วันนี้ในอดีต

30 เมษายน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ยิงตัวตายพร้อมภรรยา

30 เมษายน 2488 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำเผด็จการชาวเยอรมัน ยิงตัวตายพร้อมภรรยา เอวา บราวน์ (Eva Braun) ในหลุมหลบภัย

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ยิงตัวตาย

ระหว่างที่กรุงเบอร์ลินกำลังถูกโซเวียตบุกนั้นเอง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ยิงตัวตายเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1945 ในฟือเรอร์บุงเคอร์ ส่วนภรรยาของเขา เอฟา เบราน์ ได้ฆ่าตัวตายด้วยยาพิษไซยาไนด์ ทั้งนี้ ศพของทั้งสองได้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังทางออกฉุกเฉินของบังเกอร์ตามคำสั่งเสียของฮิตเลอร์ ทหารนำศพทั้งสองจัดวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้บริเวณด้านหลังทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ จากนั้นก็จัดการราดน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมกับจุดไฟเผาเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารฝ่ายศัตรูนำไปประจานและกระทำยำยีอย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับเบนิโต มุสโสลินี ผู้นำอิตาลี จากบันทึกของพวกโซเวียตระบุว่า ทหารโซเวียตได้ขุดร่างของฮิตเลอร์ขึ้นมา และนำไปฝังไว้ในหลายสถานที่ด้วยกันจนถึงปี 1970 ที่ร่างซึ่งโซเวียตอ้างว่าเป็นของฮิตเลอร์ถูกขุดขึ้นมาเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะถูกนำไปเผาและโปรยเถ้า

ด้วยรายงานที่มีความแตกต่างกันออกไปที่ได้ระบุสาเหตุการตาย; บางกรณีได้ระบุว่า เขาตายด้วยยาพิษเท่านั้นและอีกบางกรณีหนึ่งคือเขาตายด้วยการใช้ปืนยิงศีรษะตัวเองพร้อมกับกัดแคปซูลบรรจุสารพิษไซยาไนด์ แต่นักประวัติศาสตร์สมัยนั้นได้ปฏิเสธรายงานเหล่านี้เพราะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อของสหภาพโซเวียตหรือความพยายามการประนีประนอมเพื่อหาข้อสรุปที่แตกต่างกัน พยานคนหนึ่งได้บันทึกเอาไว้ว่า ศพมีรอยบาดแผลจากการถูกยิงทะลุผ่านปาก แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับกระโหลกศีรษะและกระดูกขากรรไกรที่ถูกขุดขึ้นได้โดยระบุว่าเป็นของฮิตเลอร์จริงหรือไม่

ในปี ค.ศ. 2009 นักวิจัยชาวอเมริกันได้ทำการตรวจดีเอ็นเอบนกระโหลกศีรษะที่เจ้าหน้าที่ของโซเวียตได้เชื่อมั่นมานานแล้วว่าเป็นของฮิตเลอร์แน่ๆ แต่การทดสอบและการตรวจสอบได้พบว่า กะโหลกศีรษะนั้นเป็นของผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ส่วนกระดูกขากรรไกรที่ถูกขุดขึ้นมายังไม่ได้รับการตรวจสอบใดๆเลย เท่ากับว่าในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆที่ยืนยันถึงการมีอยู่ของร่างของฮิตเลอร์

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button