วันนี้ในอดีต

19 มิถุนายน มีการแข่งขันเบสบอลครั้งแรกภายใต้กฎสมัยใหม่

19 มิถุนายน 2389 เบสบอล (Baseball) ถูกจัดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้กฎสมัยใหม่ ที่เมืองโฮโบเกน รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา

เบสบอล

เบสบอลเป็นกีฬาที่ถือกำเนิดในช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 19 โดยพัฒนามาจากกีฬาเก่าแก่ของอังกฤษที่เรียกว่า “ราวน์เดอร์ส” (Rounders) ผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ๆ ละ 15 คนลงสนามข้างละ 9 คน สนามส่วนใน (Infield)

มีลักษณะเป็นรูปพัดหรือรูปเพชร กว้างด้านละ 90 ฟุต (27.4 เมตร) ผู้ตีลูกหรือ “แบทเตอร์” (batter) จะยืนอยู่ที่มุมหนึ่งของสนามส่วนใน ที่เรียกว่า “โฮมเพลท” (home plate) ข้างหลังแบทเตอร์จะมีผู้รับลูกหรือ “แคทเชอร์” (catcher)

มุมที่เหลืออีก 3 มุมเรียกว่า “เบส” (base) ตรงกลางสนามจะมีเนินเล็ก ๆ สำหรับตำแหน่งผู้ขว้างลูกหรือ “พิทเชอร์” (pitcher) เมื่อเริ่มการแข่งขันฝ่ายรุกจะเข้าตีทีละคนตามลำดับ ถ้าพิชเชอร์ขว้างลูกครบ 3 ครั้งโดยแบทเตอร์ไม่สามารถตีได้ จะขานว่า “เอาท์” (out) และต้องออกจากการตีในรอบนั้น เมื่อแบทเตอร์ตีลูกได้ จะต้องรีบวิ่งไปตามเบสต่าง ๆ แล้วกลับมายังโฮมเพลทให้ได้ จึงถือว่าได้ “โฮมรัน” (home run)

ถ้าผู้ตีสามารถตีลูกออกไปได้ แต่ฝ่ายรับ รับลูกได้ก่อนที่จะตกถึงพื้น ผู้ตีจะถูกขานเอาท์ ถ้าตีไปแล้วฝ่ายรับ รับไม่ได้ผู้ตีจะวิ่งไปยังเบสที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ แต่ถ้าฝ่ายรับเก็บลูกได้หลังจากกระทบพื้นแล้ว และขว้างไปยังเบสที่ 1 ได้ก่อนที่แบทเตอร์จะวิ่งไปถึง ผู้แบทเตอร์จะถูกขานเอาท์ หรือถ้าฝ่ายรับ เก็บลูกได้และนำไปแตะตัวฝ่ายรุกที่กำลังวิ่งอยู่

ฝ่ายรุกก็จะถูกขานเอาท์เช่นกัน เมื่อฝ่ายรุกถูกขานเอาท์ครบ 3 ครั้ง หรือเปลี่ยนแบทเตอร์ครบ 3 คนแล้วจึงถือว่าจบหรือ “อินนิง” (inning) คือจะผลัดให้ฝ่ายรุกมาเป็นฝ่ายรับ และฝ่ายรับไปเป็นฝ่ายรุกบ้าง โดยทั่วไปจะแข่งกันจนครบ 7 อินนิ่ง แล้วฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าก็จะเป็นผู้ชนะ

การนับคะแนน ถ้าฝ่ายรุกตีลูกโดยไม่มีใครรับได้ และสามารถวิ่งจนครบรอบสนามฝ่ายรุกก็จะได้ 1 “รัน” (run) หรือ 1 คะแนน แต่ถ้าฝ่ายรุกไม่สามารถวิ่งได้ครบรอบ เขาสามารถจะหยุดตามเบสต่าง ๆ รอให้ฝ่ายรุกคนต่อไปเข้ามาตีแล้วจึงจะวิ่งเพื่อทำคะแนน ปัจจุบัน เบสบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย จีน เกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button