วันสำคัญ

วันอนุรักษ์น้ำโลก World Water Day 22 มีนาคม ของทุกปี

ประชากรมากกว่า 663 ล้านคนในโลกอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำที่สะอาด สำหรับไว้ใช้และดื่มกิน ทั้งยังเจอปัญหาสารเคมีปนเปื้อนในแหล่งน้ำ จึงมี วันอนุรักษ์น้ำโลก เพื่อตระหนักถึงคุณค่าของน้ำและอนุรักษ์แหล่งน้ำสะอาดร่วมกัน

Advertisement

วันอนุรักษ์น้ำโลก

วันอนุรักษ์น้ำโลก

วันน้ำโลก (ภาษาอังกฤษ: World Day for Water ,World Water Day) ตรงกับวันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมวลมนุษยชาติเลยทีเดียว เพราะมนุษย์เราต้องใช้ทรัพยากรนี้ในการดำรงชีวิต ทรัพยากรที่ว่านี้ก็คือ “น้ำ” นั่นเอง วันอนุรักษ์น้ำโลก มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิลในวันที่ 22 มีนาคมปี 1992 ที่มีเนื้อหาสำคัญโดยตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำของมนุษย์ จึงมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมที่จะเป็นแผนแม่บทให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้เฝ้าระวังทรัพยากรน้ำในประเทศนั้น ๆ และในวันนั้นเองสมัชชาทั่วไปแห่งสหประชาชาติก็ได้ออกประกาศให้วันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็นวัน World Water Day หรือ วันอนุรักษ์น้ำโลก

เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ เพราะน้ำเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ ช่วยกันดูแล บำรุงรักษา การพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต จากการที่น้ำจืดของโลกขาดแคลนมากขึ้น ในปี 2535 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันน้ำของโลก หรือ World Day for Water โดยเริ่มต้นในปี 2536 เป็นปีแรก และชักชวนให้ประเทศต่างรับเป็นวันสิ่งแวดล้อมของชาติ

การเรียกร้องให้ประชาคมโลกใช้น้ำอย่างรับผิดชอบ เพื่อให้คนจนและคนรวยได้รับน้ำอย่างเท่าเทียมกัน ในราคาที่หาซื้อได้ และว่าสิ่งท้าทายของมนุษยชาติก็คือ การจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์น้ำ คุณภาพของน้ำ และปริมาณน้ำนอกจากนี้จะต้องมีการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นทั่วโลกว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญ และมีบทบาทในการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นชาวโลกต้องยกระดับความรู้ในเรื่องการหมุนเวียนนำน้ำมาใช้ใหม่ และการเพิ่มสมรรถวิสัยต่อการจัดการทรัพยากรน้ำที่หายากนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะบรรลุผลได้ด้วยการดึงสติปัญญาของมนุษย์ออกมมาใช้ และส่งเสริมวัฒนธรรมการอนุรักษ์น้ำ

Advertisement

ธีมรณรงค์วันอนุรักษ์น้ำโลก

  • ปี 1994 CARING FOR OUR WATER RESOURCES IS EVERYONE’S BUSINESS
  • ปี 1995 WOMEN AND WATER
  • ปี 1996 WATER FOR THIRSTY CITIES
  • ปี 1997 THE WORLD’S WATER – IS THERE ENOUGH?
  • ปี 1998 GROUNDWATER – THE INVISIBLE RESOURCE
  • ปี 1999 EVERYONE LIVES DOWNSTREAM
  • ปี 2000 WATER FOR THE 21ST CENTURY
  • ปี 2001 WATER FOR HEALTH – TAKING CHARGE
  • ปี 2002 WATER FOR DEVELOPMENT
  • ปี 2003 WATER FOR THE FUTURE
  • ปี 2004 WATER AND DISASTER
  • ปี 2005 WATER FOR LIFE 2005-2015
  • ปี 2006 WATER AND CULTURE
  • ปี 2007 WATER SCARCITY
  • ปี 2008 INTERNATIONAL YEAR OF SANITATION
  • ปี 2009 TRANSBOUNDARY WATERS
  • ปี 2010 WATER QUALITY
  • ปี 2011 WATER FOR CITIES
  • ปี 2012 WATER AND FOOD SECURITY
  • ปี 2013 WATER COOPERATION
  • ปี 2014 WATER AND ENERGY
  • ปี 2015 WATER AND SUSTAINABLE DEVELOPMENT
  • ปี 2016 Water and Jobs
  • ปี 2017 Wastewater
  • ปี 2018 Nature-based Solutions for Water

กิจกรรมวันอนุรักษ์น้ำโลก

  • จัดนิทรรศการเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งการจัดนิทรรศการจะทำให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญขอน้ำและประโยชน์ของน้ำ
  • กิจกรรมอนุรักษ์แหล่งน้ำ เป็นการช่วยกันพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อแหล่งน้ำทำให้ประชาชนได้มีน้ำที่ใสสะอาดไว้ใช้อุปโภค และบริโภคอย่าพอเพียงและถูกสุขลักษณะ

นโยบายการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน

  • การจัดการให้พื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำมากและพื้นที่ที่ต้องการใช้น้ำน้อยได้มีโอกาสใช้น้ำอย่างเท่าเทียมกัน
  • การอนุรักษ์แหล่งน้ำ โดยพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อแหล่งน้ำ
  • การควบคุมดูแลการใช้น้ำจากแหล่งต้นน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณการใช้น้ำของแหล่งปลายน้ำ
  • การจัดการกับปัจจัยอื่นๆ โดยดูแลปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำ
  • การจัดการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเหมาะสม

ประโยชน์ของน้ำ

  • น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้สำหรับการอุปโภคและบริโภค
  • น้ำมีไว้สำหรับการเกษตรกรรม และการเลี้ยงสัตว์ อีกทั้งแหล่งน้ำยังเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ
    ในการอุตสาหกรรมต้องใช้น้ำในขบวนการผลิตใช้ล้างของเสียใช้ต่าง ๆ
  • น้ำถือเป็นแหล่งพลังงานที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้
  • แหล่งแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำได้
การอนุรักษ์น้ำ

การอนุรักษ์น้ำ

ควรรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันปลูกป่า โดยเฉพาะการปลูกป่าบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ หรือบริเวณพื้นที่ภูเขา เพื่อให้ต้นไม้เป็นตัวกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ ทั้งบนดินและใต้ดิน

ควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้น้ำมีสะอาดและมีใช้สำหรับอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอ

การสงวนน้ำไว้ใช้ เป็นการวางแผนการใช้น้ำเพื่อให้มีปริมาณน้ำที่มีคุณภาพมาใช้ประโยชน์ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง เช่น การทำบ่อหรือสระเก็บน้ำ การหาภาชนะขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำฝน รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำ และระบบชลประทาน

การใช้น้ำอย่างประหยัด เป็นการนำน้ำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านการอนุรักษ์น้ำและตัวผู้ใช้น้ำเอง กล่าวคือ สามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้ ปริมาณน้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำมีปริมาณน้อยลง และป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ

การป้องกันการเกิดมลพิษของน้ำ จะต้องอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือ และเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับทัพยากรน้ำอย่างเคร่งครัด น้ำเสียที่ระบายจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ต้องควบคุมอย่างจริงจังและบังคับให้มีการบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งหรือปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ สำหรับประชาชนทั่วไป สามารถช่วยป้องกันการเกิดน้ำเน่าเสียได้ด้วยการไม่ทิ้งขยะ หรือสิ่งปฏิกูล หรือสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ

การนำน้ำที่ใช้แล้วกลับไปใช้ใหม่ น้ำที่ถูกนำไปใช้แล้วสภาพที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เช่น น้ำจากการล้างภาชนะอาหารสามารถนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ หรือน้ำจากการซักผ้าสามารถนำไปถูบ้านใหม่ได้ และสามารถสุดท้ายนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ได้อีกด้วย

วิธีประหยัดน้ำ

วิธีประหยัดน้ำ

  • ประหยัดน้ำในช่วงเวลาที่ใช้ห้องน้ำ ด้วยการ ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ขณะแปรงฟัน ปิดฝักบัวทุกครั้งขณะถูสบู่หรือสระผม และไม่กดชักโครกบ่อยเกินไป
  • ติดตั้งหัวก๊อกน้ำแบบประหยัดน้ำ
  • เวลาล้างผักหรือผลไม้ ควรหาภาชนะมารองน้ำ แทนการล้างจากก๊อกน้ำโดยตรง
  • ไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ขณะล้างจานถ้าไม่จำเป็น หรือเปิดน้ำเพื่อละลายอาหารแช่แข็ง
  • รดน้ำต้นไม้ด้วยฝักบัวรดน้ำ และรดในช่วงเย็นที่อากาศไม่ร้อน เพื่อที่น้ำจะได้ไม่ระเหยอย่างรวดเร็ว
  • ถ้าซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า ให้ซักครั้งละมาก ๆ เพื่อจะได้ใช้น้ำได้อย่างคุ้มค่า
  • ติดตั้งหัวก๊อกน้ำแบบประหยัดน้ำ หรือไหลเอื่อย (Low-flow) เพื่อลดปริมาณการไหลของน้ำให้ลดลง
  • ไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ขณะล้างจานถ้าไม่จำเป็น ยกเว้นการล้างคราบอาหารที่ล้างออกยากจริงๆ ถ้าเป็นไปได้ให้รองน้ำไว้ในภาชนะแล้วค่อยนำจานไปล้างในนั้นวิธีนี้จะทำให้เราประหยัดน้ำได้มากกว่า
  • ให้หาภาชนะมารองน้ำทุกครั้งในการล้างผักหรือผลไม้ ไม่ควรล้างจากก๊อกน้ำโดยตรงเพราะจะเปลืองน้ำมากกว่า และน้ำที่เหลือยังสามารถเก็บไว้ใช้ล้างจานได้อีก
  • อย่าใช้น้ำยาล้างจานมากเกินไป เพราะยิ่งน้ำยาล้างจานมีความเข้มข้นมาก เรายิ่งต้องใช้ปริมาณน้ำมากขึ้นในการล้างจานให้สะอาดหมดจด
  • อย่าเปิดน้ำล้างเพื่อละลายอาหารแช่แข็ง
  • เปลี่ยนช่วงเวลาการรดน้ำต้นไม้ตอนเช้ามาเป็นช่วงเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าซึ่งจะทำให้ไม่ระเหยเร็วเกินไป
  • ใช้ฝักบัวรดน้ำแทนสายยางฉีด
  • หากใช้เครื่องซักผ้า ให้ซักผ้าครั้งละมากๆ ในคราวเดียวกัน เพราะหากคุณซักผ้าเพียงไม่กี่ชิ้นเครื่องซักผ้าก็จะใช้ปริมาณน้ำที่เท่ากันในแต่ละครั้งอยู่ดี
วัฏจักรน้ำ

วัฏจักรน้ำ Water cycle

วัฏจักรของน้ำ (Hydrological Cycle) หรือชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า วัฏจักรของอุทกวิทยา (hydrologic cycle) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่าง ของเหลว ของแข็ง และ ก๊าซ. ในวัฏจักรของน้ำนี้ น้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะไปกลับ จากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสิ้นสุด ภายในอาณาจักรของน้ำ (hydrosphere) เช่น การเปลี่ยนแปลงระหว่าง ชั้นบรรยากาศ น้ำพื้นผิวดิน ผิวน้ำ น้ำใต้ดิน และ พืช. กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ สามารถแยกได้เป็น 4 ประเภทคือ การระเหยเป็นไอ (evaporation) , หยาดน้ำฟ้า (precipitation) , การซึม (infiltration) , และ การเกิดน้ำท่า (runoff)

การระเหยเป็นไอ (evaporation) เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำบนพื้นผิวไปสู่บรรยากาศ ทั้งการระเหยเป็นไอ (evaporation) โดยตรงจากการคายน้ำของพืช (transpiration) ซึ่งเรียกว่า evapotranspiration
หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นการตกลงมาของน้ำในบรรยากาศสู่พื้นผิวโลก โดยละอองน้ำในบรรยากาศจะรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆ และในที่สุดกลั่นตัวเป็นฝนตกลงสู่ผิวโลก รวมถึง หิมะ และ ลูกเห็บ
การซึม (infiltration) จากน้ำบนพื้นผิวลงสู่ดินเป็นน้ำใต้ดิน อัตราการซึมจะขึ้นอยู่กับประเภทของดิน หิน และ ปัจจัยประกอบอื่นๆ น้ำใต้ดินนั้นจะเคลื่อนตัวช้า และอาจไหลกลับขึ้นบนผิวดิน หรือ อาจถูกกักอยู่ภายใต้ชั้นหินเป็นเวลาหลายพันปี โดยปกติแล้วน้ำใต้ดินจะกลับเป็นน้ำที่ผิวดินบนพื้นที่ที่อยู่ระดับต่ำกว่า ยกเว้นในกรณีของบ่อน้ำบาดาล
น้ำท่า (runoff) หรือ น้ำไหลผ่านเป็นการไหลของน้ำบนผิวดินไปสู่มหาสมุทร น้ำไหลลงสู่แม่น้ำและไหลไปสู่มหาสมุทร ซึ่งอาจจะถูกกักชั่วคราวตาม บึง หรือ ทะเลสาบ ก่อนไหลลงสู่มหาสมุทร น้ำบางส่วนกลับกลายเป็นไอก่อนจะไหลกลับลงสู่มหาสมุทร

ปริมาณน้ำที่มีอย่างจำกัด

ถึงแม้ว่าโลกของเราถูกปกคลุมด้วยผืนน้ำถึงร้อยละ 70 แต่ปริมาณน้ำดังกล่าว พบว่า สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างจำกัด เนื่องจากร้อยละ 97.5 ของน้ำที่มีอยู่ทั้งหมด เป็นน้ำเค็มในทะเลและมหาสมุทรที่มีความเค็มสูงไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคและบริโภคได้ สัดส่วนที่เหลือร้อยละ 2.5เป็นน้ำจืด ซึ่งพิจารณาจากปริมาณน้ำจืดทั้งหมด พบว่า เป็นน้ำที่อยู่ในรูปของธารน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็ง รวมทั้งน้ำใต้ดินที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 99.99 เหลือเพียงร้อยละ 0.003 เท่านั้นที่เป็นน้ำในหนอง คลอง บึง และน้ำใต้ดินที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ปริมาณน้ำที่มีอยู่ดังกล่าวจะอยู่ในระดับที่สมดุลตลอดเวลา แต่มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ จากของเหลวกลายเป็นไอ และกลับมาเป็นของเหลวและของแข็ง ซึ่งจะทำให้เกิดการถ่ายเทมวลของน้ำอย่างต่อเนื่อง ภูมิภาคใดจะมีความอุดมสมบูรณ์ของน้ำมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในแต่ละพื้นที่

น้ำกับระบบนิเวศ

น้ำกับระบบนิเวศ คือ ความสัมพันธ์ (Interaction) ของสิ่งต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำนั้นๆ ทั้งที่มีชีวิต เช่น มนุษย์ สัตว์ป่า สัตว์น้ำในแหล่งน้ำ สัตว์เลี้ยง พืชและต้นไม้ชนิดต่างๆ ทั้งในพื้นที่ป่าและพื้นที่เพาะปลูก ฯลฯ และไม่มีชีวิต เช่น น้ำ ดิน หิน ทราย แร่ธาตุ อาคารบ้านเรือน โรงงาน ฯลฯ โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเหตุเป็นผล (Cause and Effect) เป็นวงจรป้อนกลับ (Feedback) และทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ในระบบลุ่มน้ำนั้นๆ ที่แสดงออกมาให้เห็นในรูปของสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในเชิงปริมาณ เช่น ความหนาแน่นของป่า ปริมาณน้ำในลำน้ำ จำนวนสัตว์ป่า ความต้องการใช้น้ำ การขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และเชิงคุณภาพ เช่น คุณภาพดิน ความหลากหลายของพืชพรรณ สัตว์ป่า และสัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ คุณภาพชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำ องค์ประกอบของระบบนิเวศลุ่มน้ำหนึ่งๆ อาจแบ่งออกเป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต หรืออาจแบ่งตามลักษณะการถ่ายเทพลังงาน (ห่วงโซ่อาหาร) ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค (ซึ่งแบ่งได้ต่อเป็นผู้บริโภคที่กินสัตว์ ผู้บริโภคที่กินพืช และผู้บริโภคที่กินทั้งพืชและสัตว์) และผู้ย่อยสลาย หรืออาจจัดกลุ่มเป็นทรัพยากรชนิดต่างๆ เช่นทรัพยากรที่ทดทนใหม่ได้และทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป

ระบบนิเวศน้ำจืด (freshwater ecosystem)

ระบบนิเวศน้ำจืด (freshwater ecosystem) มีทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ และอ่างเก็บน้ำต่างๆ ซึ่งมีแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำไหล

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee