วันนี้ในอดีต

17 พฤษภาคม อดอล์ฟ แซกซ์ จดสิทธิบัตร แซกโซโฟน

17 พฤษภาคม 2389 อดอล์ฟ แซกซ์ (Antoine-Joseph “Adolphe” Sax) นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีชาวเบลเยียม จดสิทธิบัตร แซกโซโฟน (saxophone)

แซกโซโฟน

แซกโซโฟน (saxophone) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า “คลาริเนตทองเหลือง” (brass clarinet) โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวง

แบร์ลิออซได้กล่าวว่าเสียงของแซกโซโฟนคือการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง ซอเชลโล ปี่คอร์อังแกลส์และปี่คลาริเนท แซกโซโฟนจะเล่นกระซิบกระซาบ อ่อนหวานนุ่มนวล หรือจะแผดให้แสบโสตประสาทก็ทำได้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงอย่างมาก

“อ็องตวน-โฌแซ็ฟ ซักซ์” เกิดที่ประเทศฝรังเศส ( เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2199 บิดาชื่อ ชาร์ล-โฌแซ็ฟ ซักซ์ (Charles-Joseph Sax) เป็นนักดนตรีเป่าฟลุตและคลาริเนต นอกจากนี้แล้วบิดาของเขายังมีโรงงานประดิษฐ์เครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองอยู่ที่เมืองดินานท์อีกด้วย ประมาณปี ค.ศ. 1815 บิดาเขาได้ย้ายโรงงานไปอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ อาดอลฟ์ ซักซ์ได้เรียนรู้และได้รับการถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ จากบิดา ในขณะเดียวกัน ซักซ์ยังได้ศึกษาดนตรีที่สถาบันดนตรีแห่งกรุงบรัสเซลส์ โดยเรียนเป่าฟลุตและคลาริเนต

ในปี ค.ศ. 1830 อาดอลฟ์ ซักซ์ได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีของเขาเป็นครั้งแรก โดยมีฟลุตและคลาริเนตซึ่งทำด้วยงาช้าง แสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ ในปี ค.ศ. 1838 เขาได้ลิขสิทธิ์ในการประดิษฐ์เบสคลาริเนต ระหว่างปี ค.ศ. 1840-1841 เขาได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและนำออกแสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ใน ค.ศ. 1841 แต่คณะกรรมการไม่ได้มอบรางวัลให้แก่เขาโดยอ้างว่าอายุน้อย ในที่สุดเขาได้ย้ายไปตั้งร้านประดิษฐ์และซ่อมเครื่องดนตรีที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1842 ร้านของเขาได้รับความนิยมมากที่สุดในยุโรป โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองในสมัยนั้น

เขาเสียชีวิตในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 ที่กรุงปารีสเมื่ออายุ 79 ปี ในระยะต้นของต้นคริสต์ศตรรษที่ 20 บริษัทเฮนรี่ เซลเมอร์แห่งปารีสได้ซื้อร้านของอาดอลฟ์ ซักซ์ ต่อของเขามาดำเนินการแทน และได้ผลิตแซกโซโฟนยี่ห้อเซลเมอร์ ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1920

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button