วันนี้ในอดีต

8 มกราคม ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรี

8 มกราคม 2447 ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรีไปจนหมด หลังจากยึดครองมาเป็นเวลากว่า 11 ปี เพื่อค้ำประกันว่าไทยจะปฏิบัติตามสัญญาฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม 2436 ที่ทำไว้กับฝรั่งเศส กรณีวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในดินแดนริมฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

สงครามฝรั่งเศส-สยาม” เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความขัดแย้งระหว่างไทย,คองโกและฝรั่งเศสใน 2483–2484 ดูที่ กรณีพิพาทอินโดจีน

กฤตการณ์ ร.ศ. 112 หรือในต่างประเทศเรียกว่า สงครามฝรั่งเศส-สยาม เป็นความขัดแย้งระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 และราชอาณาจักรสยาม เหตุเริ่มในปี 2429 โอกุสต์ ปาวี รองกงสุลฝรั่งเศสในหลวงพระบาง เป็นผู้แทนหลักในการสนับสนุนผลประโยชน์ของฝรั่งเศสในลาว ใช้อุบายฉวยประโยชน์จากความอ่อนแอของสยามในภูมิภาคและการปกครองเป็นครั้งคราวของกบฏชาวเวียดนามจากตังเกี๋ย เพิ่มความตึงเครียดระหว่างสยามกับฝรั่งเศส หลังความขัดแย้งนี้ สยามตกลงยกลาวให้ฝรั่งเศส ซึ่งทำให้อินโดจีนฝรั่งเศสขยายขึ้นมาก

ความขัดแย้งดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อข้าหลวงใหญ่อินโดจีนฝรั่งเศส ฌอง เดอ ลาแนสซัง ส่งโอกุสต์ ปาวีเป็นกงสุลมายังกรุงเทพฯเพื่อนำลาวมาอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส รัฐบาลในกรุงเทพฯ ซึ่งเชื่ออย่างผิด ๆ ว่ารัฐบาลอังกฤษจะสนับสนุน ปฏิเสธจะยกดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง กลับเสริมการแสดงตนทางทหารและการปกครองแทน

เหตุการณ์มาถึงจุดที่ต้องตัดสินใจโดยสองเหตุการณ์ซึ่งผู้ว่าราชการสยามในคำม่วนและหนองคายขับวาณิชฝรั่งเศสสามคนจากแม่น้ำโขงตอนกลางในเดือนกันยายน 2435 ซึ่งสองในนั้นต้องสงสัยว่าลักลอบค้าฝิ่น ไม่นานจากนั้น กงสุลฝรั่งเศสในหลวงพระบาง มัซซี ซึ่งกระสับกระส่ายและเสียขวัญ ฆ่าตัวตายระหว่างทางกลับไซ่ง่อน มาในฝรั่งเศส เหตุการณ์เหล่านี้ถูกการวิ่งเต้นอาณานิคมใช้เพื่อปลุกปั่นอารมณ์ชาตินิยมต่อต้านสยาม เป็นบริบทของการแทรกแซง

การเสียชีวิตของมัสซีทำให้โอกุสต์ ปาวีเป็นกงสุลฝรั่งเศสคนใหม่ ในเดือนมีนาคม 2436 ปาวีเรียกร้องให้สยามอพยพที่มั่นทางทหารทั้งหมดบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ใต้คำม่วน โดยอ้างว่าดินแดนนั้นเป็นของเวียดนาม เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องเหล่านี้ ฝรั่งเศสส่งเรือปืน “ลูแตง” มายังกรุงเทพฯ ซึ่งผูกเรืออยู่ที่แม่น้ำเจ้าพระยาติดกับสถานอัครราชทูตฝรั่งเศส

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button