วันนี้ในอดีต

11 ตุลาคม ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540

11 ตุลาคม 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” เนื่องจากเป็นฉบับแรกที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมากที่สุดและมีการเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนทั่วประเทศ

รัฐธรรมนูญ 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ออกประกาศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้คณะปฏิรูปฯได้ออกประกาศคงบทบัญญัติบางหมวดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 ไว้ภายหลัง

รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเข้ามาดำเนินการและได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน โดย 76 คนเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด และอีก 23 คนมาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งฉบับเดียวของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ 15 ฉบับมาจากคณะรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งหรือรัฐบาลทหาร รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่าง

รัฐธรรมนูญ 2540 ดีอย่างไร

  1. รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นบทบัญญัติของประเทศไทยฉบับเดียวที่เคยถูกร่างภายใต้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย สมาชิก 76 ท่านจาก 99 ท่านได้ถูกเลือกเข้ามาเป็นผู้แทนโดยตรงจากทุกภาคทุกจังหวัด (นอกจากรัฐธรรมนูญของท่านปรีดี พนมยงค์ของปี 2489 ซึ่งถือว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดสำหรับประเทศได้เคยพบเห็นกันมาก่อน) ตรงกันข้ามกับผู้ทำการร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 , 2560 ซึ่งทำการแต่งตั้งอย่างเฉพาะเจาะจงโดยกลุ่มผู้ยึดอำนาจของฝ่ายกองทัพ
  2. รัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน มอบความสมดุลทางอำนาจอย่างดีกว่า เพราะสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งจากประชาชน มันแสดงให้เห็นถึงจุด ๆ หนึ่งของเหตุการณ์อันสำคัญสำหรับการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน และสร้างความแข็งแกร่งให้กับหลักการว่าด้วยการถ่วงดุลอำนาจ (Checks and Balances) ด้วยการใช้องค์กรอิสระที่เข้ามาพร้อมกับกระบวนการคัดเลือกอันโปร่งใส ในปัจจุบัน ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น สมาชิกวุฒิภาพเกือบครึ่งหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ อยู่ภายนอกการควบคุมหรือความรับผิดชอบของประชาชนทั่วไป – แท้ที่จริงแล้ว มันเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยที่ก่อตั้งไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม
  3. รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 บัญญัติไว้ถึงการห้ามให้มีการก่อการรัฐประหารไว้อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้การก่อการรัฐประหารโดยกองทัพเมื่อปี 2540 เป็นอาชญากรรมอันร้ายแรง บทบัญญัติของปี 2540 เป็นบทบัญญัติที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศไทย
  4. รัฐธรรมนูญปี 2540 ยังได้ริเริ่มกระบวนการของการลดอำนาจส่วนกลาง ซึ่งต่อมาภายหลังนั้น เป็นปัจจัยหลักสำหรับการปฎิรูปในอนาคต – เมื่อปราศจากการลดอำนาจส่วนกลางในประเทศไทยแล้ว มันก็ไม่มีการมอบอำนาจใด ๆ ไว้ให้กับประชาชนเลย

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button