วันนี้ในอดีต

20 กรกฎาคม บรูซ ลี เสียชีวิต ไอ้หนุ่มซินตึ๊งแห่งแดนมังกร

20 กรกฎาคม 2516 บรูซ ลี (Bruce Lee) ไอ้หนุ่มซินตึ๊งแห่งแดนมังกร ปรมาจารย์ศิลปะการต่อสู้แห่งโลกเซลลูลอยด์ เสียชีวิตในวัยเพียง 32 ปี

บรูซ ลี

บรูซ ลี (Bruce Lee) หรือ หลี่ เสี่ยวหลง 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 — 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1973 เกิดที่ซานฟรานซิสโก เป็นดาราจีนที่โด่งดังในระดับฮอลลีวูด ด้วยความสามารถด้านศิลปะการต่อสู้แบบจีทคุนโด้ เขาสามารถพูดอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และยังเป็นแชมเปี้ยนเต้นชะชะช่า ในปี /- นิตยสารเอ็มไพร์ (อังกฤษ) จัดเขาเป็นหนึ่งใน 100 ดารานำตลอดกาล

เขาเริ่มแสดงภาพยนตร์ตั้งแต่ยังเป็นทารกหนึ่งขวบ จากนั้นได้เป็นดาราในหนังฮ่องกงมาตั้งแต่เด็กๆเรื่อยๆมา และเดินทางออกจากฮ่องกงไปอเมริกาเมื่อปี 1958 โดยไม่มีเงินแต่ใช้การสอนเต้นรำแลกทุนการเดินทาง เขาไปเรียนรู้กังฟูกับอาจารย์จีนหลายคนเพิ่มเติม จนกลายเป็นหนุ่มยอดกังฟู และยังเรียนคาราเต้เพิ่มเติม ในสาขา Kenpo Karate จากอาจารย์ญี่ปุ่นในกลางทศวรรษที่ 60

ภาพยนตร์เรื่องแรกของบรูซ ลี ที่ได้ฉายโรงในอเมริกาคือ Xi lu xiang หรือ My Son, Ah Chung (1950) ตอนที่เขายังอายุสิบขวบ จากนั้นลีแสดงภาพยนตร์มาตลอด เขาได้เข้าร่วมเป็นดารารับเชิญในทีวีมาตั้งแต่ปี 1966 รวมถึงเรื่อง The Green Hornet หรือ เพชฌฆาตหน้ากากแตน ที่เคยฉายในเมืองไทยสมัยก่อน แต่ภาพยนตร์ที่โด่งดังในอเมริกาคือ Tang shan da xiong หรือ The big boss ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง (หนังปี 1971 ฉายในอเมริกาปี 1972)

ลียังมีอาชีพสอนกังฟูค่าตัวแพงถึง 275 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง และเขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้จีนหลายเล่ม ในปี 1964 เขากับคู่หูเปิดรับนักเรียนกังฟูที่ไม่ใช่เอเชียอย่างเป็นทางการในเมืองโอ๊กแลนด์ หลังจากสองปีก่อนเขาเคยเทรนคนผิวขาวคนแรกเล่นกังฟู และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยในปี 1964 มีสตูดิโอสอนกังฟูไม่จำกัดสีผิวเป็นแห่งแรกในโลกที่ไชน่าทาวน์ ในลอสแอนเจลิส

ในปี 1973 บรูซ ลี เสียชีวิตด้วยโรคลมชัก

ณ โรงพยาบาลกู๊ดโฮพ (Good Hope) ประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นสาเหตุให้ชักกะทันหันและมีอาการสมองบวมน้ำแทรกซ้อนตามมาจนทำให้เขาถึงแก่ความตาย ขณะอายุเพียง 32 ปี มีบุตร 2 คน คือ แบรนดอน ลี และ แชนนอน ลี

ถึงบรูซ ลีจะเสียชีวิตแล้วก็ตาม แต่ก็ถือกันว่าลีคิดค้นศิลปะการป้องกันตัวที่มีชื่อว่า “จีทคุนโด้” ซึ่งเป็นหนึ่งในศิลปะการป้องกันตัวที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button