วันนี้ในอดีต

11 พฤษภาคม จอห์น เฮอร์เชล นักคณิตศาสตร์ นักเคมี ถึงแก่กรรม

11 พฤษภาคม 2414 จอห์น เฮอร์เชล (Sir John Frederick Herschel) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์และนักเคมีชาวอังกฤษ ถึงแก่กรรม เฮอร์เชลเกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2334 ที่เมืองบัคกิงแฮมไชร์ ประเทศอังกฤษ

จอห์น เฮอร์เชล

จอห์น เฮอร์เชล (John Herschel) 7 มีนาคม ค.ศ. 1792-11 พฤษภาคม ค.ศ. 1871 นักคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นกระบวนการไซยาโนไทป์ (Cyanotype) ที่เป็นต้นแบบของกระบวนพิมพ์เขียว (Blue Print) ที่พัฒนาต่อกันมาใช้ในการทำสำเนาแบบพิมพ์เขียว หรือกระดาษคาร์บอนพิมพ์ดีด

ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ เนื่องจากว่าสมัยนั้นการบันทึกข้อมูลต้องเขียนด้วยลายมือ และหากต้องการสำเนาก็ต้องคัดลอกซ้ำให้เหมือนเดิม ทำให้ต้องใช้เวลามากขึ้นไป เฮอร์เชล จึงพยายามคิดวิธีการทำสำเนาขึ้นนั่นเอง ในทางการถ่ายภาพ เป็นผู้แนะนำให้ทัลบอท ผู้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพทัลบอทไทป์ (หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า

กระบวเนกาทิฟโพสิทิฟ) ให้ใช้ “ไฮโป” ในการคงสภาพให้ภาพติดถาวร ในยุคแรกของการคงสภาพนั้นใช้น้ำเกลือเข้มข้นในการคงสภาพ นอกจากนั้นยังเป็นผู้บัญญัติศัพท์ที่ใช้ในทางการถ่ายภาพ คือคำว่า “photograph” “negative” และ “positive”

จอห์น เฮอร์เชล เป็นลูกชายของวิลเลียม เฮอร์เชล นักดาราศาสตร์ ซึ่งค้นพบดาวยูเรนัส

เมื่อ John Herschel เกิดในปี 1792 พ่อของเขามีอายุได้ 55 ปีและแม่มีอายุ 42 ปีพวกเขาอาศัยอยู่ด้วยกันพร้อมด้วย Coroline Herschel เป็นน้องสาวของ William Herschel Coroline Herschel เป็นคนที่สำคัญอีกคนหนึ่งที่มีส่วนช่วยอบรมเลี้ยงดู John Herschel William Herschel ไม่ได้มีความสามารถแต่ด้านดาราศาสตร์เท่านั้นแต่ทั้งเขาและน้องสาวยังมีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีอีกด้วย

เขาทั้งคู่ได้ใช้ความสามารถทางด้านดนตรีเพื่อหารายได้ ครั้งที่เพิ่งมาอาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษ John Herschel มักที่จะขึ้นไปบนหอดูดาวพร้อมด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาด 40 ฟุต เพื่อเตรียมที่จะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย John Herschel ได้เข้ามาเรียนที่ St.John’s College Cambridge ในปี 1809 เขาได้มีเพื่อนชื่อ Peacock และ Babbage ปี 1812 ทั้ง 3 ได้ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์วิจัยสังคมโดยมีจุดมุ่งหมายที่เผยแพร่หลักคณิตศาสตร์ตามวิธีของชาวยุโรป

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button