วันนี้ในอดีต

11 กันยายน วันก่อตั้ง WWF องค์กรอิสระเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

11 กันยายน 2504 วันก่อตั้ง WWF (World widelife fund for Nature ต่อมาลดเหลือแค่ “World widelife fund”) องค์กรนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก

กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล WWF

WWF คือ กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature) เป็นองค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดยยับยั้งการทำลายสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้พลังงานทดแทน ปัจจุบันเน้นการทำงานในด้าน ป่าไม้ ระบบนิเวศวิทยาของพื้นน้ำ มหาสมุทรรวมทั้งชายฝั่งทะเล สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การบำบัดสารพิษที่เกิดจากสารเคมี องค์การแห่งนี้เป็นองค์กรอนุรักษ์อิสระใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีผู้สนับสนุนมากกว่า 5 ล้านรายจากทั่วโลก ดำเนินโครงการอนุรักษ์ต่าง ๆ 12,000 โครงการ ใน 153 ประเทศ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลมีสถานะเป็นมูลนิธิ ใน ค.ศ. 2010 ได้เกิดกองทุนที่มาจากเงินทุนของประชาชนรวมถึงการยกมรดกให้ที่ 57 เปอร์เซ็นต์ และ 17 เปอร์เซ็นต์จากแหล่งรัฐบาล (เช่น ธนาคารโลก, กระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศ, องค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา) และ 11 เปอร์เซ็นต์จากสถาบันการเงินต่าง ๆ

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลก่อตั้งเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2504 ที่เมืองมอร์เกส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในไทยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ซอยพหลโยธิน 5 มีสำนักงานสาขา เพื่อดำเนินการและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เชิงปลุกจิตสำนึก และให้ความรู้อยู่หลายแห่ง

ประวัติกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล

ก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดเริ่มต้นจากความห่วงใยของ “เซอร์ จูเลียน ฮักซ์ลี่ย์” (Sir Julian Huxley) ในเรื่องการล่าสัตว์ป่าที่เกิดขึ้นในวงกว้าง

ในปี พ.ศ. 2503 ฮักซ์ลี่ย์ เดินทางไปยังอัฟริกาตะวันออก ในการประชุมของ ESO ว่าด้วยเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งทำให้เขาได้พบว่าสัตว์ป่าหลายชนิดกำลังถูกล่าอย่างหนัก และหากไม่มีการจัดการใดในอีก 20 ปี ข้างหน้า สัตว์ป่าเหล่านี้คงสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้หลังจากที่ฮักซ์ลี่ย์เดินทางกลับสู่อังกฤษ เขาได้เขียนบทความตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนชาวอังกฤษตระหนักถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น บทความของเขาได้สร้างกระแสให้คนอ่านหันมาตระหนักถึงความจริงที่ว่า การอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นเรื่องที่ต้องจริงจังและให้ความสำคัญ

ภายหลังจากบทความของฮักซ์ลี่ย์ได้รับการแผยแพร่ มีจดหมายแสดงความห่วงใยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหลายฉบับถูกส่งกลับมาถึงเขา ซึ่งรวมถึงจดหมายของนักธุรกิจคนสำคัญอย่าง “วิกเทอร์ สโทแลน (Victor Stolan)” ที่ได้แนะนำประเด็นสำคัญในการอนุรักษ์ไว้อย่างน่าสนใจว่า สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนในเวลานี้ก็คือ การจัดตั้งองค์กรนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

จากคำแนะนำดังกล่าว ฮักซ์ลี่ย์ ได้หารือกับ “แม็ก นิกโคลสัน (Max Nicholson)” ประธานองค์กรพิทักษ์ธรรมชาติของอังกฤษ (Britain’s Nature Conservancy) เพื่อหาแนวทางในการจัดตั้งองค์กรดังกล่าว

ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 นิกโคลสันได้รวบรวมคนรุ่นใหม่หัวก้าวหน้าจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งองค์กรนานาชาติด้านการอนุรักษ์ขึ้น ในนาม ESO (World Wildlife Fund) ประธานคนแรกของ ESO ได้แก่ เซอร์ ปีเตอร์ สกอตต์ (Sir Peter Scott) ซึ่งในอดีตเคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (World Conservative Union : IUCN)

WWF มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองกล๊องด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้ใช้รูปแพนด้าเป็นโลโก้ขององค์กรมาจนถึงปัจจุบัน }}

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button