วันนี้ในอดีต

4 มิถุนายน เกิดเหตุการณ์ ประท้วงเทียนอันเหมิน

4 มิถุนายน 2532 เกิดเหตุการณ์ ประท้วงเทียนอันเหมิน (Tiananmen Square Massacre) กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

ประท้วงเทียนอันเหมิน

การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในจีนแผ่นดินใหญ่ว่า เหตุการณ์ 4 มิถุนายน (六四事件) เป็นการเดินขบวนที่มีนักศึกษาเป็นหัวหน้า จัดในจัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่งระหว่างปี 2532 ขบวนการประชาชนระดับชาติได้รับบันดาลใจจากผู้ประท้วงกรุงปักกิ่งบ้างเรียก ขบวนการประชาธิปไตยปี 89 (八九民运)

การประท้วงเริ่มต้นในวันที่ 15 เมษายนและถูกปราบปรามด้วยกำลังในวันที่ 4 มิถุนายนเมื่อรัฐบาลประกาศกฎอัยการศกและส่งกองทัพเข้ายึดครองส่วนกลางของกรุงปักกิ่ง มีเหตุการณ์ที่ทหารถือปืนเล็กยาวจู่โจมและรถถังยิงใส่ผู้ประท้วงและผู้พยายามขัดขวางการรุกของกองทัพเข้าสู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งเรียก การสังหารหมู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน มีประมาณยอดผู้เสียชีวิตตั้งแต่หลายร้อยถึงหลายพันคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายพันคน

การประท้วงดัวกล่าวเกิดจากผู้นำคอมมิวนิสต์สายปฏิรูป หู ย่าวปัง เสียชีวิตในเดือนเมษายน 2532 ท่ามกลางฉากหลังที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วในประเทศจีนหลังยุคเหมา ผู้ประท้วงสะท้อนความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคตของประเทศในความสำนึกของประชาชนและในหมู่อภิชนทางการเมือง การปฏิรูปในคริสต์ทศวรรษ 1980 นำไปสู่เศรษฐกิจแบบตลาดเพิ่งเริ่มใหม่ที่เอื้อประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม

แต่ทำให้คนที่เหลือเอาใจออกห่างอย่างรุนแรง และระบบพรรคการเมืองเดียวยังเผชิญกับการท้าทายความชอบธรรม ความเดือดร้อนทั่วไปในเวลานั้นได้แก่เงินเฟ้อ การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเตรียมพร้อมบัณฑิตสำหรับเศรษฐกิจใหม่ที่มีจำกัด และการจำกัดการมีส่วนร่วมทางการเมือง นักศึกษายังเรียกร้องให้รัฐบาลมีภาระความรับผิดเพิ่มขึ้น กระบวนการทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ และเสรีภาพในการพูด แม้นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีการจัดตั้งและมีเป้าหมายหลากหลาย ในช่วงที่การประท้วงสูงสุด มีประชาชนประมาณ 1 ล้านคนชุมนุมในจัตุรัส

ขณะที่การประท้วงพัฒนา ทางการตอบโต้ทั้งด้วยยุทธวิธีประนอมและสายแข็ง ซึ่งเปิดเผยความแตกแยกร้าวลึกในหมู่หัวหน้าพรรค เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม การประท้วงอดอาหารที่นักศึกษานำทำให้เกิดการสนับสนุนการเดินขบวนท่วประเทศ และการประท้วงแพร่ไปยังนคร 400 แห่ง สุดท้ายผู้นำสูงสุดของจีน เติ้ง เสี่ยวผิง และผู้อาวุโสในพรรคคอมมิวนิสต์คนอื่นเชื่อว่าการประท้วงเป็นภัยคุกคามทางการเมืองและตัดสินใจใช้กำลัง สภารัฐประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 20 พฤษภาคมและระดมทหารประมาณ 300,000 นายมายังกรุงปักกิ่ง ทหารบุกเข้าสู่ส่วนกลางของกรุงปักกิ่งผ่านถนนสำคัญของนครในเช้ามืดวันที่ 4 มิถุนายน และฆ่าผู้เดินขบวนและคนมุงไปพร้อมกัน

ชุมชนนานาชาติ องค์การสิทธิมนุษยชนและนักวิเคราะห์การเมืองประณามรัฐบาลจีนจากการสังหารหมู่ ประเทศตะวันตกกำหนดการคว่ำบาตรอาวุธต่อประเทศจีน รัฐบาจีนจับกุมผู้ประท้วงและผู้สนับสนุนอย่างกว้างขวาง ปราบปรามการประท้วงอื่นทั่วประเทศ ควบคุมการรายงานเหตุการณ์ของสือในประเทศอย่างเข้มงวด เสริมกำลังตำรวจแะกำลังความมั่นคงภายใน และลดระดับหรือขับไล่เจ้าหน้าที่ที่ดูฝักใฝ่การประท้วง กล่าวให้กว้างขึ้น การปราบปรามชะลอนโยบายการเปิดเสรีในคริสต์ทศรรษ 1980 การประท้วงดังกล่าวถือเป็นเหตุการณ์พลิกผัน และกำหนดข้อจำกัดการแสดงออกทางการเมืองในประทศจีนจวบจนปัจจุบัน ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สัมพันธ์กับการตั้งคำถามถึงความชอบธรรมขอการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวาง แลเป็นหัวข้อที่มีการตรวจพิจารณามากที่สุดในประเทศจีน

อ่านต่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณา คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ Analytics

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า