เรื่องน่าสนใจ

เพลงหนักแผ่นดิน เพลงปลุกระดมความเกลียดชัง จนนำไปสู่การสังหารหมู่

เพลงหนักแผ่นดิน

เพลงหนักแผ่นดิน เป็นเพลงที่แต่งเมื่อปี 2518 ใช้เปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการสื่อสารทหารบก กองทัพบก ในการต่อสู้ทางการเมืองกับขบวนการคอมมิวนิสต์ ในช่วงปี 2518-2523 ประพันธ์คำร้องโดย พ.อ.บุญส่ง หักฤทธิ์ศึก และขับร้องโดย ส.อ.อุบล คงสิน และศิริจันทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ต่อมาในปี 2520 ชื่อเพลงนี้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ หนักแผ่นดิน กำกับโดย สมบัติ เมทะนี แสดงนำโดยสมบัติ เมทะนี และนัยนา ชีวานันท์

Advertisement

เพลงนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ประเทศไทยผ่านเหตุการณ์ 14 ตุลา เพลงนี้แต่งขึ้นเพื่อสร้างความเกลียดชัง ในกลุ่มนักศึกษา-ประชาชน ที่ประท้วงโค่นล้มอำนาจเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมสังหารหมู่นักศึกษาที่ธรรมศาสตร์ ในวันที่ 6 ตุลา 2519

ส่งผลให้นิสิตนักศึกษาหลายคนหนีเข้าป่า ร่วมกับพรรคคมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และไทยก็เดินหน้าเปิดศึกปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ก่อนเปลี่ยนนโยบายเป็นไม้อ่อนในสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 นำไปสู่การเดินหน้าปรองดองจนปัญหายุติลง

หนักแผ่นดิน หมายถึง ไม่รู้คุณของแผ่นดินที่อาศัย, ทรยศต่อบ้านเมืองของตน, เสนียดสังคม

Advertisement

เนื้อเพลงหนักแผ่นดิน

คนใดใช้ชื่อไทยอยู่ กายก็ดูเหมือนไทยด้วยกัน
ได้อาศัยโพธิ์ทองแผ่นดินของราชันย์ แต่ใจมันยังเฝ้าคิดทำลาย
คนใดเห็นไทยเป็นทาส ดูถูกชาติเชื้อชนถิ่นไทย
แต่ยังฝังทำกิน กอบโกยสินไทยไป เหยียดคนไทยเป็นทาสของมัน

(สร้อย)

หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)
หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)
คนใดยุยงปลุกปั่น ไทยด้วยกันหวังให้แตกกระจาย
ปลุกระดมมวลชนให้สับสนวุ่นวาย เพื่อคนไทยแบ่งฝ่ายรบกันเอง
คนใดหลงชมชาติอื่น ชาติเดียวกันเขายืนข่มเหง
ได้สินทรัพย์เจือจานก็ประหารไทยกันเอง ทีชาติอื่นเกรงดังญาติของมัน

(สร้อย)

คนใดขายตนขายชาติ ได้โอกาสชี้ทางให้ศัตรู
เข้าทลายพลังไทยให้สลายทางสู้ เมื่อศัตรูโจมจู่เสียทีมัน
คนใดคิดร้ายราวี ประเพณีของไทยไม่ต้องการ
เกื้อหนุนอคติ เชื่อลัทธิอันธพาล แพร่นำมันมาบ้านเมืองเรา

(ซ้ำท่อนสร้อย 2 ครั้ง)

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button