สังคม

อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีที่มาอย่างไร

ความเป็นมาของโครงการ

สืบเนื่องจากตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา พระที่นั่งอนันตสมาคมได้ใช้สำหรับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก และใช้เป็นที่ประชุมสภาเรื่อยมา ต่อมาปี พ.ศ. 2513 ได้มีการก่อสร้างอาคารรัฐสภาหลังใหม่เพื่อใช้เป็นที่ประชุมรัฐสภาแทน   ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 คืออาคารรัฐสภาปัจจุบัน โดยพระที่นั่งอนันตสมาคมยังคงใช้สำหรับรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก อาคารรัฐสภาปัจจุบันมีความคับแคบเนื่องจากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาเพิ่มมากขึ้นตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งจำนวนข้าราชการที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการปฏิบัติงานของสมาชิกรัฐสภา จากสภาพเดิมดังกล่าวจะเห็นได้ว่าพื้นที่บริเวณรัฐสภาไม่สามารถที่จะรองรับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งข้าราชการที่ปฏิบัติภารกิจและหน้าที่ได้ ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา รัฐสภาได้แก้ไขปัญหาในบางส่วนโดยจัดหา และเช่าสถานที่ทำงานสำหรับข้าราชการอาทิ อาคารกษาปณ์ อาคารทิปโก้ อาคารทหารไทย และอาคารดีพร้อม ซึ่งข้าราชการยังคงแยกส่วนกันอยู่ ทำให้เป็นอุปสรรค และมีข้อจำกัดในการปฏิบัติภารกิจของสมาชิกรัฐสภาอันส่งผลกระทบต่อฝ่ายนิติบัญญัติรวมถึงประชาชนที่มาติดต่อราชการ ด้วยเหตุนี้ประธานรัฐสภารวมทั้งสมาชิกรัฐสภาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ได้พยายามหาสถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

Advertisement

จนกระทั่งเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการประชุมจัดหาสถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพร้อมด้วยนายชิย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ พันเอกอภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาพื้นที่ก่อสร้างอสคารรัฐสภาแห่งใหม่จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ที่ดินราชพัสดุถนนทหาร(เกียกกาย) กรุงเทพฯ ที่ดินราชพัสดุกองคลังแสง กรมสรรพวุธทหารบก จังหวัดนนทบุรี และที่ดินบริเวณคลังเชื้อเพลง คลองเตย

ทั้งนี้หลังจากที่คณะกรรมการจัดหาสถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ได้พิจารณาศึกษาถึงความเหมาะสมของสถานที่ รวมทั้งข้อดี ข้อจำกัดในด้านต่างๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสถาปัตยกรรม วิศกรรม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม คมนาคม และสาธารณูปโภคแล้วคณะกรรมการได้มีมติเลือกที่เดินราชพัสดุถนนทหาร (เกี่ยกกาย) เขตดุสิต เป็นสถานที่ในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

รายที่ 1 กลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน “อินเด็กซ์”

รายที่ 2 กลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน “เอเคเอ็มเอ”

ผู้รับจ้างก่อสร้าง

รายที่ 1 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

Advertisement

รายที่ 2 บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่ น จำกัด (มหาชน)

รายที่ 3 บริษัท เพาเวอร์ไลน์ จำกัด (มหาชน)

รายที่ 4 บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่ น จำกัด (มหาชน)

ราคากลาง

ผู้ออกแบบแจ้งราคากลางค่าก่อสร้าง ตามแบบก่อสร้างงวด 4.2 ประมาณ 17,000 ล้านบาท ซึ่ง เกินจากงบประมาณโครงการ 11,738 ล้านบาท อยู่ประมาณ 5,000 กว่าล้านบาท ผู้ออกแบบได้ดำเนินการปรับลดราคาและแก้ไขหลักการออกแบบบางส่วน เช่นงานวิศวกรรมโครงสร้างได้ปรับลดขนาดและความลึก ของเสาเข็มโดยการเอา Uplift มาใช้ในการคำนวณ การเปลี่ยน Diaphragm Wall เป็น Retaining Wall หรือ การยกเลิกเหล็กเสาป้ องกันระเบิดตั้งแต่ชั้น 3 เป็นต้น และแยกรายการงานโดยชัดเจนว่ารายการใน TOR และรายการนอก TOR เพื่อให้ราคากลางค่าก่อสร้างอยู่ในงบประมาณที่กำหนด ในขณะนี้ราคากลางค่าก่อสร้าง อยู่ที่ 11,726 ล้านบาท

แบบจำลองอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

ชูวิทย์มีเรื่องเล่า พาทัวร์รัฐสภาแห่งใหม่

ชูวิทย์มีเรื่องเล่า กับชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ พาทัวร์รัฐสภาแห่งใหม่ที่ย้ายจากเดิมถนนอู่ทองใน ไปยังรัฐสภาใหม่ย่านเกียกกาย โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง ทั้งห้องประชุม ส.ส. – สว. ห้องทำงานข้าราชการ ลานประชาธิปไตยให้พื้นที่ ปชช.ประท้วง ลานจอดรถเกือบ 4 พันคัน

โดยมีการใช้งบประมาณโดยรวมกว่า 23,047.5 ล้านบาท ใช้พื้นที่กว่า 4 แสน ตร.กม. และมีความล่าช้าในการก่อสร้างที่ยังไม่แล้วเสร็จกว่า 6 ปี นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่าจะมีการใช้ไฟฟ้ามหาศาล เทียบเท่ากับการใช้ไฟ 2 อำเภอ

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button