
2 พฤศจิกายน ประเทศไทยมีประชากรครบ 60 ล้านคน
2 พฤศจิกายน 2539 ประเทศไทยมีประชากรครบ 60 ล้านคนในเวลาประมาณ 9.48 น. ตามการคาดหมายของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ประชากร
สถิติจำนวนประชากรไทยนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแหล่งอ้างอิงและวิธีการเก็บข้อมูล แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 66-67 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศอาเซียนรองจาก อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ข้อมูลทังหลาย อาทิ
- 65,981,659 คน* (ตามสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553)
- 66,371,311 คน (ตามมิเตอร์ประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ณ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562)
- 66,413,979 คน (ตามประกาศสำนักทะเบียน กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561)
- 68,615,858 คน (ประมาณการประชากร ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยสำนักข่าวกรองกลางแห่งสหรัฐอเมริกา)
- 69,626,000 คน (ประมาณการประชากร ณ พ.ศ. 2562 โดยสหประชาชาติ)
หมายเหตุ: นับคนไทยที่ที่อยู่ในประเทศไทย คนไทยที่ออกนอกประเทศชั่วคราว และคนต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยเกิน 3 เดือน
ทั้งนี้ทั้งนั้น จากข้อมูลโดยสหประชาชาติ ประเทศไทยเป็นประเทศลำดับที่สามในทวีปเอเชียที่โครงสร้างประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รองจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) โดยคาดหมายว่าสัดส่วนประชากรวัยทำงาน (อายุ 15 – 64 ปี) ของประเทศไทยจะถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2017 คืออยู่ที่ร้อยละ 72 ของประชากรทั้งหมด และจะลดต่ำลงต่ำกว่าร้อยละ 60 ของประชากรก่อนปี ค.ศ. 2050 ในขณะเดียวจำนวนประชากรผู้สูงอายุ (มากกว่า 65 ปีขึ้นไป) จากอยู่ที่อัตราร้อยละ 8.9 ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2010 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.5 ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนประชากรไทยในอนาคตที่คาดว่าจะลดลงและส่งผลกระทบทางลบต่อความต้องการแรงงานในที่สุด