วันนี้ในอดีต

18 มิถุนายน เรือรบหลวงเสือคำรณสินธุ์ ประจำการในกองทัพเรือ

18 มิถุนายน 2455 เรือรบหลวงเสือคำรณสินธุ์ (H.T.M.S. Sua Khamronsin) ขึ้นระวางประจำการในกองทัพเรือในสมัย รัชกาลที่ 6 เป็นเรือรบระดับเรือพิฆาต ที่ต่อจากอู่กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น

เรือรบหลวงเสือคำรณสินธุ์

สืบเนื่องจากโครงการจัดหาเรือรบ ซึ่งกรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์(พระอิสริยยศขณะนั้น) เสนาธิการทหารเรือทรงทำขึ้นถวาย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต(พระอิสริยยศขณะนั้น) ผู้บัญชาการทหารเรือ ในปี 2448 แต่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ ไม่อาจสั่งสร้างเรือทั้งหมดที่ต้องการได้ การจัดหาในครั้งแรกได้แต่เพียงเรือพิฆาตตอร์ปิโด “เสือทยานชล” 1 ลำ กับ เรือตอร์ปิโด 1,2,3, รวม 4 ลำ เท่านั้น 5 ปีต่อมา ผู้แทนของบริษัทอู่คาวาซากิ ได้เดินทางมากรุงเทพเพื่อเจรจากับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต หลังจากนั้นได้ทรงต่อรองกับกรมหมื่นจันทบุรีนฤนาท เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีพระบรมราชานุญาตให้ “จ่ายเงินค่าสรรพยุทธ” เพื่อสั่งสร้าง เรือพิฆาต ตอร์ปิโด อีก 1 ลำ หลังการรับมอบแล้วได้พระราชทาน ชื่อว่า “เสือคำรณสินธ์” เพื่อให้คู่กับเรือ “เสือทยานชล” ที่ประจำการอยู่แล้ว

คุณลักษณะของเรือ

  • ขึ้นระวางประจำการ 18 มิ.ย. 2455
  • ปลดประจำการ 17 ม.ค. 2480
  • ผู้สร้าง อู่ กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
  • ความยาวตลอดลำ 75.66 เมตร
  • ความกว้าง 7.15 เมตร
  • กินน้ำลึก 2.00 เมตร
  • ความเร็วมัธยัสถ์ 11 นอต
  • ความเร็วสูงสุด 29 นอต
  • ระวางขับน้ำเต็มที่ 375 ตัน
  • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 8520 ไมล์ ที่ 29 นอต
  • กำลังพลประจำเรือ 73 นาย
  • ปืนกล 57 มม. 5 กระบอก
  • ปืนกล 36 มม. 1 กระบอก
  • ท่อตอร์ปิโด 45 ซม. 2 ท่อยิง
  • ติดปืนกลเพิ่มภายหลัง 2 กระบอก
  • กังหันไอน้ำ(เคอร์ติส) 2 เครื่อง 6000 แรงม้า
  • ใบจักร 2 เพลา

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button