วันนี้ในอดีต

4 กรกฎาคม อเมริกาส่งหัวกระสวยเข้าปะทะกับดาวหาง

4 กรกฎาคม 2548 “ดีพ อิมแพค” (Deep Impact) ยานอวกาศขององค์การนาซาสหรัฐอเมริกา ส่งหัวกระสวย “อิมแพคเตอร์” (Impactor) เข้าปะทะกับ “ดาวหาง เทมเปล-1” (Comet Tempel-1)

หัวกระสวย อิมแพคเตอร์

ยานอวกาศขององค์การนาซาสหรัฐอเมริกา ส่งหัวกระสวย “อิมแพคเตอร์” (Impactor) เข้าปะทะกับ “ดาวหาง เทมเปล-1” (Comet Tempel-1) เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้ “ปฏิบัติการดีพ อิมแพค” (Deep Impact Mission)

เป็นโครงการอวกาศของมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ (University of Maryland) ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนจากนาซา ในการสร้างยานอวกาศขึ้นไปสำรวจดาวหางเทมเปล 1 ด้วยการส่งกระสวยพุ่งเข้าชน ยานอวกาศดีพอิมแพคถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด เดลตา 2 (Delta II) เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2548 มุ่งสู่ดาวหางเทมเปล 1

ซึ่งมีวงโคจรรูปวงรีอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ยานอวกาศใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 เดือน กำหนดถึงดาวหางเทมเปล-1 ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2548 หลังจากนั้นหนึ่งวัน ยานจะทำการแยกตัวเป็น 2 ลำคือ “อิมแพคเตอร์” ซึ่งมีน้ำหนัก 370 กิโลกรัม พุ่งเข้าชนนิวเคลียสของเทมเปล-1 ด้วยความเร็ว 10.2 กิโลเมตร / วินาที

ทำให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่าระเบิดทีเอ็นที (TNT) จำนวน 4.8 ตัน ทำให้เกิดหลุมขนาดประมาณใหญ่ 10 – 200 เมตร ลึกเท่าตึก 2 – 14 ชั้น ในขณะที่ยาน “ไฟล์บาย” (Fly By) จะบินทิ้งระยะห่างประมาณ 500 เมตร และใช้กล้องโทรทรรศน์ติดตามผลของการกระแทก

โดยใช้เครื่องสเปคโตรมิเตอร์วิเคราะห์ฝุ่นซึ่งเกิดจากการกระแทก และรายงานกลับมายังโลก ส่วนดาวหางเทมเปล-1 นั้นค้นพบเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2410 โดยนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ วิลเฮล์ม เทมเปล (Ernst Wilhelm Leberecht Tempel) เป็นดาวหางขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 14 กิโลเมตร

วงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวเคราะห์ชั้นใน ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 5.5 ปี นักวิทยาศาสตร์คาดว่า การพุ่งชนครั้งนี้จะทำให้เกิดวัตถุและก๊าซฟุ้งกระจาย ออกมาจากโครงสร้างภายใน ซึ่งช่วยในการไขปริศนาโบราณของการกำเนิดระบบสุริยะเมื่อ 4,600 ล้านปีก่อน

ปฏิบัติการครั้งนี้มีผู้คนเฝ้าคอยรับชมทั่วโลก แม้จะเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของมนุษย์ แต่นักวิชาการอีกหลายฝ่ายกลับมองว่า ปฏิบัติการดีพ อิมเพ็คครั้งนี้เป็นเพียงการแสดงแสนยานุภาพของ “พี่เบิ้มมะกัน” ที่พยายามจะก้าวจากความเป็น “จ้าวโลก” ไปเป็น “จ้าวจักรวาล” ในวันชาติของตัวเองเท่านั้น อีกทั้งดวงดาวมิใช่เป็นสมบัติของชาติใดชาติหนึ่ง หากแต่เป็นทรัพย์สมบัติของจักรวาลนี้ เช่นเดียวกับมนุษย์ แล้วฝุ่นผงสกปรกอย่างเราจะมีสิทธิ์อะไรที่จะกระทำต่อดาวดวงอื่น ดาวโลกดวงนี้ยังไม่เพียงพออีกหรือ ?

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button