วันนี้ในอดีต

19 มีนาคม พบถังบรรจุสารเคมีต้องสงสัยว่าเป็น สารฝนเหลือง

19 มีนาคม 2542 พบถังบรรจุสารเคมี สภาพผุกร่อนขนาด 200 ลิตร ซึ่งไม่มีสารเคมีหลงเหลืออยู่ 1 ถัง และถังบรรจุสารเคมีจำนวน 5 ถัง ขนาดบรรจุ 15 ลิตร มีข้อความและหมายเลขกำกับว่า “Delaware Barrel PAT NO 2842282, Tri-sure, American lange, NY” ต้องสงสัยว่าเป็น “สารฝนเหลือง” ที่สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทุกฝ่ายเรียกร้องให้มีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่าเป็นสารเคมีตัวเดียวกับ “สารฝนเหลือง” (Agent Orange)

ซึ่งสหรัฐอเมริกานำมาใช้ในยุคสงครามเวียดนามระหว่างปี 2504-2518 เพราะเป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดรุนแรงที่ทหารอเมริกันใช้ฉีดพ่นเหนือผืนป่าอันกว้างใหญ่ของเวียดนามใต้ เพื่อทำลายป่าที่หลบซ่อนของทหารเวียดกง โดยมีการประมาณกันว่า อเมริกันใช้ฝนเหลืองร้อยละ 60 หรือ 42 ล้านลิตร จากจำนวนสารเคมี 72 ล้านลิตรที่ใช้ไปในสงครามครั้งนั้น

ฝนเหลือง

ฝนเหลือง (Agent Orange หรือ Herbicide Orange, ย่อ: HO) เป็นสารฆ่าวัชพืชและสารทำให้ใบไม้ร่วง (defoliant) ที่กองทัพสหรัฐใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการสงครามสารฆ่าวัชพืช ปฏิบัติการแรนช์แฮนด์ (Operation Ranch Hand) ระหว่างสงครามเวียดนามตั้งแต่ปี 2504 ถึง 2514 เกิดจากการผสมสารฆ่าวัชพืชสองชนิด คือ 2,4,5-ที และ 2,4-ดี อย่างละเท่า ๆ กัน

ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950 สหรัฐและบริเตนร่วมกันพัฒนาสารฆ่าวัชพืชซึ่งสามารถใช้ในการสงครามได้ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้บางชนิดถูกนำสู่ตลาดเป็นสารฆ่าวัชพืช บริเตนเป็นชาติแรกที่ใช้สารฆ่าวัชพืชและสารทำให้ใบไม้ร่วงเพื่อทำลายพืชผล พุ่มไม้และไม้ต้นของผู้ก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในมาลายาระหว่างภาวะฉุกเฉินมาลายา ปฏิบัติการเหล่านี้ปูรากฐานสำหรับการใช้ฝนเหลืองและสูตรสารทำให้ใบไม้ร่วงอื่น ๆ โดยสหรัฐ

กลายปี 2504 ประธานาธิบดีโง ดิ่ญ เสี่ยมแห่งเวียดนามใต้ขอให้สหรัฐดำเนินการฉีดพ่นสารฆ่าวัชพืชทางอากาศในประเทศของเขา ในเดือนสิงหาคมปีนั้น กองทัพอากาศเวียดนามใต้เริ่มปฏิบัติการสารฆ่าวัชพืชด้วยความช่วยเหลือของอเมริกา แต่คำขอของเสี่ยมทำให้มีการอภิปรายนโยบายในทำเนียบขาวและกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหม ทว่า ข้าราชการสหรัฐพิจารณาใช้ฝนเหลือง โดยชี้ว่าบริเตนใช้สารฆ่าวัชพืชและสารทำให้ใบไม้ร่วงแล้วระหว่างภาวะฉุกเฉินมาลายาในคริสต์ทศวรรษ 1950 ในเดือนพฤศจิกายน 2504 ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี อนุญาตให้เริ่มปฏิบัติการแรนช์แฮนด์ ซึ่งเป็นชื่อรหัสของโครงการสารฆ่าวัชพืชในเวียดนามของกองทัพอากาศสหรัฐ

บริษัทมอนซานโต้และดอว์เคมิคัล (Dow Chemical) เป็นผู้ผลิตหลักของฝนเหลืองให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ซึ่งได้ชื่อ “Agent Orange” เนื่องจากสีของถังลายส้มที่ใช้ขนส่ง และเป็นสารที่เรียก “สารฆ่าวัชพืชรุ้ง” ที่ใช้กันกว้างขวางที่สุด 2,4,5-ทีที่ใช้ผลิตฝนเหลืองถูกปนเปื้อนด้วย 2,3,7,8-เตตระคลอโรไดเบนโซไดออกซิน (TCDD) ซึ่งเป็นสารประกอบไดออกซินซึ่งเป็นพิษร้ายแรง ในบางพ้นที่ ความเข้มข้นของ TCDD ในดินและน้ำสูงกว่าระดับที่สำนักป้องกันสิ่งแวดล้อมสหรัฐถือว่าปลอดภัยเป็นหลายร้อยเท่า

เนื่องจากขาดกฎหมายจารีตประเพณีเฉพาะหรือกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่ตราเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการสงครามสารฆ่าวัชะช มีการเสนอร่างอนุสัญญาที่เตรียมโดยคณะทำงานที่ตั้งขึ้นในการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการลดกำลังรบ (CCD) ต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปี 2519 ในปีเดียวกัน

คณะกรรมการชุดแรกของสมัชชาใหญ่ตัดสินใจส่งข้อความร่างอนุสัญญาให้สมัชชาใหญ่ซึ่งลงมติรับข้อมติที่ 31/72 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 251 โดยข้อความของอนุสัญญาที่แนบเป็นภาคผนวก

อนุสัญญาดังกล่าว ที่เรียก อนุสัญญาการดัดแปรสิ่งแวดล้อม เปิดให้ลงนามและให้สัตยาบันในวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 แลมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2521 อนุสัญญาฯ ห้ามการใช้ทางทหารหรือเป็นปรปักษ์อื่นซึ่งเทคนิคการดัดแปรสิ่งแวดล้อมซึ่งมีผลลัพธ์กว้างขวาง ยาวนานหรือรุนแรง หลายรัฐไม่ถือว่าอนุสัญญาห้ามการใช้สารฆ่าวัชะชและสารทำให้ใบไม้ร่วงโดยสิ้นเชิงแต่ต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป

แม้อนุสัญญาการลดกำลังรบเจนีวา ค.ศ. 1978 ข้อ 2(4) พิธีสารที่ 3 ต่ออนุสัญญาอาวุธมี “ข้อยกเว้นป่า” (The Jungle Exception) ซึ่งห้ามมิให้รัฐโจมตีป่า “ยกเว้นหากสิ่งแวดล้อมธรรมชาตินั้นถูกพลรบหรือวัตถุประสงค์ทางทหารใช้กำบัง ปกปิดหรืออำพราง หรือป่านั้นเป็นวัตถุประสงค์ทางทหาร” ซึ่งทำให้การคุ้มครองทหารและพลเรือนใด ๆ จากการโจมตีด้วยนาปาล์มหรือสารอย่างฝนเหลืองเป็นโมฆะ และชัดเจนว่าออกแบบมาให้จัดเตรียมสำหรับสถานการณ์ดังเช่นยุทธวิธีของสหรัฐในเวียดนาม วรรคนี้ยังไม่มีการทบทวน

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button