เรื่องน่าสนใจ

ประวัติอาเซียน (ASEAN) อาเซียนคืออะไร มาทำความรู้จักกัน

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบให้จัดตั้ง

ประวัติอาเซียน

ประวัติอาเซียน

AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน

จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ

  1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community : AEC)
  2. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
  3. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

อาเซียนสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558

Advertisement

ปัจจุบัน บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ อาทิ โรคระบาด การก่อการร้ายยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ อีกทั้ง ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง และในเวทีระหว่างประเทศ ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น เข้มแข็ง และมั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2” (Declaration of ASEAN Concord II) ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่

  • ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
  • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio – Cultural Community – ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา

ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558

จุดประสงค์หลักของอาเซียน

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่

  1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
  2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
  3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
  4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
  5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
  7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

คำขวัญของอาเซียน

One Vision, One Identity, One Community. | หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม

10 ประเทศอาเซียน

10 ประเทศอาเซียน

ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน

บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

  • เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
  • ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
  • ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
  • นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
  • ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

กัมพูชา (Cambodia)

  • เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
  • ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
  • ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
  • นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
  • ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

อินโดนีเซีย (Indonesia)

  • เมืองหลวง : จาการ์ตา
  • ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
  • ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
  • นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
  • ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

ลาว (Laos)

  • เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
  • ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
  • ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
  • นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
  • ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)

มาเลเซีย (Malaysia)

  • เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
  • ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
  • ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
  • นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
  • ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

พม่า (Myanmar)

  • เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
  • ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
  • ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
  • นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
  • ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่ง

ฟิลิปปินส์ (Philippines)

  • เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
  • ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
  • ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
  • นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
  • ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

สิงคโปร์ (Singapore)

  • เมืองหลวง : สิงคโปร์
  • ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
  • ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
  • นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
  • ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

เวียดนาม (Vietnam)

  • เมืองหลวง : กรุงฮานอย
  • ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
  • ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
  • นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
  • ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

ประเทศไทย (Thailand)

  • เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
  • ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
  • ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
  • นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
  • ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป

สัญลักษณ์อาเซียน
ความหมายของสัญลักษณ์อาเซียน

สัญลักษณ์อาเซียน

สัญลักษณ์อาเซียน คือ ดวงตราอาเซียนเป็น รูปมัดรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นวงกลม สีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว และสีน้ำเงิน รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว วงกลม เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน ตัวอักษรคำว่า ASEAN สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าว แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน

  • สีเหลือง : หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
  • สีแดง : หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
  • สีขาว : หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีน้ำเงิน : หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
คําทักทายอาเซียน

คําทักทายอาเซียน

  • ประเทศไทย = สวัสดี
  • ประเทศพม่า = มิงกะลาบา
  • ประเทศสิงคโปร์ = หนีห่าว
  • ประเทศฟิลิปปินส์ = กูมุสตา
  • ประเทศลาว = สะบายดี
  • ประเทศมาเลเซีย = ซาลามัต ดาตัง
  • ประเทศเวียดนาม = ซินจ่าว
  • ประเทศบรูไน = ซาลามัต ดาตัง
  • ประทศอินโดนีเซีย = ซาลามัต เซียง
  • ประเทศกัมพูชา = ซัวสเด

อาหารประจําชาติอาเซียน

  • อาหารประจำชาติของไทย – ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)
  • อาหารประจำชาติของกัมพูชา – อาม็อก (Amok)
  • อาหารประจำชาติของบรูไน – อัมบูยัต (Ambuyat)
  • อาหารประจำชาติของเมียนมา – หล่าเพ็ด (Lahpet)
  • อาหารประจำชาติของฟิลิปปินส์ – อโดโบ้ (Adobo)
  • อาหารประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ – ลักซา (Laksa)
  • อาหารประจำชาติของอินโดนีเซีย – กาโด กาโด (Gado Gado)
  • อาหารประจำชาติของลาว – สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad)
  • อาหารประจำชาติของประเทศมาเลเซีย – นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)
  • อาหารประจำเวียดนาม – ปอเปี๊ยะเวียดนาม (Vietnamese Spring Rolls)

ทิ้งท้าย

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลคร่าว ๆ ของอาเซียน หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจประวัติอาเซียนกันมากขึ้น

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee