วันนี้ในอดีต

21 มิถุนายน วันเกิด ฌอง ปอล ซาร์ตร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส

21 มิถุนายน 2483 วันเกิด ฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean Paul Sartre) นักปรัชญาสำนัก อัตถิภาวินิยม (Existentialism) ชาวฝรั่งเศส

ฌอง ปอล ซาร์ตร์

ฌ็อง-ปอล ซาทร์ (Jean-Paul Sartre) 21 มิถุนายน 2448 กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส – 15 เมษายน 2523 ที่กรุงปารีส) เป็นนักเขียนนวนิยาย, นักบทละคร, นักปรัชญา และผู้มีบทบาทสำคัญในแนวคิดอัตถิภาวนิยมหรือทฤษฎีที่ว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตน (Existentialism) เป็นนักปรัชญาผู้ประกาศเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อปี 2507 (ค.ศ. 1964) แต่ไม่ยอมรับรางวัลดังกล่าว

ฌ็อง-ปอล ซาทร์ เข้ารับการศึกษาที่ เอโกล นอร์มาล ซูเปรีเยอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1924 – ค.ศ. 1929 เมื่อเรียนจบ ก็ได้เป็นอาจารย์สาขาปรัชญาที่ เลอ แอร์ฟ เมื่อปี ค.ศ. 1931 ซาทร์สูญเสียบิดาตั้งแต่วัยเยาว์ และเติบโตในบ้านของตา ชื่อ คาร์ล ชไวทเซอร์ (ผู้เป็นลุงของอัลเบิร์ต ชไวทเซอร์) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์

ระหว่างปี 1931 – 1945 ซาทร์ได้สอนหนังสือหลายที่ รวมทั้งในอังกฤษ และสุดท้ายก็กลับมาที่ปารีส มีสองครั้งที่อาชีพของเขาถูกขัดขวาง ครั้งหนึ่ง เมื่อต้องศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ในกรุงเบอร์ลิน และครั้งที่สองเมื่อต้องเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1939 ครั้นปีต่อมาถูกจับเป็นเชลย และอีกปีถัดมาก็ได้รับการปลดปล่อย

ช่วงเวลาที่สอนหนังสือนั้น ซาทร์ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง La Nausee, 1938 เป็นครั้งแรกที่ทำให้เขามีชื่อเสียง นวนิยายเรื่องนี้เขียนในรูปบันทึกประจำวัน เล่าถึงความรู้สึกชิงชัง เมื่อเผชิญหน้ากับโลกของทางวัตถุ ไม่เพียงแต่โลกของคนอื่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการรับรู้ถึงตัวของเขาด้วย

ซาทร์ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญาเยอรมัน ชื่อเอดมุนด์ ฮุสเซล และนำมาใช้ด้วยทักษะอันเลิศในผลงานพิมพ์ 3 เล่ม คือ L’Imagination (1936; จินตนาการ), Esquisse d’une théorie des émotions (1939; ร่างทฤษฎีแห่งอารมณ์) และ L’Imaginaire : Psychologie phénoménologique de l’imagination (1940; จิตวิทยาแห่งจินตนาการ) แต่ทว่าใน L’Être et le néant (1943; ความมีอยู่ และความไม่มีอะไร)ซาทร์กำหนดฐานะของจิตสำนึกมนุษย์ หรือความไม่มีอะไร (néant) ไว้ตรงข้ามความมีอยู่ หรือความเป็นสิ่งของ (être)

ซาทร์เริ่มเขียนนวนิยายชุด 4 เล่ม เมื่อปี 1945 ชื่อ Les Chemins de la liberté อีก 3 เล่ม คือ L’Âge de raison (1945; ยุคแห่งเหตุผล), Le Sursis (1945; ) และ La Mort dans l’âme (1949;เหล็กในวิญญาณ) หลังพิมพ์ครั้งที่ 3 ซาทร์ก็เปลี่ยนใจหันกลับไปสู่บทละครอีก

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซาทร์เขียนโจมตีความยะโสของมนุษย์ และเสรีภาพของปัจเจกชน ซาทร์ได้เปลี่ยนความสดใสไปสู่แนวคิดของความรับผิดชอบของสังคมหลายปีแล้ว ที่เขาแสดงความใสใจคนรวย และคนที่ไม่มีมรดกทุกชนิด ขณะเป็นครูเขาปฏิเสธไม่ยอมผูกเน็คไท ราวกับเขาจะเช็ดชนชั้นทางสังคมให้สลายไปด้วยเน็คไท และเข้าใกล้พวกคนใช้แรงงานมากขึ้น ในงานเรื่อง L’Existentialisme est un humanisme (1946;) ตอนนี้เสรีภาพแสดงนัยของความรับผิดชอบทางสังคม ในนวนิยายและบทละครเรื่องต่างๆ ของเขา

ซาทร์ได้พยายามแสดงความคิดเห็นในสื่อของเขาระหว่างช่วงสงคราม และบทละครใหม่ ก็ตามติดมาเรื่อยๆ ได้แก่ Les Mouches (ออกแสดง 1943), Huis- clos (1944) Les Mains Sales (1948) Le Diable et le bon dieu (1951) และ Les Séquestres d’Altona (1959)บทละครทั้งหมด จะเน้นที่พฤติกรรมก้าวร้าวดั้งเดิมของมนุษย์ต่อมนุษย์ ซึ่งดูเหมือนมีแต่การมองโลกในแง่ร้าย แต่ตามคำสารภาพของซาตร์เอง จุดมุ่งหมายนั้นไม่มีเรื่องศีลธรรมของการใช้ทาสเลย

กิจกรรมทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซาทร์มีความสนใจอย่างกระตือรือร้นต่อชนวนการทางการเมืองในฝรั่งเศส และโน้มเอียงไปทางฝ่ายซ้าย ก็ประกาศชัดมากขึ้น เขาเป็นผู้นิยมสหภาพโซเวียตอย่างยิ่ง แม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ก็ตาม

ในปี 1954 ซาตร์เดินทางไปโซเวียต ประเภทแถบสแกนดิเนเวีย แอฟริกา สหรัฐอเมริกา และคิวบา เมื่อรัสเซียนำรถถังบุกกรุงบูดาเปส ในปี 1956 ความหวังของซาทร์ที่มีต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ก็พังครืนอย่างน่าเศร้า เขาเขียนบทความขนาดยาว ใน Les Temps Modernes เรื่อง Le Fantôme de Staline ซึ่งตำหนิการแทรกแซงของรัสเซีย และการยอมรับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส

ซาทร์ได้ร่วมมือกับซีมอน เดอ โบวัวร์ (Simone de Beauvoir) เขียนเรื่อง Mémoires d’une jeune fille rangée,1958 และเรื่อง La Force de l’âge, 1960-2 โดยได้เล่าถึงชีวิตของซาทร์ จากสมัยนักเรียน จนถึงกลางศตวรรษที่ 50 ใน École Normale Supérieure ในภายหลังเขาได้พบผู้คนมากมาย ที่มีจุดมุ่งหมายจะเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง ในจำนวนนี้ได้แก่ แรมง อารง (Raymond Aron) มอริส แมร์โล-ปงตี (Maurice Merleau-Ponty), ซีมอน แวย์ (Simone Weil), แอมานุแอล มูนีเย (Emmanuel Mounier), ฌ็อง อีปอลิต (Jean Hippolyte) และโกลด เลวี-สโทรส (Claude Levi-Strauss)

ผ่านไปหลายปี ทัศนคติเชิงวิจารณ์นี้เปิดทางสู่รูปแบบของสังคมนิยมแบบซาทร์ ซึ่งจะพบการแสดงออกในผลงานใหญ่ชิ้นใหม่ ชื่อ Critique de la raison dialectique (1960) ซาทร์ได้ดำเนินการตรวจสอบเชิงวิจารณ์ถึงวิภาษวิธีแบบมากซ์ และค้นพบว่า ไม่มีความยั่งยืนในรูปแบบที่โซเวียตใช้

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button