เรื่องน่าสนใจ

ประวัติเปตอง กฎกติกา และวิธีการเล่น

หลายคนก็คงอยากรู้จักกับประวัติเปตองและกฏกติกาเปตอง ให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชมและเชียร์เวลามีการแข่งขัน

เปตอง เป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่เล่นโดยการโยนลูกบอลเหล็กให้เข้าใกล้ ลูกแก่น (cochonnet) ที่ทำจากไม้ให้มากที่สุด กีฬาชนิดนี้มักเล่นบนพื้นดินแข็งหรือพื้นกรวดละเอียด แต่ไม่เหมาะกับพื้นทราย

ประวัติเปตอง

ประวัติเปตอง

เปตองเป็นกีฬากลางแจ้งประเภทหนึ่งซึ่งมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ประวัติที่แน่นอนนั้นไม่มีการบันทึกไว้ แต่มีหลักฐานจากการเล่าสืบต่อ ๆ กันมาว่า กำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศกรีซ เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเก็บก้อนหินที่เป็นทรงกลมจากภูเขาและใต้ทะเลมาเล่นกัน ต่อมากีฬาเปตองได้แพร่หลายเข้ามาในทวีปยุโรป เมื่ออาณาจักรโรมันครองอำนาจและเข้ายึดครองดินแดนของชนชาวกรีกได้สำเร็จ ชาวโรมันได้ใช้กีฬาประเภทนี้เป็นเครื่องทดสอบกำลังข้อมือและกำลังกายของผู้ชายในสมัยนั้น

เมื่ออาณาจักรโรมันเข้ายึดครองดิน แดนชาวโกลหรือประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน ชาวโรมันก็ได้นำเอาการเล่นลูกบูลประเภทนี้เข้าไปเผยแพร่ทางตอนใต้ของประเทศ ฝรั่งเศส การเล่นลูกบูลจึงได้พัฒนาขึ้นโดยเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็งถากเป็นรูปทรงกลม แล้วใช้ตะปูตอกรอบ ๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักของลูกให้เหมาะกับมือ

ในยุคกลาง การเล่นลูกบูลนี้เป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในประเทศฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้านโปเลียนมหาราชขึ้นครองอำนาจ พระองค์ได้ทรงประกาศให้การเล่นลูกบูลนี้เป็นกีฬาประจำชาติของฝรั่งเศส และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เล่นกัน การเล่นลูกบูลนี้จึงได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดมา จนมีการตั้งชื่อเกมกีฬาประเภทนี้ขึ้นมาเล่นอย่างมากมายต่าง ๆ กัน เช่น บูลเบร-รอตรอง, บูลลิโยเน่ส์, บูลเจอร์ เดอร์ลอง และบลู-โปรวังซาล เป็นต้น

ในที่สุดก็ฝรั่งเศสได้มีการก่อตั้ง “สหพันธ์ เปตองและโปรวังซาล” ขึ้นในปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) จากนั้นจำนวนสมาชิกก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีบุคคลทุกระดับชั้นทุกเพศ ทุกวัยเข้าเป็นสมาชิก ลูกบูลที่ใช้เล่นก็มีการคิดค้นทำเป็นลูกโลหะผสมเหล็กกล้า ข้างในกลวง การเล่นจึงมีความสนุกสนานเร้าใจยิ่งขึ้นกว่าเดิม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่ได้ดัดแปลงแก้ไขใหม่นี้ได้รับความนิยมเล่น มากขึ้น และได้แพร่หลายไปตามหัวเมืองต่าง ๆ อย่างรวดเร็วทั่วประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนถึงดินแดน อาณานิคมของฝรั่งเศสอีกด้วย

ประวัติเปตองในประเทศไทย

กีฬาเปตองได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ ปี 2518 โดยการริเริ่มของนายจันทร์ โพยหาญ นำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ให้คนรู้จัก อย่างเป็นทางการคนแรก นายจันทร์ โพยหาญได้ร่วมกับนายศรีภูมิ สุขเนตร ซึ่งเป็นอดีตนักเรียนเก่าฝรั่งเศส ซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านกีฬาเปตองเป็นอย่างดี ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมเปตอง และโรปวังซาล แห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519 โดยมีนายศรีภูมิ สุขเนตร เป็นนายกสมาคมคนแรกเมื่อจัดตั้งสมาคมเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการได้ช่วยกันรณรงค์เผยแพร่ และสาธิตการเล่นเปตองมาโดยตลอด แต่ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร

ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีทรงช่วยส่งเสริม และเผยแพร่ให้อีกทางหนึ่ง โดยทรงรับสั่งให้จัดการแข่งขันเปตองชิงชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ซึ่งพระองค์ท่านและสมเด็จพระพี่นางเอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ ทรงได้ลงร่วมทำการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย และอีกหลาย ๆ รายการจึงให้สมญานามกีฬาเปตองว่า “กีฬาสมเด็จย่า” ในปี 2527 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ รับสมาคมเปตองและโปรวังซาล แห่งแระเทศไทย ไว้ในพระอุปถัมภ์ และวันที่ 22 เมษายน 2530 เปลี่ยนชื่อสมาคมเปตองฯ เป็นสหพันธ์เปตอง แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ สำนักงานตั้งอยู่ที่ 2088 อินเดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก กรุงเทพฯ ปัจจุบันกีฬาเปตอง มีการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬา ของส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชนด้วย เช่น กีฬาแห่งชาติ กีฬาเขตการศึกษา กีฬากองทัพไทย กีฬามหาวิทยาลัย กีฬาของกระทรวงต่าง ๆ กีฬารัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

กติกาเปตอง และวิธีการเล่นเปตอง

กติกาเปตอง และวิธีการเล่นเปตอง

  1. แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายเท่า ๆ กัน ตั้งแต่ 1-3 คน
  2. เริ่มด้วยการเสี่ยงทาย เพื่อเลือกว่าฝ่ายใดเป็นผู้เริ่มเริ่มก่อน
  3. ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงทายจะเป็นฝ่ายเริ่มเล่นก่อน โดยผู้เล่นเลือกจุดเริ่มต้นเขียนวงกลมลงบนพื้นสนาม มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 35-50 เซนติเมตร แต่ต้องห่างจากเส้นเขตสนามหรือสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 1 เมตร
  4. เมื่อเขียนวงกลมแล้ว ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงจะต้องเข้าไปยืนอยู่ในวงกลม แล้วโยนลูกเป้าให้ห่างออกไปจากจุดเริ่มต้นไม่น้อยกว่า 6-10 เมตร ถ้าโยนไม่ได้ระยะที่กำหนดผู้โยนจะต้องโยนใหม่ หากครบ 3 ครั้งแล้วยังไม่ได้ตามกติกาต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้โยนลูกเป้าแทน และมีสิทธิโยนได้ 3 ครั้งเหมือนกัน
  5. เมื่อโยนลูกเป้าได้ถูกต้องแล้ว ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นฝ่ายโยนลูกเปตองให้ไปอยู่ใกล้ลูกเป้ามากที่สุด ขณะโยนเท่าทั้งสองข้างต้องอยู่ภายในวงกลม ห้ามเหยียบเส้น ห้ามยกเท้า และต้องคอยให้ลูกตกถึงพื้นก่อน จึงจะออกจากวงกลมได้
  6. หากฝ่ายใดโยนลูกเปตองหมดก่อน อีกฝ่ายที่มีลูกเปตองเหลือ ก็จะต้องโยนลูกที่เหลือจนหมด และต้องพยายามให้ลูกเปตองขอฝ่ายตนเข้าใกล้ลูกเป้ามากที่สุด เพื่อจะได้คะแนนมาก ๆ

การนับคะแนน

ให้นับเมื่อทั้งสองฝ่ายโยนลูกเปตองหมดในแต่ละเที่ยว ลูกของฝ่ายใดอยู่ใกล้ลูกเป้ามากที่สุด ฝ่ายนั้นจะได้ลูกละ 1 คะแนน ฝ่ายที่ชนะคือฝ่ายที่ทำคะแนนถึงเกมส์ที่กำหนดก่อน คือ 11 คะแนน ส่วนในรอบชิงชนะเลิศให้เพิ่มเป็น 13 คะแนน

วิธีการจับลูกเปตอง

  1. หงายมือวางลูกบูลลงไปในอุ้มมือในท่าที่สบาย (รูปที่1)
  2. หรือคว่ำมือจับลูก (รูปที่2)
  3. ทั้งนี้จะจับแบบใดก้ได้แต่ความถนัดของแต่ละบุคคล
  4. ก่อนโยนลูกให้คว่ำมือลงดังรูปที่ 3,4,5,6 เหตุที่ต้องคว่ำมือเพราะจะสามารถบังคับลูกให้ไปตามทิศทางที่เราต้องการได้ไม่ว่าลูกที่ปล่อยไปนั้นเป็นลูกเข้าหรือลูกตี
  5. ก่อนโยนให้หักข้อมือลง และม้วนเข้าหาข้อมือ ในจังหวะสุดท้าย ที่จะปล่อยลูกให้ใช้อุ้งมือส่งลูกออกไป โดยใช้ปลายนิ้วบังคับลูก
    หลักการบังคับลูกเปตอง

นักเปตองที่ฝึกหัดใหม่ มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการบังคับลูกเปตองอย่างมาก สาเหตุอาจมาจากการฝึกที่ผิด หรือการไปจำวิธีการผู้อื่นแล้วนำมาฝึกอย่างผิด โดยขาดการแนะนำ หรือจากการฝึกที่ฝืนธรรมชาติของตนเอง การฝึกการบังคับลูก ไม่ว่าจะเป็นลูกเข้าหรือลูกตี ลูกหมุนซ้าย หมุนขวา หรือลูกสกรู (ลูกหมุนกลับหลัง) ปลายนิ้วมือและข้อมือมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการบังคับลูก

หลักการเข้าลูกบูล

การเข้าลูกบูล ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเล่นเปตอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร มีหลักการเข้าลูกดังนี้

  1. ใช้ความสังเกต และจดจำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และคู่ต่อสู่
  2. ศึกาพื้นสภาพที่ใช้ฝึก หรือแข่งขัน ว่ามีสภาพเป็นเช่นไร แข็ง เรียบ ขรุขระ ฯลฯ
  3. หาจุดตก เพื่อจะได้คำนวณน้ำหนักมือที่จะส่งลูก ให้พอเหมาะกับระยะ
  4. ไม่ควรโยนลูกออกจากมือ ถ้าสมาธิยังไม่ดีพอ

นอกเหนือจาก 4 ประการนี้แล้ว สิ่งที่อาจทำให้การเข้าลูกไม่ดีเท่าที่ควรก็คือ ลูกบูลน้ำหนักและมือไม่สมดุลกัน การเข้าลูกมี 2 ลักษณะ คือ นั่งกับยืน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือยืน เท้าทั้งสองข้างจะต้องอยู่ในวงกลม ไม่เหยียบกัน และไม่ยกเท้าในขณะโยนลูก

นอกเหนือจาก 4 ประการนี้แล้ว สิ่งที่อาจทำให้การเข้าลูกไม่ดีเท่าที่ควรก็คือ ลูกบูลน้ำหนักและมือไม่สมดุลกัน การเข้าลูกมี 2 ลักษณะ คือ นั่งกับยืน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือยืน เท้าทั้งสองข้างจะต้องอยู่ในวงกลม ไม่เหยียบกัน และไม่ยกเท้าในขณะโยนลูก
ลักษณะการนั่งเข้าลูก นั่งบนส้นเท้า มีเท้านำ และเท้าตาม เขย่งส้นเท้าขึ้น และเท้าทั้งสองต้องอยู่ในวงกลมไม่เหยียบเส้น

ยืนเข้าแบบเท้าคู่ลักษณะการยืนเข้า หรือการตีลูก ยืนเท้าคู่ หรือแบบมีเท้านำก็ได้แล้วแต่ความถนัด ของแต่ละบุคคล แต่ถ้าถนัดโยนลูก , ตีลูก ด้วยมือขวา ควรยืนเท้าขวานำเล็กน้อย เพื่อให้การทรงตัวมีฐานที่มั่นคง

วิธีการเข้าลูก

วิธีการเข้าลูกมีอยู่ 3 แบบ คือ

  1. การโยนลูกระยะใกล้ (ลูกไลน์) การโยนลูกระยะใกล้ (ลูกไลน์) เป็นการโยนลูกให้ตกตั้งแต่จุดโยนหรือไม่เกิน 3 เมตร จากจุดโยน ใช้แรงเหวี่ยงจากแขน ข้อมือ และปลายนิ้วส่งลูก ระยะทางที่ลูกบูลวิ่งเข้าหาเป้าจะมีระยะทางไกลทิศทางของลูกบูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามลักษณะของพื้นสนามการโยนลูกนี้เหมาะสำหรับสนามเรียบเท่านั้น
  2. การโยนลูกระยะกลาง (ฮาฟดร๊อป) การโยนลูกระยะกลาง (ฮาฟดร๊อป) เป็นการโยนลูกให้ตกเกือบกึ่งกลางระหว่างจุดเริ่มกับลูกเห้าต้องโยนลูกให้สูงกว่าการโยนลูกระยะใกล้ และทุกลูกที่โยนออกไปต้องเป็นลูกที่หมุนกลับหลัง (ลูกสกรู) ข้อสำคัญของการโยนลูกคือ จุดตก การโยนลูกนี้เหมาะสำหรับพื้นสนามที่ไม่เรียบ เป็นหลุม พื้นสนามแข็ง ขระขระ หรือ จุดตกของการปล่อยลูกระยะใกล้เป็นหลุมไม่สามารถหาจุดตกได้
  3. การโยนลูกโด่ง (ดร๊อฟ) การโยนลูกโด่งต้องโยนให้สูงกว่าลูกระยะกลาง และต้องให้ลูกหมุนกลับหลัง (สกรู) มากกว่า โดยใช้ปลายนิ้วสกรูลูก ไม่ใช่เป็นการกระดกข้อมูล การโยนลูกนี้จุดตกมีความสำคัญมาก ลูกนี้เหมาะสมกับพื้นสนามที่ไม่เรียบ เปียกแฉะ เป็นหลุมเป็นบ่อ ต้องโยนให้เกือบถึงลูกเป้า ห่างจากลูกเป้า ประมาณ 50-100 ซม. ทั้งนี้ต้องแล้วแต่พื้นสนาม ในการแข่งขันระดับโลกส่วนใหญ่จะใช้โยนลูกลักษณะนี้ เพราะสนามแข่งขันเป็นหินเกร็ด

วิธีการฝึกเข้าลูก

  • วิธีที่ 1 ให้เขียนวงกลมเป็นเป้าหมายซ้อนกันหลาย ๆ วง วงในสุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. วงนอกต่อ ๆ มาห่างกันวงละ 10-15 ซม. กำหนดคะแนนวงในให้ 5 คะแนน วงต่อ ๆ มาเป็น 4,3,2,1 ตามลำดับ แล้วฝึกเข้าลูกจากระยะ 6 เมตร 6,5,7,7.5 ไปเรื่อย ๆ จนถึง 11 เมตร ฝึกโยนทุกระยะ ระยะละ 40-50 ลูก แล้วจดบันทึกคะแนนแต่ละระยะไว้เพื่อเปรียบเทียบถึงความบกพร่อง ระยะใดที่มีความบกพร่องมากก็ให้ฝึกระยะนั้นมากขึ้น
  • วิธีที่ 2 ให้เขียนสี่เหลี่ยมมีลูกเป้าอยู่ในสี่เหลี่ยมในสุด ซึ่งมีรัศมี 20 ซม. จากนั้นให้ทำสี่เหลี่ยมซ้อนไปเรื่อย ๆ เส้นห่าง 5-10 ซม. กำหนดคะแนน 5,4,3,2,1 ตามลำดับ ในแต่ละเส้นล่างของสี่เหลี่ยมจะมีลูกบูลอยู่โดยวางแบบสลับฟันปลา กำหนดจุดในการฝึกเหมือนวิธีที่ 1 ระยะใดบกพร่องก็ให้ฝึกระยะนั้นมาก ๆ
  • วิธีที่ 3 การฝึกเข้าเหมือนแบบที่ 1 แต่เพิ่มลูกบูลดักไว้ ถ้าเข้าถูกลูกบูลที่วางไว้ถือว่าฟาวล์ตองติดลบคะแนน ฝึกให้ชำนาญ

วิธีการฝึกตีลูก

การตีลูกเป็นส่วนสำคัญของการเล่นเปตองอีกประการหนึ่ง เมื่อไม่สามารถเข้าลูกให้ชนะคู่ต่อสู้ได้ ต้องอาศัยการตีลูกเพื่อให้ลูกของคู่ต่อสู้ออกจากจุดที่ตั้งอยู่ ผู้เล่นที่ฝึกหัดใหม่มักเผชิญต่อความยากลำบากในการตีและบังคับลูก สาเหตุอาจมาจากข้อบกพร่องดังนี้

  1. ผู้เล่นจับลูกไม่ถูกวิธี และขาดสมาธิ
  2. ผู้เล่นอาจตีลูกช้า หรือเร็วเกินไป
  3. การประสานงานของแรงตีลูกไม่ถูกจังหวะ
  4. การวางตัว และวางเท้าผิดจากความถนัดของตนเอง
  5. แขนงอ หรือแกว่งขณะตีลูก
  6. ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
  7. ขาดการฝึกซ้อมหรือเว้นระยะการฝึกซ้อมนานเกินไป
  8. ลูกเปตอง (ลูกบูล) มีขนาดและน้ำหนักไม่สมดูลกัน

แต่ถ้าผู้ฝึกพบว่าสาเหตุต่าง ๆ ของการตีเกิดขี้นเพราะสาเหตุใด หรือหลายสาเหตุ ให้แก้ไขดัดแปลงวิธีการฝึกทีละขั้นแต่ต้องจับ และวางลำตัว เท้าให้ถูกต้อง โดยอาศัยแรงจาก 3 แหล่งใหญ่ คือ

  1. แรงตีที่เกิดจากการเหวี่ยงของแขน
  2. แรงตีที่เกิดจากการดีดตวัดข้อมือและนิ้วมือ
  3. แรงตีที่เกิดจากำลังขาทั้งสองข้าง โดยการย่อเข่าช่วยเล็กน้อย
    วิธีการฝึกตีลูก วิธีที่ 1 การตีลูกเลียด (ตีไลน์) เป็นการตีลูกลักษณะเกี่ยวกับการเข้าลูกระยะใกล้ แต่ใช้ความแรงมากกว่า และเหมาะสำหรับพื้นสนามเรียบเท่านั้นทิศทางของลูกที่ตีไปหาความแน่นอนไม่ได้ หากมีลูกของฝ่ายตรงข้ามหรือของตนขวางหน้า ก็ไม่สามารถตีลูกลักษณะนี้ได้

วิธีการฝึก

  • หาจุดตกของลูก ซึ่งควรเป็นที่เรียบที่สุด
  • จุดตกที่ดีไม่ควรห่างจากลูกที่จะตีเกิน 2 เมตร (ยิ่งจุดตกห่างลูกที่ตีมากมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้มาก)
  • ก่อนที่จะตีลูกต้องมีสมาธิ และความเชื่อมั่นในตนเอง
  • ฝึกการประสานงานของแรงที่ใช้ในการตี เช่น แขน มือ นิ้วมือ ข้อมือ และขาทั้งสองข้าง
  • ฝึกอย่างสม่ำเสมอและจริงจริง

วิธีที่ 2 การตีลูกถึงตัว (ตีเจาะ) การตีลูกนี้เหมาะกับสภาพสนามทุกรูปแบบ และเป็นลูกที่นักกีฬาเปตองทั่วไปใช้กันมากที่สุด เนื่องจากการฝึกตีลูกนี้หากตีได้อย่างแม่นยำ ลูกที่ต่ำไปถูกลูกคู่ต่อสู้ เป็นจังหวะเดียวกับลูกตกถูกพื้นพอดี ลูกที่ตีมีโอกาสอยู่แทนที่ได้ด้วย การฝึกตีลูกนี้นักกีฬาไม่ต้องพะวงว่าจะมีลูกขวางหน้า
ท่าทางในการตีลูก

  • ยืนในท่าที่ถนัดที่สุด แต่เท้าทั้งสองข้างต้องไม่เหยียบเส้น และอยูในวงกลม
  • ตั้งลูกตามต้องการเพื่อฝึกตี
  • เริ่มฝึกตีจากระยะใกล้ ๆ ก่อน จาก 3 เมตร 4 เมตร 5 เมตร ต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะ 12 เมตร แล้วจดสถิติไว้ทุกวัน ๆ เพื่อนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง
  • ฝึกการประสานงานของแรงที่ใช้ในการตีลูกให้สัมพันธ์กันระหว่างการดีดตวัดข้อมือ นิ้วมือ และขาทั้งสองข้าง ระบบการหายใจก็มีส่วนสำคัญ เกี่ยวกับกับการตีลูกมาก ควรจะได้มีการฝึกให้ประสานงานให้ดี
  • ก่อนตีลูกจะต้องมีสมาธิ และความเชื่อมั่นในตัวเอง
  • ฝึกอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง
ประโยชน์ของเปตอง

ประโยชน์ของเปตอง

พัฒนาทางด้านร่างกาย

  • กำลังแขน ผู้เล่นจะต้องมีการใช้กำลังทั้งนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก และหัวไหล่ให้สัมพันธ์กัน เพื่อการบังคับลูกให้ได้จังหวะ และระยะที่ต้องการ
  • กำลังขา เท่าที่สถิติโดยประมาณจากการแข่งขันระดับชาตินั้น ผู้เล่นจะต้องเดินกลับไปกลับมาตามความยาวของสนาม คือ 15 เมตร และความกว้างของสนามคือ 4 เมตร ในระยะ 2 ชั่วโมงต่อ 1 เกม (13 คะแนน) ในระหว่างนั้นอาจจะนั่งหรือนั่งงอเข่าเพื่อ “วางหรือเข้าลูก” หรืออาจจะยืนเพื่อ “ยิงหรือตีลูก” ถ้านักกีฬาไม่ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้เกิดความเมื่อยล้า
  • สายตา กีฬาเปตองช่วยให้เกิดการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างสายตา และมือ เนื่องจากต้องใช้สายตากะระยะทาง พิจารณาแง่มุม ทิศทางการเข้า – ตี หรือโยนลูกเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามต้องการ

พัฒนาทางด้านสติปัญญา

กีฬาเปตอง เป็นเกมการเล่นที่จำเป็นต้องอาศัยการคิด การคาดคะเน การคำนวณ การอ่านเกม และการเล่นอย่างจริงจัง ซึ่งถ้าเล่นผิดพลาดแม้แต่ลูกเดียวก็อาจจะทำให้ทีมแพ้ได้ทันที แต่ในขณะเดียวกันนอกจากการคิดหาวิธีการเล่น “เกมรุก” เพื่อเป็นการบังคับคู่ต่อสู้ที่เหนือกว่าเพื่อ “พลิกเกม” การเล่นไม่ให้เป็นฝ่ายที่เสียเปรียบคู่ต่อสู้

พัฒนาทางด้านจิตใจ

  • กีฬาเปตองเป็นกีฬาที่ต้องร่วมเล่น “เป็นทีม” ในบางครั้ง ฉะนั้นวิธีการเล่นจะต้องเข้าถึงจิตใจผู้ร่วมทีมเป็นอย่างยิ่ง ในระหว่างการเล่น ถ้ามีการต่อว่ากันแม้แต่เพียงครั้งเดียวก็อาจทำให้ทีมเป็นฝ่ายแพ้ได้ทันที เพราะจะทำให้ความนึกคิดหรือจิตใจเกิดความขัดแย้งกันขึ้นอันเป็นผลทำให้การเล่นเล่นได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพของตน
  • นอกจากนี้ยังช่วยให้ได้รู้จักเป็นบุคคลที่ยอมรับฟังความคิดเห็น และเหตุผลของผู้ร่วมทีมในกรณีที่ต้องการปรึกษาวางแผนร่วมกันในระหว่างการแข่งขัน เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้

พัฒนาทางด้านสมาธิ

การเล่นเปตองนั้น สมาธิเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักกีฬา ไม่ว่าจะเล่นประเภทเดี่ยวหรือประเภททีม ผู้เล่นจะต้องฝึกการวางเฉยให้ได้ ต้องไม่วิตกกังวลมากกเกินไป ไม่ท้อถอย ไม่ตั้งความหวังมากเกินไป และที่สำคัญต้องไม่ใส่ใจเสียงของผู้ชมรอบข้างสนาม ไม่ว่าจะเป็นเสียงเชียร์เสียงข่มขวัญ หรือแม้แต่เสียงสอนเกมการเล่น เพราะจะทำให้เกิดความสับสน ไม่แน่ใจเพราะขาดสมาธิ อันจะมีผลโดยตรงต่อฝีมือของตนเองในการเล่น เปตอง

พัฒนาทางด้านสังคม

  • กีฬาเปตอง เป็นกีฬาที่เล่นง่ายในสายตาของคนไทย ฉะนั้นจึงมีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายและเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้ว่ามีการจัดการแข่งขันกีฬาเปตองตามหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อจะได้มาพบปะสังสรรค์กัน ได้รู้จักกันและร่วมสนุกสนานสามัคคีกัน นับเป็นการสร้างสังคมอันดีแก่นักกีฬาที่มาร่วมการแข่งขันโดยแท้จริง
  • นอกจากนั้น กีฬาเปตองยังได้เข้ามามีบทบาทในทางการกุศลตลอดมาในปัจจุบัน

นี่เป็นเพียงประโยชน์ส่วนหนึ่งของกีฬาเปตอง ถ้าท่านผู้อ่านอยากทราบถึงประโยชน์ที่แท้จริงซึ่งมีอีกหลายประการ หรือสนใจ เชิญพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง ณ ที่สนามแข่งขันเปตองทุกแห่งทั่วประเทศไทย และประการสำคัญท่านต้องเข้าใจกติกาเปตองสากลด้วย แล้วท่านจะได้รับความสนุกความเพลิดเพลินเกินที่ท่านคาดไว้

ทิ้งท้าย

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลคร่าว ๆ ของเปตอง หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจกฏกติกา และประวัติเปตองกันมากขึ้น

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button