วันนี้ในอดีต

2 สิงหาคม ทาวเวอร์ซับเวย์ รถไฟใต้ดินสายแรกของโลก

2 สิงหาคม 2413 ทาวเวอร์ซับเวย์ (Tower Subway) รถไฟใต้ดิน (Underground Tube Railway) สายแรกของโลก เปิดให้บริการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ทาวเวอร์ซับเวย์

ประเทศอังกฤษริเริ่มเปิดทำการรถไฟใต้ดินสายแรกของโลก ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หรือที่ใครๆ รู้จักกันในชื่อ ทาวเวอร์ซับเวย์ (Tower Subway) มีลักษณะเป็นอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเทมส์ โดยมีเส้นทางสองสถานีคือ ทาวเวอร์ฮิลล์ และไวน์ เลน

ทาวเวอร์ซับเวย์ สายนี้มีความยาว 410 เมตร กว้าง 2.1 เมตร ในช่วงแรกใช้เครื่องจักรไอน้ำเป็นตัวลากรถเคเบิลคาร์ จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนเป็นเครื่องจักรพลังงานเชื้อเพลิงแทน

โดยมีลักษณะเป็นอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเทมส์ (Thames) มีสองสถานีคือ ทาวเวอร์ ฮิลล์ (Tower hill) และ ไวน์ เลน (vine lane) รถไฟใต้ดินสายนี้ได้ชื่อมาจาก “หอคอยแห่งลอนดอน” (Tower of London) อุโมงค์ออกแบบและก่อสร้างโดย เจมส์ เกรทีด (James Henry Greathead)

ส่วนเปลือกอุโมงค์ออกแบบโดย ปีเตอร์ บาร์โลว์ (Peter William Barlow) และมีลูกชายของบาร์โลว์คือ ปีเตอร์ บาร์โลว์ จูเนียร์ (Peter W. Barlow Jr.) เป็นวิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ 2412 โดยขุดอุโมงค์รถไฟด้วยเครื่องจักรไฮดรอลิกลึกประมาณ 18 เมตรใต้ผืนดิน ในระยะแรกอุโมงค์ยาวเพียง 410 เมตร กว้าง 2.1 เมตร รางกว้าง 76.2 เซนติเมตร ใช้เครื่องจักรไอน้ำขนาด 4 แรงม้าเป็นตัวลากรถเคเบิลคาร์ (cable car) ขนาด 12 ที่นั่ง ใช้เวลาโดยสารเที่ยวละประมาณ 70 วินาที หลังจากเปิดใช้งานได้ประมาณ 3 เดือนก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เพราะความคับแคบและไม่สะดวกของสถานี ประชาชนจึงนิยมเดินเท้ามากกว่า

ในที่สุดทางการจึงปรับปรุงใหม่ นำลิฟท์มาแทนบันได เปลี่ยนเครื่องจักรไอน้ำเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้รถไฟฟ้าใต้ดินสายนี้กลับมาได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง มีผู้โดยสารกว่าสองหมื่นคนต่อสัปดาห์ ก่อนจะคลายความนิยมไปหลังจากมีการก่อสร้างสะพาน “ทาวเวอร์ บริดจ์” (Tower Bridge) ในปี 2437 เนื่องจากไม่ต้องเสียเงินเหมือนรถไฟฟ้า ไม่นานก็ขาดทุนจนรัฐบาลต้องขายกิจการให้เอกชนดำเนินการต่อ ก่อนจะปิดการใช้งานในปี 2441

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button