เรื่องน่าสนใจ

ประวัติปิงปอง (เทเบิลเทนนิส) กติกา และวิธีการเล่น

เทเบิลเทนนิส (Table tennis) หรือ ปิงปอง (Pingpong) มีมานานกว่า 140 ปี แล้วหลายคนคงอยากรู้จักกับประวัติปิงปอง และกฏกติกาเทเบิลเทนนิส ให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชมและเชียร์เวลามีการแข่งขัน

ประวัติเทเบิลเทนนิส

ประวัติเทเบิลเทนนิส

เป็นกีฬาที่รู้จักกันดีมาเป็นระยะเวลานานมาก และยังแพร่หลายได้รับความนิยมเล่นกันอยู่ทั่วโลก กีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่สามารถนำมาเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนาน สร้างสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดีเพราะลักษณะการเล่นง่าย เป้าหมาย คือ การตีลูกบอลเพื่อให้ข้ามตาข่าย และกระเด้งไปบนครึ่งโต๊ะของฝ่ายตรงข้าม โดยที่ไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามตีคืนมาได้

เมื่อกีฬาเทเบิลเทนนิสได้รับความนิยมและแพร่หลายไปทั่วโลก ประเทศในยุโรปจึงได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาขึ้นที่กรุงบอนน์ เยอรมันตะวันตก ในเดือน มกราคม 1926 มีประเทศที่เข้าร่วมประชุม คือ เยอรมันตะวันตก ฮังการี และออสเตรีย โดยที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (International Table Tennis Federation) ขึ้น หรือที่เรียกชื่อย่อว่า ITTF เมื่อเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และทำการจดทะเบียนตามกฎหมายเลขที่ 1907

การแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งแรกจัดขึ้น ณ ห้องสมุดของ เลดี้ สเวย์ธลิ่ง ที่ ลอนดอนใน ปี 1926 และจากนั้นจนถึง ปี 1939 ได้มีการมอบถ้วยรางวัลประเภททีมชายในการแข่งขันชิงแชมป์โลก จึงได้ตั้งชื่อการแข่งขันนี้ว่า สเวย์ธลิ่งคัพ (Swaythling Cup) และในที่ประชุมยังมีมติให้ผ่านกฎบัตรของสหพันธ์ฯ ให้มีการจัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงแชมป์โลกขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ซึ่งในระยะแรก ได้กำหนดให้มีการจัดการแข่งขันปีละหนึ่งครั้ง ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็น 2 ปีต่อครั้ง และให้การประชุมผู้แทนเป็นองค์การที่มีอำนาจสูงสุดของสหพันธ์ โดยที่ประชุมได้คัดเลือกเอากติกาของการแข่งขันเทเบิลเทนนิสฉบับร่างของประเทศฮังการีที่เสนอต่อสหพันธ์ เพื่อใช้กติกาให้เป็นมาตรฐานสากล และที่ประชุมยังได้เลือกตั้งคณะกรรมการเพื่อเป็นองค์กรนำและเป็นผู้แทนสหพันธ์ฯ ซึ่งได้เซอร์มองตากูร์ เป็นประธานกรรมการของสหพันธ์ และมีประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นนับแต่บัดนั้นมาเป็นเวลาเกือบ 60 ปีจนถึงปัจจุบัน สหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติมีสมาชิกกว่า 100 ประเทศจากทุกทวีปทั่วโลก

กติกาปิงปอง

กติกาปิงปอง

การส่งลูกที่ถูกต้อง ลูกจะต้องอยู่ที่ฝ่ามือแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ สูงไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร การรับลูกที่ถูกต้อง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีข้ามตาข่ายมากระทบแดนของตนครั้งเดียว ต้องตีกลับให้ข้ามตาข่าย หรืออ้อมตาข่ายกลับไป ลูกที่ให้ส่งใหม่ คือ ลูกเสิร์ฟติดตาข่าย แล้วข้ามไปตกแดนคู่ต่อสู้หรือเหตุอื่นที่ผู้ตัดสินเห็นว่าจะต้องเสิร์ฟใหม่

การแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทเดี่ยวและประเภทคู่ การนับคะแนน ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกา จะเสียคะแนน ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะ

การแข่งขันประเภททีมมี 2 แบบ คือ

  • SWAYTHLING CUP มีผู้เล่นครั้งละ 3 คน
  • CORBILLON CUP มีผู้เล่นครั้งละ 2 – 4 คน
อุปกรณ์เทเบิลเทนนิส

อุปกรณ์เทเบิลเทนนิส

โต๊ะปิงปอง

ในประเทศไทย จะมีทั้งโต๊ะปิงปองที่ผลิตเองในประเทศไทย และนำเข้ามาจากต่างประเทศ จำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดในส่วนของโรงงานที่ผลิตในประเทศไทยก็จะเน้นจำหน่ายโต๊ะราคาถูก ๆ โดยใช้แบรนด์ของตนเอง ขนาดโต๊ะปิงปอง จะมีความหนาของหน้าโต๊ะก็จะประมาณ 15 มิลลิเมตร และ 20 มิลลิเมตร ส่วนโต๊ะปิงปองนำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะเป็นยี่ห้อที่เป็นรู้จักกับทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติให้ใช้ในการแข่งขันได้ทั่วโลก คุณภาพจึงย่อมจะดีกว่า แต่ก็จะมีราคาที่สูงกว่าราคาโต๊ะที่ผลิตในประเทศอย่างแน่นอน

เสาและผ้าเน็ตปิงปอง

ควรดูที่ความแข็งแรงของขาเหล็กและความมั่นคงของตัวยึดเสาเน็ตเข้ากับโต๊ะปิงปองเป็นอันดับแรก เมื่อติดตั้งเสาเข้ากับโต๊ะปิงปองจะต้องไม่โยกเยกไปมา จากนั้นจึงเลือกที่ผ้าเน็ตปิงปอง ซึ่งควรจะมีเชือกร้อยกลางตลอดทั้งผืน และสามารถยึดเข้ากับเสาเน็ตได้อย่างแน่น เพื่อป้องกันมิให้ผ้าเน็ตหย่อนหรือไม่ตึง เพราะจะส่งผลถึงการกระดอนของลูกปิงปองที่ตีมาโดนส่วนบนของผ้าเน็ตได้

ลูกปิงปอง

ปัจจุบันลูกปิงปองมีขายอยู่มากมายหลายยี่ห้อตามท้องตลาด ซึ่งมีทั้งของจริง และ ของปลอม ขายปะปนกันอยู่ ดังนั้นวิธีการเลือกซื้อลูกปิงปองให้คุ้มค่ากับเงินที่ท่านต้องเสียไป

ไม้ปิงปอง

ในสมัยนั้นใช้ไม้ธรรมดาตีกับลูกซึ่งทำด้วยไม้ก๊อกหรือยางแข็ง และมักจะหุ้มด้วยผ้าเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย แล้วใช้ไม้ กระดานเป็นเน็ต ปี 1900 เจมส์ กิบบ์ (Mr. James Gibb) ชาวอเมริกันได้มีการพัฒนาการเล่นเทเบิลเทนนิส ได้นำลูกเทเบิลเทนนิสที่ทำจากเซลลูลอยด์มาใช้ในประเทศอังกฤษแทนลูกไมก๊อกหรือยางแข็ง จากการใช้ลูกเซลลู ลอยด์ ซึ่งภายในมีลักษณะกลวง เมื่อลูกเซลลูลอยด์มากระทบไม้ตีจะเกิดเสียง “ปิง” และเมื่อลูกเซลลูลอยด์ไปกระทบกับพื้นโต๊ะเกิดเสียง “ปอง” เพราะเหตุนี้เองจึงได้ตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า “ปิงปอง”

ปี 1902 อี. ซี. กูด (Mr. E.C. Good) ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้เทเบิลเทนนิสที่หุ้มด้วย ยาง ซึ่งทำให้การตีมีประสิทธิภาพกว่าไม้ธรรมดา สามารถบังคับลูกได้ดีกว่า กีฬาประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมของบุคคล ทั่วไปในหลายประเทศเนื่องจากเล่นง่าย อุปกรณ์หาง่ายราคาถูก และเกิดความสนุกสนานน่าดู ประเทศที่ส่งเสริม กีฬานี้ได้พยายามปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เช่น อเมริกา ซึ่งเป็นผู้คิดค้นลูกเซลลูลอยด์ขึ้นมา ฮังการี คิดค้นการ เสิร์ฟลูกแบบกระดอน อังกฤษ ผู้ซึ่งคิดค้นไม้หุ้มยางออกมาใช้ เยอรมันนี เป็นที่ส่งเสริมการจัดการแข่งขัน และ ปรับปรุงกฎกติกาการเล่นต่าง ๆ ญี่ปุ่น และจีนได้พัฒนาการจับไม้แบบธรรมดา มาเป็นการจับไม้แบบจับปากกาหรือ ที่เรียกว่า “ไม้จีน ”

เทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย

ประวัติกีฬาเทเบลิเทนนิสในประเทศไทย สำหรับในประเทศไทย คนไทยรู้จักคุ้นเคยและเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสกันมานานแล้ว แต่โดยทั่วไป มักรู้จักกันในชื่อว่า “ปิงปอง” มากกว่าชื่อเทเบิลเทนนิส อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำเข้า มาและเริ่มเล่นกันครั้งแรกเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงมีการเล่นแข่งขันตลอดจนมีการเรียนการสอนเทเบิลเทนนิสกัน ในประเทศ ไทยมาไม่น้อยกว่า 30 ปีแล้ว

ในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดตั้ง สมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น และได้จัดให้มีการแข่งขันเทเบิลเทนนิสกันอย่างกว้างขวางแพร่หลายมากขึ้นทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ แม้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสจะเป็นกีฬาเล็ก ๆ แต่บทบาทและความสำคัญของกีฬาเทเบิลเทนนิสมิได้ด้อยไปกว่ากีฬาใหญ่ ๆ เลย ดังจะเห็นได้ว่าในระยะปลายปี พ.ศ. 2515 ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาเทเบิลเทนนิสไปทำการแข่งขัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับนักกีฬาของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้นมา

ทำให้ประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการติดต่อกันเช่นดังเดิมได้อีก นับว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสมีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทยมาก ประโยชน์และคุณค่าของกีฬาเทเบิลเทนนิส การเล่นเทเบิลเทนนิสก่อให้เกิดประโยชน์ และคุณค่าแก่ผู้เล่นมากมายหลายประการด้วยกันซึ่งพอจะ จำแนกประโยชน์ของเทเบิลเทนนิสออกได้เป็น 4 ด้าน คือ

ประโยชน์และคุณค่าทางด้านร่างกาย

  • ทำให้ร่างกายแข็งแรงพอเหมาะ เพราะเป็นกีฬาที่เล่นง่าย เล่นก็ไม่หนักและไม่เบา เกินไปมีการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมในการสร้างความแข็งแรงขั้นพื้นฐาน
  • ทำให้ร่างกายมีความว่องไว ปราดเปรียว เพราะเป็นกีฬาที่มีการเล่นที่รวดเร็วว่องไว
  • ช่วยฝึกหัดใช้สายตาให้ว่องไวมองเห็นการเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว
  • ช่วยฝึกหัดการใช้แขน ขา ลำตัว และส่วนอื่น ๆ ของร่างกายให้สัมพันธ์กันได้ดียิ่งขึ้น
  • ทำให้ร่างกายมีรูปร่างได้สัดส่วนพอเหมาะ เพราะเป็นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ทุกส่วน และไม่หักโหม

ประโยชน์และคุณค่าทางด้านจิตใจและอารมณ์

  • ทำให้มีความสนุกสนานร่าเริง เพราะการเล่นเทเบิลเทนนิส เป็นการเล่นที่เร้าใจตลอด
  • ทำจิตใจแจ่มใส สดชื่น กระปรี้กระเปร่า เพราะเป็นกีฬาที่เคลื่อนไหวและกระตือรือร้น
  • ช่วยให้เกิดสมาธิในการปฏิบัติงาน เพราะการเล่นต้องมีความมั่นคงของอารมณ์ และ จิตใจไม่วอกแวก เช่น การเสิร์ฟลูก
  • ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อบุคคลอื่น มีจิตใจหนักแน่นและไม่เกิดอารมณ์เสียได้ง่าย

ประโยชน์และคุณค่าทางด้านสังคม

  • ทำให้รู้จักเพื่อนมากขึ้น โดยใช้เทเบิลเทนนิสเป็นสื่อ
  • ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
  • ทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างวัย เพราะเป็นกีฬาที่เล่นได้ทุกเพศและวัย
  • ช่วยสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเอง สถาบัน และสังคม

ประโยชน์และคุณค่าทางด้านสังคม

  • ช่วยลดค่าใช้จ่าย เป็นการประหยัด เพราะเป็นกีฬาที่เล่นได้ง่าย อุปกรณ์การเล่นราคาถูก
  • สะดวกในการเล่น และจัดการแข่งขัน ทำให้ได้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถานที่เล่น และการจัดแข่งขันมากมายเช่นกีฬาประเภทอื่น

การจับไม้ปิงปอง

การจับไม้ในการเล่นเทเบิลเทนนิสมี 2 ลักษณะ คือ

การจับไม้ปิงปองแบบจับมือ

การจับไม้ปิงปองแบบจับมือ

การจับไม้แบบจับมือหรือการจับแบบขวาง หรือการจับไม้แบบธรรมดา เป็นวิธีการจับไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักกีฬาเทเบิลเทนนิสในกลุ่มประเทศแถบทวีปยุโรป การจับไม้แบบนี้เหมาะสำหรับผูเล่นที่เพิ่งเริ่มต้นฝึกหัดการเล่น

วิธีปฏิบัติ

  1. ใช้มือขวาหรือมือข้างที่ถนัดจับไม้เหมือนกับว่ากำลังจะจับมือคนอีกคนหนึ่งโดยจับด้ามไม้ให้อยู่ในระหว่างหัวแม่มือกับนิ้วชี้
  2. วางนิ้วหัวแม่มือบนหน้าไม้ด้านหนึ่งของบริเวณส่วนโคนไม้ โดยที่หน้าไม้ด้านที่วางนิ้วหัวแม่มือนี้จะเป็นด้นสำหรับการตีลูกหน้ามือ
  3. วางนิ้วชี้ขนานไปตามแนวขวางของส่วนปลายโคนไม้บนหน้าไม้อีกด้านหนึ่ง โดยที่หน้าไม้ที่วางนิ้วชี้นี้จะเป็นด้านสำหรับการตีลูกหลังมือ และงอนิ้วที่เหลืออีก 3 นิ้ว คือ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยกำรอบด้ามไม้
  4. จับไม้ให้พอดีมือ สบาย ๆ ไม่เกร็ง
การจับไม้ปิงปองแบบจับปากกา

การจับไม้ปิงปองแบบจับปากกา

การจับไม้แบบจับปากกา หรือการจับแบบหิ้วไม้ เป็นวิธีการจับไม้ที่ผู้เล่นในประเทศแถบทวีปเอเซียนิยม การจับไม้แบบนี้ช่วยให้ผู้เล่นตีลูกได้เร็วขึ้น และมีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เพื่อรับลูกจากฝ่ายตรงข้าม การจับไม้แบบจับปากกาจึงเหมาะสมสำหรับการเล่นลักษณะจู่โจม หรือการเล่นรุกอย่างรุนแรง

วิธีปฏิบัติ

  1. จับไม้คล้ายว่ากำลังจับปากกา โดยจับให้สบาย ๆ พอดีมือ ไม่เกร็ง
  2. วางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ประกบกันจับด้ามไม้ไว้ด้านหนึ่ง
  3. งอนิ้วอีก 3 นิ้วที่เหลือ คือนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย บนหน้าไม้อีกด้านหนึ่งเพื่อช่วยประคองไม้ หรืออาจวางราบบนส่วนล่างของไม้ก็ได้

ทิ้งท้าย

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลคร่าว ๆ ของกีฬาเทเบิลเทนนิส หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจกฏกติกา และประวัติปิงปองกันมากขึ้น

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button