วันนี้ในอดีต

21 สิงหาคม เบนจามิน ทอมป์สัน นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เสียชีวิต

21 สิงหาคม 2353 เบนจามิน ทอมป์สัน (Sir Benjamin Thompson, Count Rumford) นักฟิสิกส์และนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เสียชีวิต

เบนจามิน ทอมป์สัน

เซอร์ เบนจามิน ทอมป์สัน เคานท์รัมฟอร์ด (Sir Benjamin Thompson) 26 มีนาคม ค.ศ. 1753 – 21 สิงหาคม ค.ศ. 1814 เป็นนักฟิสิกส์,นักเคมีและนักประดิษฐ์เชื้อสายแองโกล-อเมริกัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติทฤษฎีทางฟิสิกส์เกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19

ทอมป์สันเกิดและเติบโตที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งปี 1785 เขาได้ไปเป็นที่ปรึกษาของเจ้าชาย คาร์ล เธโอดอร์ แห่งบาวาเรีย และใช้ชีวิตอยู่ในบาวาเรียถึง 11 ปี ปรับโครงสร้างของกองทัพเสียใหม่ และทำงานช่วยเหลือคนยากจนในแคว้นนั้น เขาคิดค้นซุปรัมฟอร์ด

ซึ่งอุดมด้วยสารอาหาร สำหรับให้คนยากจนได้รับประทาน ริเริ่มการเพาะปลูกมันฝรั่งในบาวาเรีย คิดค้นเทียนไขที่ทำจากขี้ผึ้งเพื่อใช้แทนเทียนไขจากไขสบู่หรือไขมันสัตว์ รวมทั้งเป็นผู้ก่อตั้ง Englischer Garten ในเมืองมิวนิก ซึ่งยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน เป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

งานของทอมป์สันเกี่ยวกับการประดิษฐ์เครื่องอาวุธและระเบิด เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาสนใจทฤษฎีเกี่ยวกับความร้อน เขาได้คิดค้นเครื่องมือสำหรับวัดความร้อนจำเพาะของของแข็ง แต่โจฮัน วิลเค (Johan Wilcke) ทำสำเร็จตัดหน้าไปเสียก่อน งานต่อมาเขาหันไปสนใจคุณสมบัติการป้องกันความร้อนของวัสดุต่างๆ เช่น เฟอร์ ขนสัตว์ ขนนก เป็นต้น

ซึ่งคุณสมบัติการเป็นฉนวนเป็นการป้องกันการพาความร้อนผ่านอากาศ แต่ทอมป์สันด่วนสรุปไปว่า อากาศ และก๊าซอื่นๆ เป็นฉนวนที่ไม่มีคุณสมบัติการนำความร้อนที่สมบูรณ์แบบที่สุด ต่อมาเขาขยายแนวความคิดนี้ไปครอบคลุมของเหลวด้วย ซึ่งจอห์น ดาลตัน และ จอห์น เลสลี่ พากันคัดค้านอย่างรุนแรง

ในปี ค.ศ. 1798 เขาได้เผยแพร่ผลงานชื่อ An Experimental Enquiry Concerning the Source of the Heat which is Excited by Friction (การทดลองว่าด้วยแหล่งกำเนิดของความร้อนที่มีที่มาจากแรงเสียดทาน) โดยนำเสนอว่าความร้อนไม่ได้เกิดจากแคลอริก แต่ความร้อนเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ ทฤษฎีนี้ถูกโต้แย้งอย่างหนัก แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด กฎทรงพลังงาน ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button