วันนี้ในอดีต

21 พฤษภาคม ราจีฟ คานธี นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ถูกลอบสังหาร

21 พฤษภาคม 2534 ราจีฟ คานธี (Rajiv Gandhi) นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ถูกลอบสังหารในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งที่เมือง Sriperumbudur รัฐทมิฬ นาดู (Tamil Nadu) โดย เทนมุลี ราชารัตนัม (Thenmuli Rajaratnam)

ราจีฟ คานธี

ราชีพ รตนะ คานธี (Rajiv Ratna Gandhi) 20 สิงหาคม ค.ศ. 1944 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของอินเดีย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 1984 ถึง ค.ศ. 1989 โดยเป็นนายกรัฐมนตรีอินเดียที่อายุน้อยที่สุด ขณะเข้าดำรงตำแหน่ง (40 ปี)

ราชีพ คานธี เป็นบุตรชายคนโตของนางอินทิรา คานธี กับนายผิโรช คานธี จบการศึกษาจากทรินิตีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แล้วประกอบอาชีพเป็นนักบินพาณิชย์ของสายการบินแอร์อินเดีย เริ่มเข้ามาทำงานการเมืองตั้งแต่ ค.ศ. 1980 ภายหลังการเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกของนายสัญชัย คานธี น้องชาย ที่เป็นทายาททางการเมืองของมารดา

หลังจากนางอินทิรา คานธี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1984 จากการลอบสังหารโดยองครักษ์ประจำตัว ราชีพได้รับการเสนอชื่อจากพรรคคองเกรสของอินเดีย ที่เป็นพรรคเสียงข้างมากให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ และได้นำพรรคชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปีนั้น

ในการเลือกตั้งทั่วไปของอินเดียครั้งต่อมาในปี ค.ศ. 1989 พรรคคองเกรสได้พ่ายแพ้การเลือกตั้ง นายราชิฟจึงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1989 แต่ยังคงดำรงตำแหน่งประธานพรรคคองเกรส

ราชีพ คานธี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซ่อม ใกล้เมืองเจนไน โดยมือระเบิดพลีชีพที่เป็นสตรีชาวศรีลังกา สมาชิกของกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลม ที่ไม่พอใจนโยบายของคานธี ที่ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพของอินเดีย เข้าไกล่เกลี่ยสงครามกลางเมืองในศรีลังกา

ราชีพ คานธี สมรสกับนางโสนิยา คานธี (ชื่อเดิม เอ็ดวิเจ อันโตเนีย อัลบินา มาอิโน) สุภาพสตรีชาวอิตาลี ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมสถาบันจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทั้งสองมีบุตรชายชื่อ ราหุล คานธี และบุตรสาวชื่อปรียังกา คานธี หลังการอสัญกรรมของนายคานธี นางโสนิยา คานธีได้ดำรงตำแหน่งประธานพรรคคองเกรสตั้งแต่ ค.ศ. 1998 และนำพรรคชนะการเลือกตั้ง แต่นางได้ปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button