วันนี้ในอดีต

3 มิถุนายน โยฮันน์ สเตราส์ จูเนียร์ ราชาเพลงวอลซ์ เสียชีวิต

3 มิถุนายน 2442 โยฮันน์ สเตราส์ จูเนียร์ หรือ โยฮันน์ สเตราส์ ที่ 2 (Johann Strauss Junior) คีตกวีชาวออสเตรียที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งเพลงวอลซ์” (The Waltz King) เสียชีวิต

โยฮันน์ สเตราส์ จูเนียร์

โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง (Johann Strauß (Sohn)) โยฮันน์ ชเตราสส์ บุตร หรือ โยฮันน์ ชเตราสส์ จูเนียร์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1825 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1899 (73 ปี)) เป็นคีตกวีชาวออสเตรีย ซึ่งบทประพันธ์เพลงวอลซ์ของเขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เดอะ บลู ดานูบ

โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง เป็นบุตรชายของโยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง ซึ่งเป็นคีตกวีเช่นกัน น้องชายของเขา 2 คน คือ โยเซฟ ชเตราสส์ กับ เอด๊วด ชเตราสส์ ก็เป็นนักประพันธ์เพลง แต่โยฮันน์ที่สองเป็นคนที่โด่งดังที่สุดในตระกูล เขาเป็นที่รู้จักในนามของ ราชาเพลงวอลซ์ ในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่ และเป็นผู้สร้างให้เกิดกระแสความนิยมเพลงวอลซ์ในกรุงเวียนนา ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชเตราสส์ได้กลายเป็น

ราชาเพลงวอลซ์ เนื่องจากได้ปฏิวัติรูปแบบวอลซ์ด้วยการยกระดับเพลงระบำชาวนาอันต่ำต้อย ขึ้นมาเป็นเพลงเพื่อให้ความบันเทิงแก่บุคคลชั้นสูงในราชสำนักฮับส์บวร์กได้ เขาไม่เพียงแค่ปฏิวัติเพลงวอลซ์เท่านั้น แต่งานของเขายังโดดเด่นกว่าคีตกวีในยุคเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น โยเซฟ แลนเนอร์ และ โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง รวมทั้งยังได้สุขสำราญกับชื่อเสียงที่มากกว่าอีกด้วย เพลงโพลก้า กับเพลงมาร์ชของเขายังเป็นที่รู้จักกันดี รวมถึงจุลอุปรากร ชื่อว่า Die Fledermaus.

ชเตราสส์เกิดที่กรุงเวียนนา บิดาของเขาไม่ต้องการให้เขาประกอบอาชีพนักดนตรีแต่อยากให้เป็นนายธนาคารมากกว่า อย่างไรก็ดี เขาได้หัดเล่นไวโอลินอย่างลับ ๆ ตั้งแต่วัยเด็กกับฟรานซ์ อามอน นักไวโอลินในวงดนตรีของพ่อ อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อบิดาทราบว่าเขาฝ่าฝืนคำสั่ง

โยฮันน์ที่สองเล่าถึงเหตุการณ์วันนั้นว่า เป็น “ฉากที่มีแต่ความรุนแรงและไม่น่าดูชม” และ “บิดาของเขาไม่ต้องการรับรู้ใด ๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับแผนการทางดนตรีของเขา” มิใช่ว่าชเตราสส์ผู้พ่อไม่ต้องการให้เกิดนักดนตรีคู่แข่ง แต่เขาต้องการให้บุตรของตนหลีกหนีจากชีวิตนักดนตรีเสียมากกว่า จนกระทั่งเมื่อบิดาทิ้งครอบครัวไปอยู่กับภรรยาน้อย เอมิล แทรมบุช จึงเปิดโอกาสให้โยฮันน์ที่สองสามารถเริ่มอาชีพนักประพันธ์เพลงอย่างจริงจังได้ เมื่อเขามีอายุได้ 17 ปี

โยฮันน์ จูเนียร์ได้ศึกษา counterpoint และ เสียงประสาน จากนักทฤษฎีดนตรี ศาสตราจารย์โจอาคิม ฮอฟฟ์มันน์ ผู้เป็นเจ้าของโรงเรียนดนตรีเอกชน ความสามารถของเขาเป็นที่ประจักษ์แก่คีตกวี โยเซฟ เดร็คชเลอร์ ซึ่งเป็นครูสอนแบบฝึกหัดด้านเสียงประสานให้ ครูสอนไวโอลินอีกคนชื่ออันโตน โคลมันน์

เป็นผู้ฝึกสอนบัลเลต์ให้กับอุปรากรแห่งราชสำนักเวียนนา ก็ได้เขียนจดหมายแนะนำตัวให้เขาเป็นอย่างดี ด้วยจดหมายแนะนำที่ยอดเยี่ยมหลายฉบับ เขาได้เข้าพบผู้มีอำนาจในกรุงเวียนนาเพื่อขอใบอนุญาตเปิดการแสดง และตั้งวงดุริยางค์ของตนเองขึ้น โดยได้ว่าจ้างสมาชิกจากวงดนตรีต่าง ๆ ที่เล่นในผับ Zur Stadt Belgrad (แหล่งของนักดนตรีที่หางานทำ) มาร่วมวง อิทธิพลของโยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง ทำให้สถานที่ต่าง ๆ ไม่กล้าว่าจ้างชเตราสส์บุตร

ด้วยเกรงว่าจะทำให้ชเตราสส์ผู้พ่อโกรธ แต่ชเตราสส์บุตรสามารถโน้มน้าวผู้บริหารของคาสิโนดอมมาเยอร์ ผู้จัดการสถาบันไฮท์ซิง ในกรุงเวียนนาเป็นผลสำเร็จ ทำให้เขาได้เริ่มเปิดการแสดง สื่อมวลชนต่างโหมเสนอข่าว “ชเตราสส์ ปะทะ ชเตราสส์” หรือการเผชิญหน้าระหว่างบุตรกับบิดา ซึ่งผู้เป็นพ่อเองก็ไม่ยอมไปเปิดการแสดงที่คาสิโนของนายดอมเมอเยอร์อีกตลอดชีวิต ด้วยความโกรธที่บุตรฝ่าฝืนความปรารถนาของเขา ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจเนื่องจากสถาบันไฮท์ซิงเป็นที่ที่เขาประสบความสำเร็จในการแสดงหลายครั้งด้วยกัน

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button