให้การอุปถัมภ์เขาไว้ครั้งหนึ่ง

ช่วงที่ชีวิตผกผัน เหมต้องเร่ร่อนไปทำงานหลายอย่าง นับแต่เป็นนายท้ายเรือโยงขึ้นล่องแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นช่างเครื่องจักรไอน้ำ แล้วผันตัวไปเป็นช่างเครื่องในงานสร้างเขื่อนพระรามหก เมื่อเข้ากรุงเทพฯ มาเป็นช่างเขียนในกรมตำราทหารบก กระทรวงกลาโหม และพร้อมกับมีอาชีพเสริมด้วยการเล่นดนตรีไทย

งานเล่นดนตรีคลอประกอบการฉายหนังเงียบในโรงภาพยนตร์ แต่ต่ออาชีพนักดนตรีเริ่มฝืดเคือง เริ่มงานเขียนปกนวนิยาย เป็นงานหลักหาเลี้ยงชีพ ปลายปี 2478 เหม เวชกรและเพื่อนได้ร่วมกันเปิดสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ พิมพ์นิยายราคาถูก ปกเป็นภาพเขียนฝีมือของเหม พิมพ์สอดสีสวยงาม ราคา 10 สตางค์ นอกจากนี้ เหมยังมีผลงานวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องผีด้วย

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับแช่มชื่น คมขำแห่งสำนักวังหลานหลวงของกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ โดยไม่มีทายาท แต่ได้รับบุตรบุญธรรมไว้คนหนึ่งชื่อดาบตำรวจสุชาติ สมรูป เหมถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2512 ณ บ้านพักแหล่งสุดท้ายของเขาที่ซอยตากสิน 1 เขตธนบุรี ขณะอายุได้ 66 ปี

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button