วันนี้ในอดีต

20 ตุลาคม จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจ

20 ตุลาคม 2501 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจ

สฤษดิ์ ธนะรัชต์

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 — 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทย และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด เจ้าของคำพูดที่ว่า “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ” และ “ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ใน วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นวันที่เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 อย่างไรก็ตามไม่ได้มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็น หัวหน้าคณะปฏิวัติ

ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ได้ให้การสนับสนุนผู้มีอำนาจของประเทศลาว นายพลพูมี หน่อสะหวัน ในการต่อสู้กับกองโจรคอมมิวนิสต์ประเทศลาว ในราชอาณาจักรลาว

จอมพลสฤษดิ์มีอนุภรรยาจำนวนมาก และมีบุตรหลายคน สมรสครั้งสุดท้ายกับ นางสาววิจิตรา ชลทรัพย์ ต่อมาคือ ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค สิริอายุ 55 ปี

ระยะเวลาเป็นนายกรัฐมนตรีรวมรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี รวม 5 ปี 54 วัน

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เหตุการณ์สำคัญ

  • จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศไทยเป็นอย่างมากในช่วง พ.ศ. 2500 อาทิ เช่น การนำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้และนำความเจริญกระจายสู่ชนบท
  • จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้ประกาศห้ามใช้รถสามล้อวิ่งในถนนสายต่างๆ โดยการยกเลิกการจดทะเบียนจักรยานสามล้อและจักรยานสามล้อส่วนบุคคลที่ใช้ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับปัญหาการจราจร ปัญหาทางสังคมอันเนื่องมาจากการอพยพของคนต่างจังหวัดเข้ามาประกอบอาชีพนี้ และปัญหาความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยได้นำรถบรรทุกสามล้อยี่ห้อไดฮัทสุที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมาดัดแปลงใช้แทนและได้ทดลองใช้เป็นครั้งแรกในย่านเยาวราช
  • สฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้นำหลักการฝึกบุคคลท่ามือเปล่า (Without Weapon) จากการฝึกของกองทัพสหรัฐมาใช้ในกองทัพไทยเป็นครั้งแรก อันได้แก่ ท่าตรง, ตามระเบียบ พัก และต่อมาได้นำมาใช้ในองต์กรต่างๆอาทิ โรงเรียน องค์กรต่างๆ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและฝึกความมีวินัยตามโนบายในขณะนั้น
  • จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังรัฐประหารรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร
  • จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง โดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว” นโยบาย ได้แก่ การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่น กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล กฎหมายปรามการค้าประเวณี ตลอดจนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ มีการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504–2509) มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญ เช่น ไฟฟ้า, ประปา, ถนน ให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก”
  • จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีฉายาว่า “จอมพลผ้าขาวม้าแดง” คือ ใช้มาตรการเบ็ดเสร็จเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น ประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันทีหลังบ้านใดเกิดเพลิงไหม้ เพราะถือว่าเป็นการก่อความไม่สงบ การใช้ “รัฐธรรมนูญมาตรา 17” การปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น ทั้งเป็นผู้รื้อฟื้นพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น จัดงานเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ, การสวนสนามของทหารรักษาพระองค์, การประดับไฟบนถนนราชดำเนินในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น
  • ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ได้ประกาศนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว จอมพลจอมพลสฤษดิ์ได้มีความเห็นในการพัฒนาประเทศไทยให้มีภาพลักษณ์ในการท่องเที่ยวเหมือนบราซิลและอาร์เจนตินา โดยมีแผนการพัฒนาเมืองพัทยาให้เป็นเมืองพักผ่อนตากอากาศเหมือนบัวโนสไอเรส และพัฒนากรุงเทพมหานครให้เหมือนรีโอเดจาเนโร ในระหว่างนั้นสหรัฐอเมริกาเข้ามาสร้างฐานทัพในไทย ทำให้ทั้งสองเมืองดังกล่าวกลายเป็นแหล่งพักผ่อนของทหารอเมริกัน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
  • ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยได้เกิดมีกรณีพิพาทกับประเทศกัมพูชา เพื่อนบ้าน ในกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการเรี่ยไรเงินบริจาคจากประชาชนชาวไทยคนละ 1 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในศาลโลก หลังจากมีคำพิพากษา จอมพลสฤษดิ์ออกแถลงการณ์แก่ประชาชนชาวไทยด้วยตนเองผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button