เรื่องน่าสนใจ

โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า หรือ กาฬโรคม้า (AHS)

ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยความคืบหน้าสถานการณ์การระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ยืนยันเป็นโรคอุบัติใหม่ ม้าติดเชื้อ ป่วย แล้วตายทุกตัว ไม่ติดต่อสู่คน มารู้จักโรคนี้กัน

Advertisement

กาฬโรคม้า

โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า หรือ กาฬโรคม้า โรคอุบัติใหม่

โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า หรือ กาฬโรคม้า (African Horse Sickness) คือ โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า เป็นโรคติดเชื้อในสัตว์ตระกูลม้า ได้แก่ ม้า ลา ล่อ ม้าลาย หรือบางครั้งอาจพบในช้าง ลาป่าเอเชีย อฐ รวมทั้งสุนัขที่กินเนื้อม้าหรือเลือดสัตว์ที่ป่วย โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งสามารถมีชีวิตที่ 37 ๐C ได้นานถึง 37 วัน โดยทั่วไปจะมีระยะฟักตัวนาน 7 – 14 วัน หรือแค่เพียง 2 วัน ตัวริ้นหรือตัวปึ่ง ซึ่งเป็นแมลงขนาดเล็กจัดอยู่ในกลุ่ม Culicoides เป็นพาหะนำโรค ทำให้เกิดโรคใน มีอัตราตายในม้า 70 – 95 % ล่อ 50% ลา 10% พวกแมลงใน culicoides spp. เป็น biological vector บางครั้งยุง Culex, Anopheles, Aedes spp. และเห็บ Hyalomma, Rhipicephalus spp. เป็นพาหะนำเชื้อ พวกอวัยวะภายในต่าง ๆ เลือด น้ำเชื้อ ปัสสาวะ และสิ่งผลิตหรือสารที่คัดหลั่งจากตัวสัตว์ป่วยจะเป็นแหล่งของเชื้อไวรัส ปัจจุบันยังไม่เคยมีรายงานโรคนี้ในประเทศไทย มีรายงานพบโรคในอาฟริกา ตะวันออกกลาง สเปน และโปรตุเกส

โรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผลแน่นอน แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซิน polyvalent, หรือชนิด monovalent เมื่อทราบ serotype แล้ว หรือวัคซินเชื้อตายซึ่งมีเฉพาะของไวรัส serotype 4 ซึ่งสัตว์ที่ฉีดวัคซินต้องสามารถระบุตัวได้ชัดเจน เมื่อพบโรคควรแยกชนิดของเชื้อไวรัส ในการควบคุมโรคต้องทำลายและกำจัดซากสัตว์ป่วย รวมทั้งควบคุมแมลง (โดยใช้ยากำจัดแมลง ยาไล่แมลง หรือมุ้งป้องกันแมลง) ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคฟอร์มาลิน 0.1% เป็นเวลา 48 ชั่วโมง อาจใช้ฟีนอล หรือไอโอโดฟอร์ ก็ได้

สาเหตุกาฬโรคม้า

เกิดจากเชื้อไวรัส RNA ชนิดไม่มีเปลือกหุ้ม family Reoviridae genus Orbivirus เชื้อนี้ถูกยับยั้งได้ด้วยความร้อน มากกว่า 140°F สารละลายฟอร์มาลิน ß-propriolactone อนุพันธ์ ของ acetylethyleneimine หรือ การฉายรังสีและถูกทำลายได้
ด้วยความเป็นกรดด่างที่ pH น้อยกว่า 6 หรือมากกว่า 12 นอกจากนี้สามารถใช้น้ ายาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น 2% กรดอะซิติก หรือ กรดซิตริก ในการฆ่าเชื้อโรคได้

สัตว์ที่ไวต่อการเกิดโรค

ม้า ลา ล่อ ม้าลาย อูฐ และสุนัข โดยมักท าให้ม้าและล่อแสดงอาการป่วยรุนแรงและตาย ส่วนในลา และม้าลายจะแสดงอาการแบบไม่รุนแรง ทั้งนี้ไม่พบรายงานการติดต่อจากสัตว์สู่คน

Advertisement

ระบาดวิทยา

ไม่มีรายงานการเกิดโรคนี้ในประเทศไทย แต่พบรายงานการเกิดโรคในทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง ประเทศอียิปต์ สเปน โปรตุเกส โมร็อกโค ปากีสถาน และอินเดีย

การติดต่อ

  1. จากการถูกแมลงกัด เช่น ตัวริ้น genus Culicoides ได้แก่ Culicoides imicola และ Culicoides bolitinos ยุง และ แมลงวันดูดเลือดใน genus Stomoxys และ Tabanus
  2. สัตว์ที่กินเนื้อ สามารถติดโรคจากการกินเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อ

ระยะฟักตัวของโรค

ประมาณ 2-21 วัน

อาการ

สัตว์ที่ติดเชื้อโรคกาฬโรคแอฟริกา จะแสดงอาการได้ 4 รูปแบบ คือ

  • แบบเฉียบพลันรุนแรง (peracute หรือ pulmonary form) สัตว์จะมีไข้สูง และแสดงอาการ ทางระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง รูจมูกขยาย ยืดคอไปข้างหน้า หายใจลำบาก ไอ มีน้ำามูก เป็นฟองสีเหลืองขุ่น (frothy serofibrinous) สัตว์จะตายภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังจากแสดงอาการ
  • แบบกึ่งเฉียบพลัน (subacute edematous หรือ cardiac form) สัตว์จะมีไข้สูงประมาณ 3-6 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดลง และมีอาการบวมน้ำบริเวณขมับ (supraorbital fossae) เปลือก ตา แก้ม ริมฝีปาก ลิ้น บริเวณขากรรไกร คอ ไหล่ และหน้าอก แต่ไม่พบการบวมน้ำที่ส่วนล่าง ของลำตัว เช่น ขา นอกจากนี้จะมีอาการซึม เสียดท้อง มีจุดเลือดออกบริเวณลิ้น และ เยื่อบุตา สัตว์จะตายจากภาวะหัวใจล้มเหลว หากสัตว์หายป่วย อาการบวมน้ำจะลดลงใน 3-8 วัน
  • แบบเฉียบพลัน (acute หรือ mixed form) สัตว์จะแสดงอาการทั้งทางระบบทางเดินหายใจ และมีภาวะบวมน้ำ
  • แบบไม่รุนแรง (horsesickness fever) สัตว์จะมีไข้ประมาณ 3-8 วัน โดยไข้จะลดในตอนเช้า และมีไข้สูงในตอนบ่าย อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือ ซึม เบื่ออาหาร บวมน้ำบริเวณขมับ เยื่อเมือก มีจุดเลือดออก และหัวใจเต้นเร็ว สัตว์ที่ป่วยแบบไม่รุนแรงมักหายจากอาการป่วยได้

การควบคุมและป้องกันโรค

  1. ควรตรวจสุขภาพสัตว์เป็นประจำ หากพบสัตว์ป่วยต้องแยกออกจากฝูง เพื่อป้องกันการเกิดโรค
  2. กำจัดแมลงดูดเลือดที่เป็นพาหะของโรค หรือป้องกันไม่ให้แมลงดูดเลือดสามารถดูดเลือดสัตว์ได้ โดยการให้ม้าอยู่ในคอกที่ใช้มุ้ง หรือตาข่ายในการป้องกันแมลงดูดเลือด โดยเฉพาะในเวลาที่แมลง ดังกล่าวออกหากิน เช่น ช่วงเวลาพลบค่ า ถึงเช้ามืด หรือใช้ยาฆ่าแมลงที่เหมาะสมพ่นบริเวณคอก และตัวม้า
  3. กรณีที่มีการระบาดของโรค ต้องมีการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกบริเวณที่เกิดโรค
  4. กรณีที่นำสัตว์ใหม่เข้าฝูง ควรกักไว้อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อตรวจร่างกายและสังเกตอาการป่วย
  5. ทำความสะอาดคอก บริเวณที่เลี้ยงสัตว์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button