How To

6 วิธีแก้ปัญหาการง่วงนอน พร้อมเครื่องดื่มแก้ง่วง!

การอดนอนส่งผลกระทบต่อหลายด้านของชีวิตคุณ รวมถึงวิธีการทำงานและการขับรถ ผลกระทบบางอย่างต่อประสิทธิภาพอาจเป็นหายนะ

ง่วงนอน

ง่วงนอน
ภาพโดย mohamed Hassan จาก Pixabay

อาการง่วงนอนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในมนุษย์ อาการง่วงนอนรบกวน และทำให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวัน การทำงาน การเข้าสังคม การทำกิจกรรมต่าง ๆ สาเหตุของการนอนหลับยากเกิดขึ้นได้หลายเหตุผล เช่น โรคประจำตัว สิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ การใช้ชีวิต หรือแม้แต่การดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอลล์ ในทุก ๆ วัน เมื่อนาฬิกาปลุกดังขึ้นในตอนเช้า การพักผ่อนก็จะหมดไป ในปัจจุบันมีแก้ปัญหาด้วยอาการง่วงนอนด้วยการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่น กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง ชา ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและผิดวิธี การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ คาเฟอีน จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของร่างกาย จะสะสมไปตลอดทำให้หลับยากในตอนกลางคืน ไม่แปลกที่คนส่วนมากจะมีอาการง่วงนอนช่วงบ่าย ๆ เพราะธรรมชาติของการง่วงจะเกิดขึ้น 2 ช่วงเวลา คือ เที่ยงคืน – 07.00 น. และ 13.00 น. – 16.00 น. อาการง่วงนอนหากเกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้พักผ่อนผลเสียที่ตามมานั้นมาก จะทำให้ปวดหัว สมองเบลอ ๆ มึนงง การทำงาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ จะไม่มีสมาธิ

อุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เสียชีวิต 1 ใน 6 เกิดจากคนขับที่เหนื่อยล้า และรัฐบาลอังกฤษประเมินว่า 20% ของอุบัติเหตุทางรถยนต์ทั้งหมดเกิดจากคนขับที่เหนื่อยล้า 4% ของผู้ใช้ถนนยอมรับว่าขับรถขณะเหนื่อยซึ่งเป็นระดับที่อันตรายมาก พิจารณาว่าการนอนไม่หลับเพียงคืนเดียว อาจส่งผลให้เกิดความสามารถทางปัญญาคล้ายกับผลของการมึนเมา การทดลองเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าการอดนอนเป็นเวลา 28 ชั่วโมง ส่งผลให้มีสมรรถนะการดำน้ำคล้ายคลึงกันกับผู้ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 0.1% – BAC

ในสหรัฐอเมริกา การชน 1 ล้านครั้งและมีผู้เสียชีวิต 8,000 รายเกิดจากการง่วงนอนทุกปี และ 37% ของผู้ขับขี่ในสหรัฐฯ ยอมรับว่าประสบปัญหา “Microsleep” ที่พวงมาลัย

Advertisement

(Microsleep เป็นการหมดสติชั่วขณะหนึ่งซึ่งคงอยู่นานตั้งแต่ครึ่งวินาที สูงสุด 30 วินาที แม้ว่าไมโครสลีปจะคงอยู่ได้เพียงไม่กี่วินาที แต่หากคุณเดินทางด้วยความเร็ว 112 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นั่นหมายความว่าคุณกำลังขับรถไปตามความยาวของสนามฟุตบอลทั้งสนามที่ตาบอดสนิท)

ง่วงเกิดจากอะไร ?

ง่วงเกิดจากอะไร ?
ภาพโดย Hatice EROL จาก Pixabay

พักผ่อนไม่เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ 8 ชั่วโมงเป็นขั้นต่ำ หรือบางคนอาจจะมากว่า 8 ชั่วโมง ขึ้นอย฿่กับการทำงาน การทำกิจกรรมของแต่ละคน การให้ร่างกายพักผ่อนเพียงพอก็ช่วยทำให้อาการง่วงนอนในระหว่างวันลดน้อยได้มาก

คาแฟอีน

ในการดำรงชีวิตในแต่ละวันชองทุก ๆ คน ในช่วงเช้าก่อนทำงาน หรือก่อนออกจากบ้านไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกคนจะดื่มเครื่องดื่มที่มากาแฟอีน เพื่อช่วยให้ร่างกายสดชื่น ตามความเชื่อที่บอกว่ากาแฟอีนช่วยในการทำให้ร่างกายตื่นตัว ทำให้รู้สึกกระตือรือร้นมากขึ้น แต่ละคนจะดื่มแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นกาแฟร้อน คู่กับอาหารเช้า หรือกาแฟเย็น คู่กับเค้ก หรือขนมหวาน บางคนก็เลือกที่จะเลือกซื้อตามร้านกาแฟเพื่อดื่มแบบเย็น ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน

โรคประจำตัว

ร่างกายของแต่ละคนมีภูมิที่แตกต่างกันออกไป โรคประจำตัวที่เกิดขึ้นในร่างกาย ก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้อาการนอนไม่หลับในเวลากลางคืนกวนใจ อาจจะทำให้หลับยาก อย่างเช่นโรคภูมิแพ้ ซึ่งโรคนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะฤดูไหน ๆ แพ้ฝุ่นบ้าง โดนน้ำหมอกกลางคืนบ้าง หรือแม้แต่แพ้อาการ จะทำให้มีอาการคัดจมูกเหมือนจะเป็นหวัดบ้าง ไข้อ่อน ๆ บ้าง ซึ่งเป็นผลกระทบในการพักผ่อนในเวลากลางคืน ทำใหเตื่นมาในตอนเช้ารู้สึกไม่สดชื่น กระทบกับการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันในวันนั้น ๆ

ดื่มแอลกอฮอลล์


การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า เป็นผลเสียต่อร่างกาย ฤทธิ์ของแอลกอฮอลล์ยังทำให้ง่วง และขาดสติ ในกรณีที่ทำให้ง่วงนี้ใช่ว่าร่างกายจะได้รับพักผ่อน ความง่วงที่เป็นผลจะเกิดความเหนื่อยล้าให้ร่างกายมากกว่า ในความง่วงนี้ไม่ได้เกิดผลที่ดีให้กับร่าง ในตอนเช้าที่ตื่นนอนร่างกายจะไม่ตื่นตัว กินผลกระทบในการทำงาน การทำกิจกรรมอื่น ๆ

ธรรมชาติ


การง่วงนอนในระหว่างวันเกิดขึ้นกับทุก ๆ คน ธรรมชาติของการง่วงนอนจะเกิดขึ้นในช่วงเวลา เที่ยงคืน – 7 โมงเช้า และเวลา 13.00 น. – 16.00 น. ซึ่งในช่วงเวลาดั่งกล่าวอาจเป็นเวลาทำกิจกรรม หรือทำงานของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป ทำให้มีเกิดอาการง่วง เพราะร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ

ยารักษาโรคบางชนิด


โดยทั่วไปโรคประตัวเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คนบนโลก บางคนต้องรับประทานยาก่อนอาหาร – หลังอาหาร เป็นประจำทุก ๆ วัน ซึ่งเวลาทานยาเสร็จแน่นอนว่าต้องนอนพักผ่อน เพราะในส่วนผสมของยาจะบังคับให้ร่างกายพักผ่อน แต่บางคนต้องทำงาน ต้องทำกิจกรรม ดำเนินชีวิตระหว่างวัน ทำให้อาการง่วงเป็นผลกระทบ

สภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม

ห้องเรียนที่ลมพัดผ่านบนตึกสูง เครื่องปรับอากาศที่ทำความเย็นในออฟฟิตที่ทำงาน หรือแม้แต่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่อากาศบริสุทธิ์ มีอ๊อกซิเจนถ่ายเท มีความเงียบสงบ ทำให้ร่างกายคลอยตามบรรยากาศเกิดอาการง่วงนอน

การทำงาน และการใช้ชีวิต

การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะการทำงานที่ทุ่มเททำงานหนักนมากจนเกินไป ร่างกายเหนื่อยล้าอ่อนเพลียในระหว่างวัน เกิดอาการง่วง หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ

บุหรี่

ในปัจจุบันการสูบบุหรี่พบมากในผู้ชาย ในผู้หญิงจะเห็นไม่มากที่จะสูบบุหรี่ เชื่อว่าช่วยทำให้หายง่วง แก้เคลียด ผ่อนคลายได้ ซึ่งในความจริงแล้วเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ สารนิโคตินในบุหรี่ มีผลทำให้ร่างกายหลับยากในเวลากลางคืน และยังสะสมในร่างกายทำให้เกิดโรคตามมา ผลกระทบที่สะสมทำให้เกิดอาการง่วงนอนมากยิ่งขึ้น

วิธีแก้ง่วงนอนในระหว่างวัน

วิธีแก้ง่วงนอนในระหว่างวัน
ภาพโดย congerdesign จาก Pixabay

วิธีแก้ง่วงสามารถทำกันได้ง่าย ๆ โดยทำตามคำแนะนำเหล่านี้

  1. ดื่มน้ำเปล่า

ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลียจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายขาดน้ำ การรับประทานน้ำเยอะ ๆ จิ๊บบ่อย ๆ หรือจะเป็นการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง จะทำให้ร่างกายมีน้ำที่เพียงพอ ร่างกายตื่นตัว วดชื่นมากขึ้น ลดอาการง่วงนอนที่กวนใจในระหว่างวันได้มากขึ้น

  1. ยืดเส้นสายกล้ามเนื้อ

การนั่งทำงานที่โต๊ะนาน ๆ ทำให้ร่างกายปวดเมื้อย อ่อนเพลีย เปลี่ยนอิริยาบถเดินออกไปสูดอากาศนอกห้องทำงาน อจจะเป็นดาดฟ้า หรือเดินไปพูดคุบกับเพื่อนในห้อง ช่วยเพิ่มอ๊อกซิเจนเข้าสู่สมอง กระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัว สดชื่น

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ

ปรับเวลาการนอนพักผ่อนให้พียงพออย่างน้อยต้อง 8 ชั่วโมง ดื่มนมอุ่น ๆ ซ็อคโกแลตอุ่น ๆ หรือเลือกซื้อเทียนหอม น้ำมันระเหย วางในห้องเพื่อช่วยให้ผ่อนหลายความเคลียดให้ร่างกายที่เหนื่อยล้าจากการทำกิจกรรม การทำงาน ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

  1. ผลไม้

ช่วงระหว่างวันเกิดการง่วงในยามบ่าย ๆ การเลือกทานผลไม้ เป็นอีกตัวช่วยได้ในการลดอาการง่วง จะเลือกรับประทานผลไม้ที่มีรสหวาน หรือรสเปรี้ยว ก็ขึ้นอยู่ความชอบของแต่ละคน หากทานผลไม้รสเปรี้ยวก็จะช่วยได้ดี ความเปรี้ยวจะทำให้ร่างกายตื่นตัวมากขึ้น หรือจะเลือกทานผลไม้รสหวานเป็นของว่างก็ช่วยได้ดีเหมือนกัน

  1. พักสายตา

ในการทำงานแต่ละบริษัทจะมีเวลาการพักที่แตกต่างกัน บริษัทบางบริษัทมีทั้งเวลาพักรับประทานอาหาร และเวลา Break Time ให้ บางคนใช้เวลาในการพักกลางวันรับประทานอาหาร หรือเวลา Break Time ในการงีบหลับพักสายตา 10 – 15 นาที เพื่อลดอาการง่วงนอนของร่างกาย ทีเกิดจากพักผ่อนไม่เพียงพอ ช่วยให้ร่างกายสดชื่นทำงานได้เต็มที่มากยิ่งขึ้น

  1. ออกกำลังกาย

เปรียบเทียบช่วงวัยของการทำงานเป็นมนุษย์เงินในเมืองใหญ่ ที่การใช้ชีวิตประจำวันต้องเร่งรีบ ตื่นตัวตลอดเวลา การออกกำลังจึงเกิดขึ้นน้อยในวัยทำงาน เกิดจากตื่นนอน การเดินทาง ที่ทุกอย่างต้องรวดเร็ว การออกกำลังกายหลังเลิกงาน แม้เพียงเล็กน้อย ให้ร่างกายได้เสียเหงื่อ ก็ช่วยให้การพักผ่อนในเวลากลางคืนนั้นสบายตัวได้ดี

เครื่องดื่มแก้ง่วง

เครื่องดื่มแก้ง่วง
ภาพโดย fancycrave1 จาก Pixabay

เครื่องดื่มต่อไปนี้สามารถช่วยเพิ่มพลังงาน

น้ำ

น้ำเป็นส่วนประกอบที่ให้พลังงานที่สำคัญที่สุดในรายการนี้ น้ำมีความสำคัญต่อทุกเซลล์ในร่างกายในการทำงานอย่างถูกต้อง ในขณะที่คนส่วนใหญ่คิดว่าภาวะขาดน้ำเป็นสถานการณ์ที่รุนแรง การรักษาพลังงานสามารถทำได้ง่าย ๆ แค่พกขวดน้ำ และจิบตลอดทั้งวันเพื่อให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอ

กาแฟ

กาแฟเป็นตัวกระตุ้นพลังงานที่เป็นที่รู้จักมานาน คาเฟอีนในกาแฟทำให้ร่างกายและจิตใจตื่นตัว กาแฟยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่าโพลีฟีนอล ซึ่งอาจช่วยลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในเซลล์และช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น กาแฟเป็นตัวกระตุ้นที่ดี อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคกาแฟในปริมาณที่พอเหมาะ การดื่มกาแฟมากเกินไปอาจทำให้สูญเสียพลังงานในขณะที่ร่างกายถอนตัวจากคาเฟอีน

ชาเขียว

ชาเขียวมีคาเฟอีนอยู่เล็กน้อย แต่ก็มีสารประกอบที่อาจช่วยลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันและการอักเสบในร่างกายได้ ผลที่ได้อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่นุ่มนวลกว่ากาแฟไปสู่สภาวะที่ตื่นตัวและกระฉับกระเฉงมากขึ้น

ซุปไก่สกัด

ซุปไก่สามารถแก้ง่วงได้ ซุปไก่สกัดนั้นสามารถช่วยฟื้นฟูอาการเหนื่อย การออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก อาจทำให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อย อ่อนล้า หรือหมดแรงได้จริง เพราะในซุปไก่สกัดมีโปรตีนจากเนื้อไก่ซึ่งช่วยสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย บำรุงกระดูกและกล้ามเนื้อ

อาหารที่ควรเลี่ยง

แม้ว่าอาหารส่วนใหญ่จะให้พลังงาน แต่อาหารข้างต้นเน้นที่พลังงานที่ยั่งยืน อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น

  • อาหารจานด่วนหรือของทอด
  • น้ำตาล
  • ขนมและลูกกวาด
  • ขนมอบเช่นเค้กและคัพเค้ก

พักผ่อนกี่ชั่วโมงให้เหมาะกับช่วงอายุ

  • แรกเกิด 0 – 3 เดือน เวลานอน 14 – 17 ชั่วโมง
  • ทารก 4 – 11 เดือน เวลานอน 12 -15 ชั่วโมง
  • หัดเดิน 1- 2 ปี เวลานอน 11 – 14 ชั่วโมง
  • อนุบาล อายุ 3 – 5 ปี เวลานอน 10 – 13 ชั่วโมง
  • ประถม อายุ 14 – 17 ปี เวลานอน 9 – 11 ชั่วโมง
  • มัธยม อายุ 14 – 17 ปี เวลานอน 8 – 10 ชั่วโมง
  • มหาลัย อายุ 18 – 25 ปี เวลานอน 7 – 9 ชั่วโมง
  • ผู้ใหญ่ อายุ 26 – 64 ปี เวลานอน 7 – 9 ชั่วโมง
  • ผู้สูงวัย 26 – 64 ปี เวลานอน 7 – 8 ชั่วโมง

Advertisement

Source
webmd
กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee