วันนี้ในอดีต

4 พฤษภาคม The Old Man and The Sea ได้รับ รางวัลพูลิตเซอร์

4 พฤษภาคม 2496 The Old Man and The Sea เฒ่าผจญทะเล นิยายขนาดสั้นเรื่องเอกของ เออร์เนสต์ เฮมมิงเวย์ (Ernest Miller Hemingway) ได้รับ รางวัลพูลิตเซอร์ (Pulitzer Prize) นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องของชายประมงชาวคิวบาชื่อ ซานติเอโก

เฒ่าผจญทะเล

เฒ่าผจญทะเล (The Old Man and the Sea) เป็นผลงานวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงของเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม โดยเขียนที่ประเทศคิวบาในปีค.ศ.1951 และได้รับการจัดพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1952 ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเฮมิงเวย์ เนื้อหาว่าด้วยเรื่องของชายชราคนหนึ่งผู้ออกหาปลาในประเทศคิวบา

เป็นเรื่องราวของประมงชราคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า “ซานติเอโก” ที่ได้ออกไปหาปลาแต่ก็ไม่สามารถจับปลามาได้ในช่วง 84 วันที่ผ่านมา เขามีเพื่อนต่างวัยเป็นเด็กชายคนหนึ่งชื่อ “มาโนลิน” ที่เสนอตัวช่วยหาปลา แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ยังไม่สามารถจับปลาได้อยู่ดี ภายหลังจากนั้น พ่อแม่ของมาโนลินให้ลูกของตนไปหางานอื่นทำแทน

เมื่อมาโนลินกลับมาขอช่วยงานซานติเอโกอีกครั้งก็ถูกปฏิเสธก่อนที่จะได้รับการยินยอมครั้งหนึ่ง แต่ในครั้งสุดท้าย ซานติเอโกขอพิสูจน์ตนเองด้วยการออกหาปลาตามลำพัง ในเบื้องต้นเขาจับได้แต่ปลาตัวเล็ก ทว่าในที่สุดเขาก็ได้พบกับ ปลามาร์ลิน (ปลากระโทงแทง) ขนาดยักษ์และมีความฉลาดเป็นพิเศษ เมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว ปลากลับเป็นฝ่ายลากเรือไปเสียเอง ทำให้ซานติเอโกเริ่มนึกถึงมาโนลิน เขาอยากให้เด็กชายคนนี้มาช่วยเขาจับปลา

ซานติเอโกสู้กับปลายักษ์ตัวนี้ข้ามคืนถึงสามวัน และในเช้าวันที่สามนี้เอง ซานติเอโกตัดสินใจออกแรงเฮือกสุดท้ายโดยใช้ฉมวกปักเข้าที่กลางหลังของมัน ก่อนที่ปลายักษ์ตัวนี้จะสิ้นลม ซานติเอโกนำปลายักษ์ตัวนี้มาผูกไว้ที่ข้างเรือ แต่กลิ่นคาวเลือดของปลาทำให้ฝูงปลาฉลามเข้ามารายล้อม ซานติเอโกพยายามสู้กับพวกมัน แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ เนื่องจากพวกมันมีมากเกินไป ซานติเอโกกลับมาพร้อมกับซากปลามาร์ลินที่เหลือแต่กระดูก ชาวบ้านที่มาพบเห็นถึงกับตกตะลึง เป็นอันว่าเขากลับมามือเปล่า ก่อนที่ซานติเอโกจะกลับเข้าไปนอนที่บ้านของตน นั่นเป็นเหตุการณ์ทั้งหมดที่เขาได้รับชัยชนะ พร้อมกับความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button