วันสำคัญ

วันสื่อสารแห่งชาติ คืออะไร

วันสื่อสารแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม ของทุกปี เพื่อรำลึกถึงความสำคัญวันสื่อสารแห่งประเทศไทย มารู้จักประวัติความเป็นมาความสำคัญของการสื่อสารกัน

วันสื่อสารแห่งชาติ

วันสื่อสารแห่งชาติ

การสื่อสารในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา “กรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข” ขึ้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2526 และได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นผู้สำเร็จราชการทั้งกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นพระองค์แรกต่อมาในปี 2441 ทั้ง 2 กรมนี้ได้รวมเป็นกรมเดียวกัน มีชื่อใหม่ว่า “กรมไปรษณีย์โทรเลข”

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กิจการสื่อสารของไทยได้พัฒนาก้าวหน้ามาเป็นสำดับ มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของทางราชการขึ้นอีกหลายหน่วยงาน เช่น กรมประชาสัมพันธ์ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น ในส่วนของภาคเอกชนก็มีบริษัทห้างร้านที่ดำเนินกิจการด้านการ สื่อสารเพิ่มมากขึ้น หน่วยงานเหล่านี้ได้ร่วมกันสนองพระราชปณิธานในอันที่จะพัฒนากิจการสื่อสารของประเทศให้เจริญก้าวหน้าตลอดมาจนบัดนี้

ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการสื่อสารได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และบทบาทของภาคเอกชนมีมากขึ้นรวมทั้งการแข่งขัน ในกิจการสื่อสารทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ได้ทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ความได้เปรียบในเรื่องเศรษฐกิจของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ขึ้นอยู่กับการมีระบบการสื่อสารให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับประเทศอื่น คณะรัฐมนตรีได้ตระหนักถึงบทบาทความสำคัญของการสื่อสารดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2546 กำหนดให้วันที่ 4 สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันสื่อสารแห่งชาติ” นับตั้งแต่ 2526 เป็นต้นมา

ได้มีการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี (ยกเว้นปี 2533 คณะกรรมการจัดงานวันสื่อสาร แห่งชาติได้มีมติให้งดการจัดแสดงนิทรรศการ คงมีแต่เฉพาะงานพิธีและการประชุมทางวิชาการเรื่องเทคโนโลยีพื้นฐานและการวางแผนระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม) และในการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติแต่ละปี จะเน้นหัวข้อการจัดงานแตกต่างกันไปทุกปี เช่น

  • ปี 2528 หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารกับเยาวชนแห่งชาติ
  • ปี 2530 หัวข้อการจัดงาน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการสื่อสาร
  • ปี 2535 หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารเพื่อทศวรรษหน้า
  • ปี 2538 หัวข้อการจัดงาน คือ การสื่อสารกับการพัฒนาเทคโนโลยีการสนเทศ เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2538 เป็นปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย

กิจกรรมในวันสื่อสารแห่งชาติ

  1. พิธีถวายเครื่องสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
  2. การกล่าวคำปราศรัยของพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
  3. การจัดทำดวงตาไปรษณียากรที่ระลึกวันสื่อสารแห่งประเทศไทย
  4. การจัดนิทรรศการแสดงเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
การสื่อสาร

การสื่อสาร

การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บางอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายหมวดหมู่

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

  1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
  2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
  3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
  4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
  5. เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
  6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น

ความสำคัญของการสื่อสาร

  1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
  2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
  3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ
การสื่อสารมีกี่ประเภท

การสื่อสารมีกี่ประเภท

1. จำนวนผู้ทำการสื่อสาร

การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonal communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • การพูดกับตัวเอง
  • การคิดคำนึงเรื่องต่าง ๆ
  • การร้องเพลงฟังเอง
  • การคิดถึงงานที่จะทำ

การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป
  • การพูดคุย
  • การเขียนจดหมาย
  • การโทรศัพท์
  • การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น

การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (large group communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • การอภิปรายในหอประชุม
  • การพูดหาเรื่องเลือกตั้ง
  • การปราศรัยในงานสังคม
  • การกล่าวปาฐกถา ในหอประชุม
  • การบรรยายทางวิชาการ ณ ศูนย์เรียนรวม

การสื่อสารในองค์กร (organizational communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • การสื่อสารในบริษัท
  • การสื่อสารในหน่วยงาน ราชการ
  • การสื่อสารในโรงงาน
  • การสื่อสารของธนาคาร

การสื่อสารมวลชน (mass communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • หนังสือพิมพ์, นิตยสาร
  • วิทยุ
  • โทรทัศน์
  • ภาพยนตร์

2. การเห็นหน้ากัน

การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (face to face communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • การสนทนาต่อหน้ากัน
  • การประชุมสัมมนา
  • การสัมภาษณ์เฉพาะหน้า
  • การเรียนการสอนในชั้นเรียน
  • การประชุมกลุ่มย่อย

การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า (interposed communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • เอกสารการสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด
  • หนังสือพิมพ์
  • วิทยุ
  • โทรทัศน์
  • วีดิทัศน์การสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด
  • จดหมาย/โทรเลข/โทรสาร
  • อินเตอร์เน็ต

3. ความสามารถในการโต้ตอบ

การสื่อสารทางเดียว (one-way communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • การสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด
  • วิทยุ/โทรทัศน์/วีดิทัศน์
  • โทรเลข/โทรสาร
  • ภาพยนตร์

การสื่อสารสองทาง (two-way communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • การสื่อสารระหว่างบุคคล
  • การสื่อสารในกลุ่ม
  • การพูดคุย / การสนทนา

4. ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร

การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (interracial communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • ชาวไทยสื่อสารกับคน ต่างประเทศ
  • คนจีน, มาเลย์, อินเดีย ใน ประเทศมาเลเซีย สื่อสารกัน

การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (gosscultural communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคใต้กับภาคเหนือหรือ ภาคอื่น ๆ
  • ชาวไทยสื่อสารกับชาวเขา เป็นต้น

การสื่อสารระหว่างประเทศ (international communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
  • การเจรจาในฐานะตัวแทน รัฐบาล

5. การใช้ภาษา

การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • การพูด, การบรรยาย
  • การเขียนจดหมาย, บทความ

การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา (non-verbal communication)

ตัวอย่างการสื่อสาร

  • การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ, คำพูด
  • อาการภาษา, กาลภาษา, เทศภาษา, สัมผัสภาษา, เนตรภาษา, วัตถุภาษา และปริภาษา

ประโยชน์ของการสื่อสาร

  1. เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร คือ การแจ้งข้อมูลข่าวสารขององค์การต่อพนักงานเพื่อให้พนักงานสามารถประสาน และบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
  2. เพื่อกระตุ้นและจูงใจ การ จูงใจเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาการทำงานของพนักงานในองค์การ จะได้รับการจูงใจและการกระตุ้นจากการสื่อสาร องค์การจะมีประสิทธิภาพหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการชักจูงผ่านการ สื่อสารดังกล่าว
  3. เพื่อประเมินผลการทำงาน ปัจจุบัน องค์การมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจึงทำให้ต้องมีการประเมินผลการทำงานสม่ำ เสมอเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการทำงาน ดังนั้นกระบวนการสื่อสารจะต้องมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์พร้อมมีการส่งข้อมูล ย้อนกลับ ซึ่งจะทำให้องค์การสามารถดำเนินงานไปในแนวทางที่ถูกต้อง
  4. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในหมู่คณะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับพนักงานผู้บริหารกับผู้บริหาร พนักงานกับพนักงานทั้งในสายการบังคับบัญชาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการก็ จะเกิดจากการสื่อสารระหว่างกันทั้งสิ้น การสื่อสารจึงเป็นตัวสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและทำให้องค์การดำรงอยู่ และพัฒนาไปได้ในทุกสถานการณ์
  5. เพื่อวินิจฉัยสั่งการหน้าที่ อย่างหนึ่งของฝ่ายบริหารก็คือการออกคำสั่งกับกลุ่มบุคคลที่อยู่ในองค์การ การออกคำสั่งดังกล่าวจำเป็นต้องใช้การสื่อสารที่รวดเร็ว แน่นอนและถูกต้อง ดังนั้นถ้าผู้บริหารไม่ใช้การสื่อสารก็ไม่สามารถสั่งการหรือมอบหมายหน้าที่ ให้พนักงานดำเนินการได้เลย

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button