วันสำคัญ

วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ร่วมพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า

วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี ช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้ทุกคนอยู่ในสังคม ร่วมพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า ได้อย่างมีความสุข

Advertisement

วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ

เมื่อปี 2528 คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้กำหนดให้วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ เนื่องจากวันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) เพื่อเป็นการรำลึกถึงที่พระองค์ได้ทรงอุทิศพระวรกายและสละเวลาให้แก่ประชาชนตลอดมา โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยากส่วนพระองค์แต่อย่างใด ดังนั้นในวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี ทั้งทางภาครัฐบาลและภาคเอกชนจึงได้ร่วมกันจัดงานแสดงกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จย่าทรงมีต่อประชาชนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา

สังคมสงเคราะห์

สังคมสงเคราะห์ คือ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้ทุกคนอยู่ในสังคมไทย ได้อย่างมีความสุขและให้ทุกคนมีความสามารถ รวมถึงพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าด้วย สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คือ วิชาชีพซึ่งมุ่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของปัจเจกบุคคล กลุ่มหรือชุมชน โดยดำเนินการผ่านการวิจัย นโยบาย การจัดการชุมชน การปฏิบัติโดยตรง และการสอนในนามของผู้ที่ประสบความยากจนหรือผู้ที่ได้รับหรือรู้เห็นความอยุติธรรมในสังคมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การวิจัยมักมุ่งไปยังขอบเขต เช่น การพัฒนามนุษย์ นโยบายสังคม การบริหารสาธารณะ การประเมินผลโครงการ และการพัฒนาระหว่างประเทศและชุมชน นักสังคมสงเคราะห์จัดเป็นกลุ่มวิชาชีพท้องถิ่น ระดับชาติ ภูมิภาคและระหว่างประเทศ สังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นแวดวงสหวิทยาการ ครอบคลุมทั้งทฤษฎีวิชาเศรษฐศาสตร์ การศึกษา สังคมวิทยา การแพทย์ ปรัชญา การเมืองและจิตวิทยา

ประวัติ

สังคมสงเคราะห์มีที่มาในการยกระดับทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่สังคมต่อสู้เพื่อจัดการกับยากจนและปัญหาผลพวง เพราะการจัดการกับความยากจนเป็นความสนใจหลักของสังคมสงเคราะห์ระยะแรก จึงมีความเชื่อมโยงกับมโนทัศน์งานการกุศลอย่างแยกไม่ค่อยออก แต่ปัจจุบันได้มีความหมายกว้างกว่าในอดีตมาก ตัวอย่างเช่น นักสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่มักไม่ค่อยจัดการกับปัญหาผลพวงอันเกิดจาก ปัญหาสังคม อื่นทั้งหลาย เช่น การเหยียดเชื้อชาติ การกีดกันทางเพศ การกลัวคนและการเลือกปฏิบัติเพราะอายุหรือความสามารถทางกายหรือจิต แต่นักสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่หลายคนก็จัดการกับผลพวงของปัญหาเหล่านี้และปัญหาสังคมอื่นอีกมากในทุกภาคส่วนของงานบริการสังคม เช่นเดียวกับในสาขาอื่นะด

Advertisement

ขณะที่สังคมสงเคราะห์ดำเนินการบนรากฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าโดยมุ่งควบคุมและปฏิรูปปัจเจกบุคคล (ครั้งหนึ่ง ได้มีการสนับสนุนญัตติว่าความยากจนเป็นโรคอย่างหนึ่ง) ในสมัยปัจจุบันได้มีการใช้แนวเข้าสู่การศึกษาที่มีวิจารณญาณและเป็นองค์รวมมากขึ้นเพื่อทำความเข้าใจและแทรกแซงปัญหาสังคม ตัวอย่างเช่น สังคมสงเคราะห์ปัจจุบันได้นำไปสู่การสร้างกรอบมโนทัศน์ความยากจนใหม่ว่าเป็นปัญหาของผู้มีอันจะกินต่อผู้ไม่มีอันจะกินมากกว่าสถานะในอดีตที่เป็นโรค ความเจ็บป่วยหรือข้อบกพร่องทางศีลธรรมที่ต้องการการรักษา ซึ่งยังชี้ไปยังการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งในวิวัฒนาการของสังคมสงเคราะห์ คือ เมื่อสังคมสงเคราะห์มีส่วนมากขึ้นในการควบคุมสังคม ก็ได้กลายมาเป็นวิชาชีพที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างพลังทางสังคมมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่านักสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่ไม่ได้ข้องเกี่ยวกับการควบคุมสังคม (พิจารณาตัวอย่างเช่น นักคุ้มครองเด็กตามกฎหมาย) และนักสังคมสงเคราะห์ส่วนมากจะตกลงว่าสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่เป็นความตึงเครียดและการถกเถียงที่กำลังดำเนินอยู่

องค์ประกอบสังคมสงเคราะห์

สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญของคำว่า สังคมสงเคราะห์ ว่าประกอบด้วย

  • เป็นศาสตร์
  • เป็นศิลป์
  • เป็นงานที่เป็นวิชาชีพ โดยนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ปฏิบัติงาน
  • เป็นงานที่ต้องใช้ทรัพยากรในชุมชน
  • เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
  • เป็นงานที่ช่วยให้บุคคล กลุ่ม และชุมชนสามารถทำหน้าที่ทางสังคมได้ด้วยดี

หน่วยงานสังคมสงเคราะห์

ปัจจุบันได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนเข้ามาดูแลในการสังคมสงเคราะห์แทนวัดตามที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากยุคสมัยได้เปลี่ยนไปรวมถึงปัจจัยในด้านต่าง ๆ เช่น ประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้มีพื้นที่ในการช่วยเหลือไม่เพียงพอ ฯลฯ สำหรับหน่วยงานทางรัฐบาลนั้นมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านการช่วยเหลือประชาชนอยู่หลายหน่วยงานด้วยกัน คือ

  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • กระทรวงสาธารณสุข

ด้านภาคเอกชนนั้น ได้มีการจัดตั้งสมาคมและมูลนิธิเพื่อการกุศล เป็นการจัดตั้งขึ้นโดยประชาชนทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันได้มีสมาคมและมูลนิธิเพื่อการกุศลดังกล่าวจำนวนกว่า 10,000 องค์กรแล้ว อย่างไรก็ตาม สมาคมและมูลนิธิหลายองค์กรได้จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งสมาคมและมูลนิธิเหล่านี้ได้ทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง เช่น มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิอานันทมหิดล เป็นต้น

นักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker)

นักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker)

นักสังคมสงเคราะห์ คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ

  1. ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ในลักษณะวิชาชีพ (Professional) เป็นผู้ที่ผ่านกระบวนการฝึกฝนในด้านความรู้ ทัศนคติ และทักษะทางสังคมสงเคราะห์จากสถาบันทางการศึกษา
  2. ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ในลักษณะอาสาสมัคร (Voluntery)

การเรียนการสอนสังคมสงเคราะห์

ปัจจุบันหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต เปิดสอนอยู่ 2 แห่ง คือ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ทำอาชีพอะไรได้บ้าง

ผู้ที่เรียนจบทางด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สามารถเลือกประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น

  1. งานราชการ ในสังกัดกระทรวงต่าง ๆ ในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ (รับผู้สำเร็จการศึกษาทางสังคมสงเคราะห์โดยตรง) หรือตำแหน่งงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ (รับผู้สำเร็จการศึกษาทางสังคมสงเคราะห์โดยตรง) หรือตำแหน่งงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. องค์การสังคมสงเคราะห์และพัฒนาเอกชน ได้แก่ มูลนิธิ สมาคมต่าง ๆ องค์การระหว่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์การประเภทนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 องค์กร
  4. ภาคธุรกิจเอกชน ในองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญถึงคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นจึงมีความต้องการบุคคลากรด้านสวัสดิการสังคมเข้าไปปฏิบัติในด้านงานบริหารบุคคล แรงงานสัมพันธ์และงานฝึกอบรม

ผู้ที่ทำงานในอาชีพนักสังคมสงเคราะห์ที่เป็นที่รู้จักเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ นักสังคมสงเคราะห์ ในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (เช่น พมจ. สถานสงเคราะห์ต่าง ๆ) นักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ในเรือนจำ นักสังคมสงเคราะห์ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นักสังคมสงเคราะห์ประจำมูลนิธิหรือองค์กรต่าง ๆ เป็นต้น

วันสังคมสงเคราะห์โลก

วันสังคมสงเคราะห์โลก ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม ส่งเสริมศักดิ์ศรี และคุณค่าของมนุษย์

  • ยืนหยัดในหลักสิทธิมนุษยชนเพื่อทุกคน
  • ชุมชนที่ได้รับการเคารพ = อนาคตที่ยั่งยืน
  • การเคารพในเสียงทุกเสียง
  • การให้คุณค่าในความหลากหลาย
  • การให้ความเป็นอิสระแก่พลังเงียบ
  • นักสังคมสงเคราะห์เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

กิจกรรมวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ

กิจกรรมในวันสำคัญนี้ ทุก ๆ ปี อาจจะมีแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับงานและสถานที่ที่จัด แต่ที่มีเป็นประจำในทุก ๆ ปี ก็ คือ มีการประกาศเกียรติคุณแก่อาสาสมัครดีเด่น และองค์กรที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น เพื่อเป็นการขอบคุณและเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน และองค์กรทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษย์และประเทศชาติต่อไป

วันสังคมสงเคราะห์นอกจากจะเป็นวันที่ทำให้เหล่าคนไทยเห็นถึงความสำคัญของการช่วยเหลือกันแล้ว ยังทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตมนุษย์ด้วยกันเอง ว่าแต่ละชีวิตย่อมมีค่าอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงคุณงามความดีของกษัตริย์ที่มีพระกรุณาอย่างสูงต่อประชาชนคนไทยในการช่วยเหลือไม่ให้ตกทุกข์ได้ยากเรื่อยมา

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee